ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
สูตรที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เรียกมูลปริยายวรรค คือวรรคที่นำด้วยมูลปริยายสูตร
สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สาละใหญ่ ในป่าชื่อสุภคะ ( ป่าโชคดี ) ใกล้เมืองอุกกัฏฐา ณ ที่นั้นได้ทรงแสดงเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง ( สัพพธัมมมูลปริยาย ) มีใจความสำคัญแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน หรือ ๘ นัย เนื่องด้วยปุถุชน ( คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส ) ๑ นัย เนื่องด้วยเสขะ ( พระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ) ๑ นัย เนื่องด้วยพระขีณาสพ ( พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะคือกิเลสที่ดองสันดาน ) ๔ นัย เนื่องด้วยพระศาสดา ๒ นัย. ( เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้เกี่ยวข้องแท้ ๆ ก็มี เพียง ๔ ประเภท ).
๑. ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมรู้ตามความจำ ( สญฺชานาติ ) ถึงสิ่งต่าง ๆ. แล้วยึดถือว่าเป็นของเราเพราะไม่ได้กำหนดรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งนั้น ๆ. นี้เป็นกำหนดภูมิปุถุชนนัยที่ ๑ .
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะ รู้ยิ่งด้วยปัญญา ( อภิชานาติ ) ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เพลา. การยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะสิ่งนั้น ๆ พระเสขะควรกำหนดรู้ได้. นี้เป็นกำหนดภูมิพระเสขะนัยที่ ๒.
๓. ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่ถือว่าเป็นของเรา
๑ . เพราะกำหนดสิ่งนั้น ๆ แล้ว
๒ . เพราะสิ้นราคะความกำหนัดยินดี
๓. เพราะความสิ้นโทสะความคิดประทุษร้าย
๔. เพราะสิ้นโมหะความหลง นี้เป็นกำหนดภูมิพระขีณาสพนัยที่ ๓ , ๔ , ๕ และ ๖.
๔. พระศาสดา รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่าง ๆ ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
๑. เพราะกำหนดรู้ในสิ่งนั้น ๆ แล้ว
๒. เพราะสิ้นตัญหาด้วยประการทั้งปวง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.
นี้เป็นกำหนดภูมิพระศาสดานัยที่ ๗ และ ๘.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม