สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
(Mockpak choi, caisin ) Brassica rapa L. cv. group Caisin(Opena and Tay,
1994)
วงศ์ CRUCIFERAE , BRASSICACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เป็นพืชที่มีการกลายพันธุ์จากผักกาดขาวปลี
ภายหลังจากมีการนำผักกาดขาวปลีจากพื้นที่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มาปลูกในประเทศจีน
เอเชียตะวันตก และมองโกเลีย ในปัจจุบันมีการปลูกผักกวางตุ้งในประเทศจีน
ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบอินโดจีน และพื้นที่บางส่วนของอินเดียตะวันตก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชปีเดียวไม่มีเนื้อไม้ สูง 20-60 เซนติเมตร
ลำต้นตั้งตรงอาจพบพวกที่ลำต้นมีลักษณะเลื้อย ลำต้นผอมมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน
1 เซนติเมตร มีการแตกแขนง ใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุก 2-3 ใบ ก้านใบยาว
แผ่นใบเป็นรูปช้อน หรือรูปขอบขนาน สีเขียวสด แผ่นใบเกลี้ยง
ก้านใบสีเขียวจนถึงม่วงแดง ก้านใบเป็นร่องใบ
ที่อยู่ทางด้านบนของลำต้นมักมีขนาดเล็กกว่าใบที่อยู่บริเวณส่วนกลางและส่วนล่างของลำต้นมาก
ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร
มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีครีมจนถึงสีเหลืองสดรูปไวโอลิน 4 กลีบ
มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน ผลแตกแบบผักกาด ผลผอมยาวได้ถึง 5
เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยผอมเรียวสั้นๆ มี 10-20 เมล็ด เมล็ดกลมสีน้ำตาลจนถึงสีดำ
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ผิวเรียบ และมีลายเส้นเล็กๆ บริเวณสันขั้วเมล็ด
ภาพผักกาดเขียวกวางตุ้ง (สุรชัย, 2535)
การใช้ประโยชน์
มีการรับประทานลำต้นและใบ ทั้งในระยะที่ยังไม่ออกดอก และระยะที่ออกดอกแล้ว
หรืออาจรับประทานเฉพาะช่อดอก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคมักนิยมนำมาปรุงอาหารที่ต้องทำให้สุกก่อน
คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 95 กรัม โปรตีน 1.2 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.2 กรัม วิตามินเอ 5800 IU วิตามินบี 1 0.04
มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 53
มิลลิกรัม แคลเซียม 102 มิลลิกรัม เหล็ก 2.0 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 180 มิลลิกรัม โซเดียม 100 มิลลิกรัม พลังงาน 54
กิโลจูล เมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ดหนักประมาณ 3 กรัม
การขยายพันธุ์
ผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นพืชปีเดียว (annual)
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง
หรือเพาะลงในแปลงเพาะเมล็ดก่อนการย้ายกล้าลงในแปลงปลูก พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่
พันธุ์ทศกัณฐ์ ส่วนกวางตุ้งดอกนิยมปลูกพันธุ์สองฝั่งโขง
นิเวศวิทยา
ผักกวางตุ้งเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและออกดอกได้ทั้งปี
ในเขตอากาศแบบอบอุ่นและเขตร้อนชื้น
แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพช่วงวันยาวของฤดูร้อนในเขตเส้นรุ้งที่ค่อนข้างสูง
ต้องการแสงมากในการเจริญเติบโต
ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวปนทรายที่มีธาตุอาหารสูง ค่า pH 5.5-6.5
พื้นที่ปลูกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2542-2543 ประมาณ 92,029 ไร่ ผลผลิต
138,152 ตัน (กมล และคณะ, 2544)
การเก็บเกี่ยว
สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 40 วัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกด้วย
ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
นิยมเก็บเกี่ยวโดยการถอนต้นทั้งหมดขึ้นจากดินแล้วตัดรากทิ้งภายหลัง
การส่งออก
ไม่มีข้อมูลชัดเจน
พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง