ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๔๙ . พรหมนิมันตนิกสูตร สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังถึงเหตุการณ์สมัยหนึ่งที่ประทับ ณ โคนพญาไม้สาละในป่าสุภควัน ใกล้เมืองอุกฏฐา ครั้งนั้นพกาพรหมเกิดความเห็นผิดขึ้นว่า นี้เที่ยง ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุปบัติ. ไม่มีความหลุดพ้น ( นิสสรณะ = แล่นออก ) อื่นที่ยิ่งกว่านี้. พระองค์จึงเสด็จไปปรากฏในพรหมโลก . พกาพรหมเห็นก็ทูลเชิญและแสดงทิฏฐิความเห็นของตนในเรื่องเที่ยง. พระองค์ตรัสตอบว่า พกาพรหมมีอวิชชา ( ความไม่รู้ ) จึงกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สิ่งที่ไม่ยั่งยืนว่ายั่งยืน เป็นต้น.
๒. ลำดับนั้น มารผู้มีบาปก็สิงพรหมปาริสัชชะ . ตนหนึ่ง ให้พูดห้ามปรามพระผู้มีพระภาคมิให้ว่ากล่าวพกาพรหม เพราะพกาพรหมคือผู้เป็นใหญ่ เป็นผู้สร้าง และได้พูดจาอย่างอื่นอีกเป็นเชิงว่าผู้ติเตียน ธาตุ ๔ ภูต เทวดา ประชาบดี พรหม ตายไปจะเกิดในกายอันต่ำทราม ผู้สรรเสริญธาตุ ๔ เป็นต้น ตายไปจะเกิดในกายอันปราณีต พร้อมทั้งห้ามพูดล่วงเกินพระพรหม. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ? เรารู้จักท่าน ท่านอย่านึกว่าเราไม่รู้จัก. พระพรหม บริษัทของพระพรหม พรหมปาริสัชชะ ล้วนแต่อยู่ในมือของท่าน ล้วนแต่อยู่ในอำนาจของท่าน ท่านจึงคิดว่า ผู้นั้นอยู่ในมือ อยู่ในอำนาจของเรา. ดูก่อนมารผู้มีบาป ? แต่เรานี่แหละไม่อยู่ในมือ ไม่อยู่ในอำนาจของท่าน.
๓. ต่อจากนั้นพกาพรหมก็กล่าวยืนยันทิฏฐิของตนอีก ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ตรัสโต้ตอบเป็นเชิงเตือนว่า ทรงรู้จักคติและชุติ ( อานุภาพ ) ของพกาพรหม แล้วทรงแสดงว่าพกาพรหมยังไม่รู้ไม่เห็นพรหมอีก ๓ พวก คือ พวกอาภัสสระ พวกสุภกิณหะ และพวกเวหัปผละ ซึ่งพกาพรหมเคยเคลื่อนมาจากนั้น แต่มาอยู่ในที่นี้นานเกินไปก็เลยหลงลืมไป . พกาพรหมแสดงความประสงค์ว่า จะหายตัวไปจากพระผู้มีพระภาค แต่ก็หายไปไม่ได้. พระผู้มีพระภาคแสดงฤทธิ์หายไปได้ ให้พรหม บริษัทของพรหม และพรหมปาริสัชชะได้ยินพระดำรัส แต่ไม่เห็นพระกาย. พวกพรหมทั้งนั้นก็อัศจรรย์ใจในพุทธานุภาพ.
๔. มารผู้มีบาปก็สิงพรหมปาริสัชชะตนหนึ่ง ให้พูดห้ามปรามพระองค์อย่าให้แสดงธรรมแก่สาวกแกบรรพชิต อย่าติดในสาวก ในบรรพชิต พร้อมทั้งเล่าว่า สมณพราหมณ์ก่อนหน้าพระองค์ที่ปฏิญญาตนว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และนำสาวก บรรพชิต แสดงธรรมแก่สาวก แก่บรรพชิต ติดในสาวก ในบรรพชิต ตายไปก็เกิดในกายอันต่ำทราม แต่สมณพรามณ์ที่ตรงกันข้าม ( คือไม่สอนสาวก ไม่สอนบรรพชิต ) ตายไปกลับเกิดในกายอันประณีต, ข้าพเจ้าขอบอกกับท่านว่า จงมีความปรารถนาน้อย หาความสุขในปัจจุบันเถิด. การไม่บอกเป็นการดี ท่านจงอย่าสั่งสอนคนอื่นเลย.
๕. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ? เรารู้จักท่าน ท่านอย่าสำคัญว่าเราไม่รู้ ท่านไม่มุ่งประโยชน์แก่เราจึงกล่าวอย่างนี้ ท่านคิดว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่ใคร ผู้นั้นจักพ้นอำนาจแห่งเรา สมณพราหมณ์ ( ที่กล่าวถึง ) เหล่านั้นมิได้ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่ปฏิญญาตนว่าตรัสรู้เองโดยชอบ. ส่วนตัวเราตรัสรู้เองโดยชอบ จึงปฏิญญาว่าตรัสรู้โดยชอบ. จะแสดงธรรมหรือไม่แสดงแก่สาวกทั้งหลาย จะแนะนำหรือไม่แนะนำสาวกทั้งหลาย ตถาคตก็เป็นเช่นนั้นเท่านั้น ( ไม่ดีไม่ชั่วไปกว่าเดิม ) ทั้งนี้เพราะละอาสวะได้เด็ดขาดแล้ว เหมือนตาลยอดด้วนไม่ควรงอกขึ้นอีก.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม