ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

(เป็นสุตตันตปิฎก)

พระสุตตันตปิฎก ตั้งแต่เล่ม ๙ ถึงเล่ม ๑๑ ที่ย่อมาแล้ว รวม ๓ เล่ม เป็นทีฆนิกาย คือหมวดหรือพวกแห่งพระสูตรขนาดยาว บัดนี้มาถึงหมวดถัดมา คือมัชฌิมนิกาย คือหมวด หรือพวกเเห่งพระสูตรขนาดกลาง ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป ถ้าพิจารณาดูตัวเลข หรือจำนวนพระสูตรในทีฆนิกายกับมัชฌิมนิกายเทียบเคียงกันดูแล้ว ก็พอจะเห็นได้ดังนี้ ทีฆนิกาย เล่ม ๙ มี ๑๓ สูตร , เล่ม ๑๐ มี ๑๐ สูตร , เล่ม ๑๑ มี ๑๑ สูตร รวม ๓ เล่ม มี ๓๔ สูตร. ส่วนมัชฌิมนิกาย มี ๓ เล่มเช่นกัน คือเล่ม ๑๒ มี ๕๐ สูตร, เล่ม ๑๓ มี ๕๐ สูตร , เล่ม ๑๔ มี ๕๒ สูตร รวม ๓ เล่ม มี ๑๕๒ สูตร. เมื่อเทียบดูความต่างจากจำนวนสูตรแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ทีฆนิกายมีสูตรยาวกว่าสูตรมัชฌิมนิกายประมาณ ๕ เท่า.

ทีข้อที่ควรสังเกต คือพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ เล่มนั้น มีชื่อเรียกกำหนดด้วยคำว่า ปัณณาสก์ หรือปัณณาสกะ ( หมวด ๕๐ ) เป็นหลัก เพราะมีเล่มละประมาณ ๕๐ สูตร เกินไปบ้างเล็กน้อย เพียง ๒ สูตร เฉพาะเล่มสุดท้าย. เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (หมวด ๕๐ ที่เป็นรากหรือโคน เทียบด้วยรากหรือโคนต้นไม้ ) เล่ม ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ( หมวด ๕๐ ที่เป็นท่อนกลาง ) เล่ม ๑๔ มัชฌิมมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ( หมวด ๕๐ ที่เป็นยอดหรือเป็นปลาย )

อนึ่ง พึงทราบไว้ด้วยว่า เพื่อสะดวกแก่การท่องจำหรือกำหนดหมาย ในปัณณาสก์หนึ่ง ๆ หรือเล่มเล่มหนึ่ง ๆ ซึ่งมี ๕๐ สูตรนั้น ท่านแบ่งออกเป็น ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ( คงมีวรรคละ ๑๒ สูตร อยู่วรรคเดียวในเล่ม ๑๔ หรือเล่มสุดท้ายแห่งมัชฌิมนิกาย ).

ในทีฆนิกายเคยย่อให้ก่อนว่า แต่ละเล่มมีสูตรชื่ออะไร ใจความว่าอย่างไรบ้าง ย่อ ๆ แล้วจึงขยายความภายหลัง แต่ในมัชฌิมนิกาย ซึ่งมีพระสูตรเพิ่มขึ้น ๕ เท่าตัว เราต้องเจียดหน้ากระดาษไว้ย่อเล่มต่อไปอีกหลายเล่ม จึงของด ไม่นำชื่อพระสูตรย่อ ๆ มากล่าวไว้ จะย่อมเป็นลำดับไปทีเดียว ท่านผู้ประสงค์จะทราบว่าในเล่ม ๑๒ , ๑๓ และ ๑๔ มีสูตรอะไรบ้าง ก็อาจเปิดสารบัญดูได้ ทั้งนี้เพราะต้องการให้สามารถย่อพระไตรปิฎกฉบับบาลีให้หมดทั้งสี่สิบห้าเล่มลงใน ๑ เล่มภาษาไทยนี้ให้ได้.

เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มี ๕๐ สูตร

สูตรที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เรียกมูลปริยายวรรค คือวรรคที่นำด้วย

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย