สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ผักกาดเขียวปลี
(leaf mustard) Brassica juncea (L.) Czernjaew (Opena, 1994)
วงศ์ CRUCIFERAE, BRASSICACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ถิ่นกำเนิดของผักกาดเขียวปลีนั้นไม่ทราบแน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าอยู่ในเอเชียกลาง คือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
และแหล่งที่มีความสำคัญรองลงมา น่าจะเป็นตอนกลางและภาคตะวันตกของประเทศจีน
ทางตะวันออกของอินเดียจนถึงพม่าและบริเวณเอเชียไมเนอร์
ในปัจจุบันมีการปลูกผักกาดเขียวปลีแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่อินเดียจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา
เอเชียกลางผ่านตอนใต้ของรัสเซียไปยังทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ
ความหลากหลายทางพันธุกรรมพบมากในประเทศจีน ซึ่งมีการปลูกกันอย่างกว้างขวาง
และสันนิษฐานว่าเป็นแหล่งของพันธุ์ปลูกที่นำมาแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งนิยมปลูกผักกาดเขียวปลีชนิดกินใบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชปีเดียว และสองปีไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นตั้งตรง สูง 30-60
เซนติเมตร ไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นค่อนข้างเรียบ มีนวลจับ
ระบบรากเป็นแบบรากแก้ว ใบมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป
ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าแบบขนนก มีก้านใบ ใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม
อาจมีขนหรือไม่มีขน มีการห่อของปลีหรือไม่มีขึ้นกับพันธุ์ ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น
ดอกย่อยบานจากด้านล่างขึ้นไปยังด้านบน มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกยาวได้ถึง 60
เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกย่อยยาว 5-12 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ
รูปขอบขนาน ยาว 4-6 มิลลิเมตร สีเขียว กลีบดอกสีเหลืองสดมี 4 กลีบ มีลักษณะโค้ง
รูปไข่กลับ ยาว 6-10 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ยาวสี่อันสั้นสองอัน
เกสรเพศเมียมีลักษณะกลม ผลแตกแบบผักกาด ยาว 25-75 มิลลิเมตร กว้าง 2-3.5 มิลลิเมตร
ผลยาวตรง มีลักษณะพองและมีรอยคอด ปลายสอบเรียวหรืออาจเป็นจะงอยรูปกรวย
ผลแตกเมื่อแก่จัด มี 10-20 เมล็ด เมล็ดกลมสีน้ำตาลจนถึงสีเทาดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง
1-1.5 มิลลิเมตร มีรอยร่างแหละเอียดบนเปลือกเมล็ด
การใช้ประโยชน์
นำส่วนต่างๆ ของลำต้นและใบมารับประทานสด หรือปรุงให้สุกเป็นอาหารคาว
และนำมาทำผักกาดดองบรรจุกระป๋อง ไห และปีบในโรงงาน ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 20
โรงงาน (กมล และคณะ, 2544)
ภาพผักกาดเขียวปลี (สุรชัย, 2535)
คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 92 กรัม โปรตีน 2.4 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม แคลเซียม 160 มิลลิกรัม เหล็ก 2.7 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 73 มิลลิกรัม เมล็ดหนักประมาณ 2 กรัมต่อ 1,000
เมล็ด
การขยายพันธุ์
ผักกาดเขียวเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อไม้ มีอายุปีเดียว (annual) จนถึงสองปี
(biennial) ขึ้นกับสายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่
มรกต 2000 บลูซิน กู๊ดเวอร์ แม็ค
นิเวศวิทยา
ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชที่ทนทานต่ออุณหภูมิและความชื้นสูงได้ดี
จึงสามารถเจริญเติบโตบนพื้นที่ราบที่มีอุณหภูมิสูงได้ตลอดปี
ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี มีแร่ธาตุและอินทรียสารในดินสูง
สามารถออกดอกและติดเมล็ดได้ในเขตอากาศแบบร้อนชื้น
โดยเมล็ดพัฒนาได้ดีในสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและแห้งแล้ง
บนพื้นที่สูงระดับปานกลางจนกระทั่งสูงในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
พื้นที่ปลูกปี พ.ศ. 2542-2543 ประมาณ 29,371 ไร่ ผลผลิตรวม 67,047 ตัน
(กรมส่งเสริมการเกษตร, 2543)
การเก็บเกี่ยว
จะทำการเก็บเกี่ยวโดยการตัดส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินด้วยมีด
เมื่อพุ่มต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวขณะที่แสงแดดจัด
เนื่องจากจะทำให้ต้นมีการสูญเสียน้ำและมีการเหี่ยวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
การส่งออก
มีการส่งออกในรูปผักกาดดองบรรจุกระป๋องและผักแช่แข็ง
แต่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน
พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง