ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๑๙ . เทวธาวิตักกสูตร สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายถึงความนึกคิดที่เกิดขึ้นในสมัยที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ทรงแบ่งความคิดนึก ( วิตกความตรึก ) ออกเป็น ๒ ส่วน คือฝ่ายชั่ว ได้แก่คิดนึกในกาม , คิดนึกปองร้าย , คิดนึกเบียดเบียน ? ฝ่ายดี ได้แก่คิดนึกออกจากกาม , คิดนึกไม่ปองร้าย , คิดนึกไม่เบียดเบียน . เมื่อความคิดนึกฝ่ายชั่วเกิดขึ้นและทรงรู้เท่าทันก็ตั้งอยู่ไม่ได้ พระองค์จึงทรงละ ทรงบรรเทา ทรงทำให้สิ้นสุดซึ่งความคิดนึกฝ่ายชั่วได้.
๒. ตรัสต่อไปว่า ภิกษุตรึกตรองถึงเรื่องใดมาก จิตก็จะน้อมไปทางนั้น ( ทั้งทางคิดชั่วและคิดดี). พระองค์ทรงเห็นโทษของอกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ ( ผลดี ) ของกุศลธรรม เมื่อทรงทราบว่า ความคิดฝ่ายดีกำลังเกิดขึ้น ก็ไม่ทรงเห็นภัย จากการคิดนั้น ไม่ว่าในกลางคืนกลางวัน หรือทั้งกลางคืนกลางวัน แต่ถ้าตรึกตรอง ( วิตกวิจาร ) นานเกินไป กายลำบาก จิตก็จะฟุ้งสร้าน เมื่อจิตฟุ้งสร้านก็จะห่างจากสมาธิ พระองค์จึงทรงตั้งจิตไว้ภายใน ทำให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทำให้เป็นสมาธิ. ทรงเปรียบการเห็นโทษของความชั่ว เห็นคุณของความดี เหมือนคนเลี้ยงโคที่ต้อนโคไปให้พ้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยข้าวกล้า เพราะเห็นโทษ ( ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโคไปกินข้าวกล้าของคนอื่น ) ทรงเปรียบการทำสติถึงธรรมเหล่านั้น เหมือนคนเลี้ยงโคที่พัก ณ โคนไม้หรือกลางแจ้ง ทำสติถึงโคเหล่านั้น.
๓. ตรัสต่อไปถึงการที่ทรงมีความเพียร ตั้งสติมั่น มีกายสงบระงับ มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่งเข้าฌานที่ ๑ จนถึงฌานที่ ๔ ? ระลึกชาติได้ในยามแรก ? ได้จุตูปปตฌาณ ( ญาณเห็นความตายความเกิดของสัตว์ ) หรือทิพย์จักษุ ( ตาทิพย์ ) ในยามกลาง ? ได้อาสวักขยญาณ ( ญาณอันทำอาสวะให้สิ้น ) รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง รู้จักอาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ความดับอาสวะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ตามเป็นจริงในยามสุดท้ายแห่งราตรี.
๔. ทรงเปรียบมารเหมือนผู้คิดร้าย ปิดทางดี เปิดทางไม่ได้ ให้หมู่เนื้อไปสู่ความพินาศ และเปรียบพระตถาคตเหมือนผู้มุ่งดี ที่ปิดทางร้ายเปิดทางให้เนื้อเดินทางไปสู่ความเจริญ แล้วตรัสว่า ได้ทรงทำหน้าที่ของศาสดาแล้ว . นั้นโคนไม้ นั้นเรือนว่าง จงเพ่งเถิด อย่าประมาท อย่าเดือดร้อนภายหลังเลย นี่และคือคำสอนของเรา.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม