ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๓๖ . มหาสัจจกสูตร สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอด ในป่าใหญ่ ใกล้กรุงเวสาลี . เช้าวันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเตรียมเสด็จเข้าสู่กรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต .

พระอานนท์เห็นสัจจกนิครนถ์เดินมาแต่ไกล ก็อาราธนาพระผู้มีพระภาคให้ประทับนั่งอยู่ครู่หนึ่งก่อนเพื่อสงเคราะห์เขา.

สัจจกนิครนถ์ก็เข้ามาเฝ้า กล่าวปราศัยแล้วตั้งกระทู้ขึ้นว่า ?-

๒. มีสมณพราหมณ์บางพวกประกอบการอบรมกาย แต่ไม่ประกอบอบรมกาย แต่ไม่ประกอบการอบรมจิต เมื่อได้รับทุกขเวทนาทางกายก็อาจเป็นโรคขาแข็ง ( อัมพาต ) , หัวใจแตก ( น่าจะได้แก่โรคหัวใจวายหรือเส้นโลหิตในสมองแตกอย่างใดอย่างหนึ่ง ), อาเจียนเป็นโลหิต , จิตฟุ้งซ้าน เป็นบ้า , จิตของคนเหล่านั้นเป็นไปตามกาย เป็นไปตามอำนาจของกาย เพราะมิได้อบรมจิต.

ส่วนสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งประการอบรมจิต แต่ไม่ประกอบการอบรมกาย เมื่อได้รับทุกขเวทนาทางจิต เจตสิก ก็อาจเป็นโรคขาแข็ง , หัวใจแตก , อาเจียนเป็นโลหิต , จิตฟุ้งซ้าน เป็นบ้า.

กายของคนเหล่านั้นเป็นไปตามจิต เป็นไปตามอำนาจของจิต เพราะมิได้อบรมกาย .

ข้าพเจ้าคิดว่า สาวกของพระสมณโคดมคงประกอบการอบรมจิต ไม่ประกอบการอบรมกาย.

๓. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า การอบรมกายที่ท่านได้ฟังมา ( ตามคำพูดของท่าน ) เป็นอย่างไร ? สัจจกนิครนถ์อ้างชื่อนันทะ วัจฉโครต , กิสะ สังกิจจโครต , มักขลิ โคสาลซึ่งเปลือยกาย ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และกินอาหารเลียมือ เป็นต้น จนถึงกินอาหารวันละครั้ง ๒ วันครั้ง จนถึงกึ่งเดือนครั้ง. ตรัสถามว่า ยังชีพด้วยอาหารเพียงเท่านั้นเองหรือ ? ทูลตอบว่า บางคราวก็กินดื่มอาหารดี ๆ ให้เกิดกำลังกาย. ตรัสตอบว่า ร่างกายของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ละทิ้งการทรมานตนในเบื้องแรก มาสะสมในภายหลัง จึงเจริญบ้าง เสื่อมบ้าง.

(หมายเหตุ? ประเด็นสำคัญตอนนี้ คือการตีความหมายถ้อยคำว่า อบรมกายเป็นอย่างไร อบรมจิตเป็นอย่างไร .

เฉพาะการอบรมกาย พวกนิครนถ์ถือว่า คือการทรมานร่างกาย แต่แล้วก็กลับชี้ให้เห็นความย่อหย่อนในภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงติงไว้ในตอนท้าย อรรถกถาแก้ว่า ความหมายของฝ่ายพระพุทธศาสนาไม่เหมือนกัน โดยชี้ว่า อบรมกาย ได่แก่วิปัสสนา ( ปัญญา ) อบรมจิต ได้แก่สมถะ ( สมาธิ ) จึงควรเข้าใจว่า คำว่า กาย นั้น ไม่ได้หมายถึงร่างกายเสมอไป หากหมายถึงนามกายหรือธรรมะที่เกิดกับจิต คือเจตสิกซึ่งมีที่ใช้อยู่หลายแห่ง.

แต่ก็น่าพอใจว่าพระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามนิครนถ์ตีความถ้อยคำของตนเองเสียก่อนเพื่อจะได้ไม่ยุ่ง.

๔. ตรัสถามต่อไปว่า การอบรมจิตที่ท่านได้ฟังมาเป็นอย่างไร? สัจจกนิครนถ์ไม่สามารถตอบได้. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า การอบรมกายข้างต้น ( ตามที่เขาเข้าใจ ) มิใช่การอบรมกายในอริยวินัย ก็เมื่อไม่รู้การอบรมกายแล้ว จะรู้การอบรมจิตอย่างไร. ครั้นแล้วจึงตรัสบอกให้คอยฟัง.

๕. ผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมจิต คือบุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสุขเวทนา ( ความรู้สึกเป็นสุข ) ถูกต้องก็กำหนัดในสุข เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นเพราะสุขเวทนาดับไป ก็เศร้าโศกคร่ำครวญ หลงเลอะ.

สุขเวทนาเกิดขึ้นครอบงำจิตของผู้นั้นได้ก็เพราะมิได้อบรมกาย ทุกขเวทนาเกิดขึ้นครอบงำจิตของผู้นั้นได้ก็เพราะมิได้อบรมจิต

สุขเวทนาและทุกขเวทนาเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ครอบงำจิตเพราะมิได้อบรมกาย มิได้อบรมจิตอย่างนี้.

๖. ผู้อบรมกาย อบรมจิต คืออริยสาวก ( สาวกของพระอริยเจ้า ) ผู้ได้สดับ ที่ตรงกันข้ามกับบุถุชนผู้มิได้สดับ สุขเวทนา ทุกขเวทนา ไม่ครอบงำจิตของผู้นั้นได้.

๗. สัจจกนิครนถ์กล่าวแสดงความพอใจเห็นด้วยกับพระดำรัสอธิบาย พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภายหลังที่เสด็จออกผนวชแล้ว ก็มิใช่ฐานะที่สุขเวทนาหรือทุกข์เวทนาจะครอบงำพระหฤทัยของพระองค์ตั้งอยู่ได้ ซึ่งสัจจกนิครนถ์ก็แสดงความเชื่อมั่นว่าเป็นเช่นนั้น.

๘. ครั้นแล้วตรัสเล่าเรื่องที่ทรงเห็นการครองเรือนเป็นเหมือนทางที่เต็มไปด้วยฝุ่น ส่วนการบรรพชาเหมือนที่กลางแจ้ง จึงเสด็จออกบรรพชา ทั้ง ๆ ที่พระมารดาบิดาทรงกันแสงไม่ปรารถนาให้ออก ตั้งแต่อยู่ในปฐมวัย พระเกสาดำสนิท แล้วตรัสเล่าต่อไปถึงการแสวงหาสันติวรบท ( ทางอันประเสริฐไปสู่สันติ ) ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบท กาลามโครต และอุททกดาบท รามบุตร เมื่อไม่ทรงพอพระหฤทัยว่าจะเป็นไปเพื่อพระนิพพาน จึงเสด็จออกจากสำนักของดาบสนั้น จาริกไปโดยลำดับ ถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม.

๙. ตรัสเล่าถึงอุปมา ๓ ข้อที่ปรากฏแก่ปพระองค์ คือ
๑. ไม้สดชุ่มด้วยยาง แช่ในน้ำ ไม่สามารถจะสีให้ไฟติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ที่มีกายไม่หลีกจากกาม มีความพอใจในกาม แม้จะบำเพ็ญเพียรได้รับทุกขเวทนากล้า ก็ไม่ควรได้ตรัสรู้.
๒. ไม้สดชุ่มด้วยยาง วางอยู่บนบก ไม่สามารถจะสีไฟให้ติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ที่มีกายหลีกจากกาม แต่ยังมีความพอใจกาม แม้จะบำเพ็ญเพียรได้รับทุกขเวทนากล้า ก็ไม่ควรได้ตรัสรู้
๓. ไม้แห้งวางอยู่บนบก สามารถจะสีไฟให้ติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายออกจากกาม ละความพอใจในกามเสียได้ดี แม้จะไม่บำเพ็ญเพียรได้รับทุกขเวทนากล้า ก็ควรตรัสรู้ได้.

๑๐ . ตรัสเล่าถึงการทรมานพระกาย เช่น กดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา จนกระทั้งพระเสโทไหลออกจากพระกัจจฉะ ? การกลั้นพระอัสสาสะปัสสาสะ ทรงพระโอษฐ์และพระนาสิก จนเกิดเสียงเมื่อลมออกทางช่องพระกรรณ? การกลั้นพระอัสสาสะทั้งทางพระโอษฐ์ ทรงพระนาสิก และทางพระกรรณจนมีความรู้สึกที่พระเศียรคล้ายคนเอาของแหลมคมมากดลงไป , จนลมเสียดพระอุทรคล้ายเอามีดเชือด , จนพระกายเร่าร้อนเหมือนถูกย่างบนหลุมถ่านเพลิง ทุกขเวทนาก็มิได้ครอบงำพระหฤหัยตั้งอยู่ได้? ทรงแสดงการอดพระกระยาหารด้วยประการทั้งปวง ? การกลับเสวยพระกระยาหารอ่อน ประเภทเยื่อถั่วต่าง ๆ ทีละน้อยประมาณมือหนึ่ง จนกระทั่งซูบผอม? แล้วทรงแสดงว่า สมณพราหมณ์ที่บำเพ็ญเพียรได้รับทุกขเวทนากล้าก็อย่างยิ่งเพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้.

๑๑. ตรัสถึงการที่ทรงระลึกถึงการสงัดจากกาม ได้ฌานที่ ๑ ที่ร่มเงาไว้หว้าในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์ ว่าจะเป็นทางตรัสรู้ได้ จึงกลับเสวยพระกระยาหารหยาบ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุ ๕ รูปหาว่าพระองค์ทรงมักมากคลายความเพียร จึงพากันหลีกไป. พระองค์ทรงบำเพ็ญฌาน ได้ฌานที่ ๑ ถึง ๔ สุขเวทนาก็ไม่ครอบงำพระหฤทัยของพระองค์ตั้งอยู่ได้.

ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณระลึกชาติก่อนได้ ) ในยามแรก, ทรงได้จุตูปปาตญาณ ( ญาณเห็นความตายความเกิด ) ในยามกลาง, และทรงได้อาสวะขยญาณ ( ญาณอันทำอาสวะให้สิ้น ) ในยามสุดท้ายแห่งราตรี. สุขเวทนาเห็นปานนี้ ไม่ครอบงำพระหฤทัยของพระองค์ตั้งอยู่ได้.

๑๒. ตรัสถึงการทรงแสดงธรรมในบริษัทหลายร้อย ซึ่งแต่ละคนก็ติดว่าทรงแสดงธรรมปรารภเขาคนเดียว ซึ่งไม่ควรเห็นอย่างนั้น ทรงแสดงธรรมด้วยดีแก่เขาทั้งหลาย เพื่อให้รู้แจ้ง พอแสดงจบ ก็ทรงตั้งพระนมัสในนิมิตก่อนหน้า ( การแสดง ) นั้น ทำให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งในภายในอยู่เป็นนิตย์ด้วยสมาธิจิต.

๑๓. สัจจกนิครนถ์ยอมรับว่า เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น แล้วทูลถามว่า เคยทรงนอนหลับกลางวันหรือไม่.

ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ว่า ในเดือนสุดท้ายฤดูร้อนเสด็จกลับจากบิณฑบาต เมื่อเสวยเสร็จแล้ว ทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงเอนข้าง มีสติสัมปชัญญะก้าวสู่ความหลับ.

สัจจกนิครนถ์กล่าวว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงการนอนหลับกลางวันว่าเป็นการอยู่ด้วยความหลง. ตรัสตอบว่า เพียงเท่านั้นยังไม่นับว่าหลง หรือไม่หลง แต่หลงเป็นอย่างไร ไม่หลงเป็นอย่างไร จักทรงแสดงให้ฟัง.

๑๔. ทรงแสดงว่า ผู้ยังละอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) อันทำให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดอีกไม่ได้ ผู้นั้นชื่อว่าผู้หลง ถ้าละได้ก็เรียกว่าผู้ไม่หลง.

ตถาคตละอาสวะได้แล้ว เหมือนตาลยอดด้วนที่จะไม่งอกงามขึ้นมาได้อีก.

สัจจกนิครนถ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคว่า น่าอัศจรรย์ที่เมื่อถูกถ้อยคำกระทบกระทั้ง ยังมีพระฉวีวรรณผ่องแผ้ว มีสีพระพักตร์ผ่องใสดังพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งเล่าให้ฟังว่า ตนเคยโต้กับครูทั้งหก คือ ปูรณะ กัสสปะ , มักขลิ โคสาล , อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ , สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร พอตนเริ่มวาทะด้วย ก็พูดเลี่ยงไปเสียนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และความไม่พอใจให้ปรากฏ ส่วนพระผู้มีพระภาคกลับมีพระฉวีวรรณผ่องแผ่ว มีพระพักตร์ผ่องใส.

ครั้นแล้วสัจจกนิครนถ์ก็กราบทูลลากลับไป.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย