ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๑๖ . เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชวตนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องที่ว่า ถ้าภิกษุยังละกิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต ( เจโตขีละ ) ๕ ประการ และถอนกิเลสที่เปรียบเหมือนเครื่องผูกมัดจิต ( เจตโสวินิพันธะ ) ๕ ประการไม่ได้ ก็มิใช่ฐานะที่ภิกษุนั้นจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้.
ตอของจิต ๕
๒. แล้วทรงแสดงกิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต ๕ ประการ คือ
๑. สงสัยในพระศาสดา
๒. สงสัยในพระธรรม
๓. สงสัยในพระสงฆ์
๔. สงสัยในสิกขา ( ข้อที่จะต้องศึกษา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
๕. โกรธเคืองในเพื่อนพรหมจารี เมื่อมีความสงสัยหรือโกรธเคืองข้อใดข้อหนึ่งนี้แล้ว
จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร.
เครื่องผูกมัดจิต ๕
๓. แล้ทรงแสดงกิเลสที่เปรียบเหมือนเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการ คือ
๑. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในกาม
๒. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในในกาย
๓. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในรูป
๔. กินแล้วก็ประกอบสุขในการนอน
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยหวังว่าจะไปเกิดในเทพพวกใดพวกหนึ่ง
เมื่อมีกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร.
๔. ถ้าละและถอนกิเลสข้างต้นเสียได้ ก็มีฐานะที่จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้.
๕. ทรงแสดงภิกษุผู้ประกอบด้วยอิทธิบาท คือคุณธรรมที่ให้ถึงความสำเร็จ ๔ ประการ คือ
๑. พอใจ
๒. เพียร
๓. คิด
๔. ไตร่ตอง
พร้อมทั้งมีความกระตือรือร้น ( อุสฺโสฬฺหิ ) เป็นที่ ๕ รวมเป็นมีคุณธรรม ๑๕ อย่าง คือละกิเลสอย่างละ ๕ สองอย่างข้างต้น กับคุณธรรมอีก ๕ อย่าง ก็สามารถจะตรัสรู้ได้ เปรียบเหมือนแม่ไก่กกไข่ดี แม้ไม่ปรารถนาอะไรมาก ลูกไปก็ออกมาได้ฉะนั้น.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม