สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

ผัก
(Vegetables)

ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้

(Pak choi) Brassica rapa L. cv. group Pak Choi (Tay and Toxopeus, 1994)
วงศ์ CRUCIFERAE, BRASSICACEAE

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และมีหลักฐานบันทึกว่ามีการปลูกกันตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 5 มีการปลูกกันอย่างกว้างขวางทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศจีน และหมู่เกาะไต้หวัน มีการนำเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 15 และเมื่อไม่นานมานี้เป็นที่นิยมในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชสองปีไม่มีเนื้อไม้ แต่นิยมปลูกแบบพืชปีเดียว ความสูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร และสูงได้ถึง 70 เซนติเมตร เมื่อแทงช่อดอก การเรียงใบแบบสลับ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้ม มีใบประมาณ 15-30 ใบ ไม่ห่อปลี ก้านใบกว้าง คล้ายทรงกระบอก หรือเป็นแผ่นแบน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร หนา 0.5-1 เซนติเมตร ทรงพุ่มตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก ก้านใบสีขาว สีขาวปนเขียวจนถึงสีเขียว แผ่นใบรูปกลมจนถึงรูปไข่กลับ กว้างและยาว 7-20 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ใบอ่อนนุ่ม ผิวใบเรียบและฉ่ำน้ำ สีเขียวจนถึงสีเขียวเข้ม ใบเป็นมัน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ดอกมีสีเหลืองอ่อน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกกว้าง 6 มิลลิเมตร ยาว 12 มิลลิเมตร ผลแตกแบบผักกาด ผลยาว 2.5-6 เซนติเมตร กว้าง 3.5-6.5 มิลลิเมตร ผลผอมเรียวมีปลายเป็นจะงอยผอมเรียวยาว 2 เซนติเมตร มี 10-30 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลมสีแดงจนถึงสีน้ำตาลดำเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร


ภาพผักกาดฮ่องเต้ (Pavord, 1996)

การใช้ประโยชน์
รับประทานส่วนต่างๆ ของลำต้นที่อยู่เหนือดินเป็นอาหารจำพวกผัก มักนิยมรับประทานต้นอ่อนที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ ใช้รับประทานสดและปรุงให้สุกร่วมกับผักและเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ

คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 93 กรัม โปรตีน 1.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.1 กรัม เส้นใย 0.7 กรัม เถ้า 0.8 กรัม เบต้าแคโรทีน 2.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม พลังงาน 86 กิโลจูล น้ำหนักเมล็ด 3-5 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด

การขยายพันธุ์
ผักกาดกวางตุ้งเป็นพืชสองปี (biennial) ที่ไม่มีเนื้อไม้ แต่มีการปลูกแบบพืชปีเดียว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์เซี่ยงไฮ้

นิเวศวิทยา
ผักกาดฮ่องเต้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีบนพื้นที่ราบ ส่วนการผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นต้องกระทำบนพื้นที่สูง ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น ต้องการอุณหภูมิเฉลี่ย 5-12 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10-40 วัน ในการกระตุ้นให้มีการงอกของเมล็ด สายพันธุ์ทนร้อนต้องการอุณหภูมิต่ำน้อยกว่า 40 วัน และการได้รับอุณหภูมิต่ำนานเกินไปจะทำให้มีการออกดอกเกิดขึ้นแม้ในระยะที่เป็นต้นกล้า ผักชนิดนี้ชอบแสงแดดจัดไม่ต้องการร่มเงา ไม่ทนต่อน้ำท่วม ชอบดินทรายจนถึงดินร่วนปนเหนียว มีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุสูง ค่า pH 5.5-7.0 แต่ดินชนิดอื่นๆ เช่น ดินพีทที่เกิดจากซากทับถมของพีทมอส และดินภูเขาไฟที่มีธาตุอาหารเพียงพอ ก็สามารถปลูกผักชนิดนี้ได้เช่นกัน

การเก็บเกี่ยว
สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก จนกระทั่งถึงอายุ 45 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และวิธีการปลูก ไม่ควรเก็บเกี่ยวแล้วทิ้งไว้ในแปลงนานจนมีการเหี่ยวเกิดขึ้น และจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวขณะแดดร้อนจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและคุณภาพต่างๆ ของผัก

การส่งออก
ไม่มีข้อมูลชัดเจน

พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย