ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔๗ . วิมังกสูตร สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ตรัสถึงภิกษุผู้ไม่รู้เรื่องจิตใจของคนอื่น ควรทำการสอบสวนในตถาคตเพื่อรู้ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่.

ภิกษุทั้งหลายขอร้องให้ทรงอธิบาย จึงตรัสขยายความต่อไปว่า .

๒. ภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน เมื่อไม่รู้เรื่องจิตใจของผู้อื่น ( คือไม่มีอำนาจจิตรู้จิตใจของผู้อื่นได้ ) ควรทำการสอบสวนในตถาคต ในธรรม ๒ อย่าง คือในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางตาและทางหู ( กิริยาอาการหรือถ้อยคำใด ๆ ที่พึงใช้ตาใช้หูสังเกตสอบสวนได้ ) ว่าธรรมะที่พึงรู้แจ้งทางตาและทางหู ที่เศร้าหมอง , ที่ปนกัน ( คือดีบ้าง ชั่วบ้าง ) ของตถาคตมีหรือไม่มี ก็จะทราบว่าไม่มี. เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้สมบูรณ์ด้วยกุศลธรรมนี้มานานแล้ว หรือพึงสมบูรณ์ด้วยกุศลธรรมนี้เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง ก็จะทราบว่าสมบูรณ์มานานแล้ว มิใช่เพิ่งสมบูรณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า ภิกษุ ( ผู้เป็นศาสดาของเรา ) นี้ ถึงความเป็นผู้มีคนรู้จักมียศ ในการนี้ท่านมีโทษบางอย่างหรือไม่ ภิกษุ ( บางรูป ) ยังไม่มีโทษเกิดขึ้นตราบเท่าที่ยังไม่ถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ พอถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ ก็มีโทษบางอย่างเกิดขึ้น ( เช่น เห่อเหิม ถือตัว ).

เธอสวบสวนอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ภิกษุถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ แต่ก็ไม่มีโทษบางอย่าง เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่าท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เว้นความชั่วเพราะกลัวก็หามิได้ ( เว้นโดยอัธยาศัยสูงคุณธรรมสูง มิใช่เพราะกลัวถูกติเตียน เป็นต้น ) ย่อมไม่เสพกาม เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะใช่หรือไม่. ก็จะรู้ว่า ท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เว้นความชั่วเพราะกลัวก็หามิไม่ ย่อมไม่เสพกามเพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะ. ถ้ามีผู้อื่น ถามภิกษุ ( ผู้สวบสวน ) ว่า มีอาการอะไร มีข้อที่รู้ได้อะไรที่ทำให้กล่าวว่า ท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่กลัว เป็นต้น. ถ้าเธอจะตอบให้ชอบก็ตอบว่า ท่านผู้นี้อยู่ในสงฆ์หรืออยู่แต่ผู้เดียว ท่านก็ไม่ดูหมิ่นภิกษุที่ดี ที่ชั่ว ที่บริหารหมู่คณะ ที่ติดอามิส ที่ไม่ติดอามิส.

อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ฟังมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ถึงพระดำรัสที่ว่า เราเว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เราเว้นความชั่วเพราะกลัวก็หาไม่ เราไม่เสพกามเพราะปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะดังนี้ .

ข้อที่ว่าไม่ดูหมิ่นภิกษุทุกประเภท ไม่ว่าดีหรือเลวนั้น อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคมีพระหฤทัยสม่ำเสมอในบุคคลทั้งปวง เช่นในพระเทวทัตผู้คิดฆ่าและในพระราหุลผู้เป็นโอรส).

๓. เธอพึงถามตถาคตถึงธรรมะที่พึงรู้แจ้งทางตาหูอันเศร้าหมอง อันปนกัน ( ดีบ้าง ชั่วบ้าง ) อันผ่องแผ้วว่า ธรรมเหล่านี้ของตถาคตมีหรือไม่ เมื่อตถาคตจะตอบ ก็พึงตอบว่า “ ไม่มีธรรมที่เศร้าหมองและที่ปนกัน แต่มีธรรมที่ผ่องแผ้ว. นั้นเป็นทางเป็นที่โคจรของเรา แต่เราก็มิได้มีความทะยานอยาก เพราะคุณธรรมนั้น” สาวกจึงควรเข้าไปหาศาสดาผู้กล่าวอย่างนี้เพื่อฟังธรรม เธอรู้ยอ่งธรรมบางอย่างในธรรมที่แสดงนั้น ย่อมถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย เลื่อมใสในศาสดาว่า “ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ , พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว, พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.” ถ้ามีผู้ถามภิกษุ ( ผู้สอบสวนนัน ) ว่า มีอาการอะไร มีข้อที่รู้ได้อะไรเป็นเหตุให้กล่าว ( สรรเสริญพระรัตนตรัย ) อย่างนั้น . จะตอบให้ชอบ เพราะเข้าไปฟังธรรมและได้รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมที่แสดงนั้นดังกล่าวแล้ว.

๔. ตรัสว่า ผู้มีศรัทธาตั้งลงในตถาคต เป็นศรัทธาที่มีราก เป็นศรัทธาอันตั้งมั่น ด้วยอาการด้วยบท ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ ศรัทธาของผู้นั้น เรียกว่ามีอาการ ( อันดี ) มีความเห็นเป็นจริงเป็นมูล เป็นศรัทธาอันมั่น ซึ่งสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก พึงนำไป ( หรือจูงไปที่อื่น ) ไม่ได้. นี้แหละคือการสอบสวนธรรมในตถาคต และตถาคตก็เป็นอันสวบสวนดีแล้วโดยธรรม.

(หมายเหตุ? สูตรนี้อีกสูตรหนึ่งที่ท้าให้สอบสวนคุณความดีหรือข้อบกพร่องของพระพุทธเจ้า พึงดูที่ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หัวข้อที่ ๒๑๗ ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์ให้ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวได้ด้วย).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย