ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๔๑ . สาเลยยกสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านสาละ
สูตรใหญ่
๑. พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จแวะพัก ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาละ. พวกพราหณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ ( สาเลยยกะ ) ได้ยินกิตติศัพท์ ก็พากันไปเฝ้า กราบทูลถามเหตุปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก และสัตว์บางพวกตายแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะประพฤติอธรรม เพราะประพฤติไม่สม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะประพฤติธรรม เพราะประพฤติสม่ำเสมอ.
๒. ทรงขยายความแห่งคำว่า ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ โดยแยกออกป็นทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ ( ทุจจริต ๓ ซึ่งแจกออกเป็น ๑๐ อย่าง เรียกอกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งอกุศล ) ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก..
๓. ทรงขยายความแห่งคำว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ โดยแยกออกเป็นทาง ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ (สุจริต ๓ ซึ่งแจกออกเป็น ๑๐ อย่าง เรียกกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งกุศล ) ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสรรค์.
๔. ทรงแสดงว่า ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ หวังจะเข้าถึงฐานะใด ๆ ได้แก่กษัตริย์มหาศาล , พราหมณ์มหาศาล , คฤหบดีมหาศาล , เทพชั้นจาตุมหาราช , ชั้นดาวดึงส์ , ชั้นยามะ , ชั้นดุสิต , ชั้นนิมมานรดี , ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี , ชั้นพรหม , เทพพวกอาภะ ( มีแสงสว่าง ) , พวกปริตตาภะ , พวกอัปปมาณาภะ , พวกอาภัสสระ , พวกปริตตสุภะ , อัปปมาณสุภะ, พวกสภกินหกะ , พวกเวหัปผละ , พวกอวิหะ , พวกอตัปปะ, พวกสุทัสสะ, พวกสุทัสสี, พวกอกนิฏฐกะ , พวกอากาสานัญจายตนะ , พวกวิญญาณัญจายตนะ , พวกอากิญจัญญายตนะ, พวกเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือหวังทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ก็มีฐานะที่เป็นไปได้ เพราะผู้นั้นประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.
พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
(หมายเหตุ? ในพระสูตรนี้ มีปัญหาเรื่องศัพท์อยู่หลายแห่ง
๑ . คำว่า สุจริต ทุจจริต กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ แจกออกเป็นอะไรบ้าง ควรดูหนังสือนวโกวาท หน้า ๓๒ , ๕๙ และ ๖๐
๒. คำว่า มหาศาลที่นำมาต่อท้ายกษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี หมายความว่ามีทรัพย์มาก
๓. เทพชั้นจาตุมหาราช ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี รวม ๑๖ ชั้น เรียกว่าสวรรค์ชั้นกามาวจร คือยังอยู่ในชั้นกาม ควรดูคำอธิบายในหนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๗๙. หนังสือที่อ้างทั้งสองเล่ม โปรดดูมีภาค ๕ ด้วย . ส่วนลำดับเทพชั้นพรหมที่กล่าว
ถึงในที่นี้ ต่างจากที่กล่าวไว้ในที่อื่นเล็กน้อย เพื่อสะดวกแก่การเทียบเคียง ขอกล่าวถึงเทพชั้นพรหมที่ปรากฏในคำอธิบายของอรรถกถาทั่วไป คือชั้นรูปพรหม ( พรหมมีรูป ) มี ๑๖ ชั้น คือ
๑. พรหมปาริสัชชะ
๒. พรหมปุโรหิต
๓. มหาพรหม ( ๓ พวกนี้เป็นพวกได้ฌานที่ ๑ )
๔. ปริตตาภะ
๕. อัปปมาณาภะ
๖. อาภัสสระ ( ๓ พวกนี้เป็นพวกได้ฌานที่ ๒ และที่ ๓ )
๗. ปริตตสุภะ
๘. อัปปมาณสุภะ
๙. สุภกิณหะ ( ๓ พวกนี้เป็นพวกได้ฌาน ๔ )
๑๐. เวหัปผละ ( พวกนี้บำเพ็ญฌานที่ ๕ ฌานนี้แยกออกไปจากฌานที่ ๔
จัดตามวิธีของอภิธรรม )
๑๑. อสัญญีสัตว์ ( เป็นพรหมที่มาจากพวกเดียรถีย์ ที่บำเพ็ญฌานที่ ๕ นั้นแหละ
แต่หน่ายหรือรังเกียจจิตใจจึงเป็นพวกมีแต่รูป ไม่มีนาม )
๑๒. อวิหะ
๑๓. อตัปปะ
๑๔. สุทัสสะ
๑๕. สุทัสสี
๑๖. อกนิฏฐะ
( ๕ ประเภทนี้เป็นชั้นสุทธาวาส เป็นที่อยู่โดยเฉพาะของพระอนาคามี คือพระอริยบุคคลรองลงมาจากพระอรหันต์ ). ส่วนอรูปพรหม ( พรหมไม่มีรูป ) ๔ ชั้น คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ
๒. วิญญาณัญจายตนะ
๓. อากิญจัญญายตนะ
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
รวมทั้งรูปพรหมและอรูปพรหมจึงเป็น ๒๑ ชั้น แต่ในพระสูตรนี้ คำว่าชั้นพรหม อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพรหม ๓ ประเภทแรกที่ได้ปฐมฌาน คำว่า เทพพวกอาภะ ( มีแสงสว่าง) คือ ปริตตาภะ อัปปมาณาภะ อาภัสสระ จึงเท่ากับพวกอาภะ เป็นการกล่าวรวม ๆ ส่วนปริตตาภะถึงอาภัสสระเป็นการขยายความ. ในพระสูตรนี้ไม่กล่าวถึงอสัญญีสัตว์ เพราะแม้จะเป็นเทพชั้นพรหม แต่ทางพระพุทธศาสนาไม่ยกย่อง จึงเป็นอันว่า เมื่ออธิบายแล้วก็เข้ากันได้กับลำดับในที่อื่น . การแสดงหลักฐาน เพื่อประดับความรู้ในที่นี้ เพียงขั้นตำรา ไม่ใช่ขั้นวิจาร ว่ามีจริงหรือไม่ หรือจะถอดความอย่างไร เพราะจะต้องใช้หน้ากระดาษมาก และได้เขียนวิจารไว้บ้างแล้วในหนังสือเล่มอื่น เช่น คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา ).
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม