ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๑๒ . มหาสีหนาทสูตร สูตรว่าด้วยการบันลือสีหนาทใหญ่

พระผู้มีพระภาคประทับในราวป่า ด้านตะวันตกแห่งพระนคร นอกกรุงเวสาลี.

๑. สุนักขัตตลิจฉวี ซึ่งหลีกไปจากธรรมวินัย ได้กล่าววาจาในที่ชุมนุมชนในกรุงเวสาลีว่า พระสมณโคดมไม่มีอุตตริมนุสสธรรม ( ฤทธิ์อำนาจพิเศษ ) แสดงธรรมตามที่นึกเดาเอา พิจารณาเอา ตามปฏิภาณของตน แต่ธรรมนั้นก็นำให้ผู้ที่ทำตามพ้นทุกข์ได้. พระสารีบุตรได้บิณฑบาตในกรุงเวสาลี ได้ทราบเรื่อง จึงนำความมากราบทูลพระผู้มีพระภาค.

๓. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุนักขัตตลิจฉวีกล่าวด้วยความโกรธ คิดว่าจะกล่าวโทษ แต่ที่กล่าวว่าธรรมะที่เราแสดงนำให้ผู้ทำตามพ้นทุกข์ได้นั้น ก็เป็นการกล่าวคุณ . แล้วทรงแสดงว่า สุนักขัตตลิจฉวีไม่มีญาณหยั่งรู้ธรรมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า , เกี่ยวกับการแสดงฤทธิ์ได้ของพระพุทธเจ้า , เกี่ยวกับทิพย์โสต ( หูทิพย์ ) ของพระพุทธเจ้า , เกี่ยวกับเจโตปริยญาณ ( ญาณกำหนดรู้จิตผู้อื่น ) ของพระพุทะเจ้า.

กำลัง ๑๐

๓. ทรงแสดงกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ คือ

๑. ฐานาฐานญาณ ( ญาณกำหนดรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ )
๒. วิปากญาณ ( ญาณกำหนดรู้ผลแห่งกรรมในอดีตอนาคตและปัจจุบัน )
๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณกำหนดทางไปสู่ภูมิทั้งปวง )
๔. นานาธาตุญาณ ( ญาณกำหนดรู้ธาตุต่าง ๆ )
๕. นานาธิมุตติกญาณ ( ญาณกำหนดรู้อัทธยาศัยต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย )
๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ) ญาณกำหนดรู้ความหย่อนและความยิ่งแห่งอินทรีย์ คือศรัทธา, ความเพียร , สติ , สมาธิ , ปัญญาของสัตว์ทั้งหลาย )
๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ( ญาณกำหนดรู้อาการ มีความเศร้าหมอง เป็นต้น แห่งธรรมมีฌาน เป็นต้น ) คือฌานาทิสังกิเลสาญาณ
๘. ปุพฺเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณกำหนดระลึกชาติหนหลังได้ )
๙. จุตูปปาตญาณ หรือทิพย์จักษุญาณ ( ญาณกำหนดรู้ความจุติความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย )
๑๐. อาสวักขยญาณ ( ญาณอันทำให้กิเลสที่หมักดองสันดานสิ้นไปได้ )

แล้วตรัสสรุปในที่สุดของแต่ละข้อว่า เพราะมีญาณแต่ละข้อนี้ จึงปฏิญญาความเป็นใหญ่ บรรลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ( ธรรมะซึ่งเปรียบเหมือนลูกล้อหมุนไปสู่ความเจริญอันประเสริฐ).

เวสารัชชะ ๔

๔. แล้วทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า (เวสารัชชะ) ของพระตถาคต ๔ อย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ทรงปฏิญญาความเป็นใหญ่ บรรลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร คือไม่ทรงเห็นว่าจะมีพมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกจะกล่าวทักท่วงได้โดยชอบธรรมว่า

๑. ธรรมที่ทรงปฏิญญาว่าตรัสรู้แล้ว มิได้ทรงตรัสรู้
๒. อาสวะที่ทรงปฏิญญาว่าสิ้นไปแล้ว ยังไม่สิ้นไป
๓. ธรรมที่ตรัสว่าทำอันตราย ไม่ทำอันตรายได้
๔. ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใด ไม่นำผู้นั้นซึ่งทำตามให้สิ้นทุกข์โดยชอบได้.

บริษัท ๘

๕. แล้วทรงแสดงถึงบริษัท ๘ ที่พระองค์ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้แกล้วกล้า ๔ ประการ เสด็จเข้าไปหา เคยประทับนั่งสนทนาสากัจฉา ( ไต่ถาม โต้ตอบ ) กับบริษัทเหล่านั้น นับจำนวนหลายร้อยบริษัท คือ กษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี ( ผู้ครองเรือน ) , สมณะ , เทพชั้นจาตุมหาราช , เทพชั้นดาวดึงส์ , มาร , พรหม . ไม่ทรงเห็นนิมิตหมายที่ว่าจะเกิดความกลัว ความหวาดกลัว ความหวาดแก่พระองค์ในบริษัทนั้น ๆ.

กำเนิด ๔

๖. แล้วทรงแสดงกำเนิด ๔ คือกำเนิดจากไข่ (อัณฑชะ ) , กำเนิดจากปุ่มเปือก ( เกิดจากครรภ์มารดา ? ชลาพุชะ) , กำเนิดจากของโสโครก ( สังเสทชะ เช่น ในของเปื่อยเน่า ในน้ำครำ ), และเกิดเติบโตขึ้นทันที ( โอปปาติกะ เช่น เทพ , สัตว์นรกบางจำพวก , มนุษย์บางจำพวก , เปรตบางจำพวก ).

คติ ๔

๗. แล้วทรงแสดงตติ ๕ คือนรก, กำเนิดเดียรฉาน , ภูมิแห่งเปรต , มนุษย์ , เทพ ซึ่งพระองค์ทรงทราบ พร้อมทั้งทรงหนทางและข้อปฏิบัติที่จะให้ไปเกิดในคตินั้น ๆ นอกจากนั้นยังทรงแสดงด้วยว่าทรงรู้จักนิพพาน ( สภาพที่ดับเย็น ปราศจากกิเลสและความทุกข์ ) พร้อมทั้งหนทางและข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงพระนิพพานด้วย.

การประพฤติพรหมจรรย์มีองค์ ๔

๘. ทรงแสดงการประพฤติพรหมจรรย์มีองค์ ๔ ของพระองค์ คือ ๑. บำเพ็ญตบะอย่างยิ่ง ๒. เป็นผู้ปอนหรือเศร้าหมองอย่างยิ่ง ๓. เป็นผู้รังเกียจ ( ในการทำลายชีวิตสัตว์ ) อย่างยิ่ง ๔. เป็นผู้สงัดอย่างยิ่ง.

แล้วทรงแสดงตัวอย่าง ในการบำเพ็ญตบะ เช่น ทดลองเปลือยกาย นั่งกระหย่ง นอนบนหนาม เป็นต้น? ในการเป็นผู้ปอน เช่น ปล่อยให้ธุลีละอองหมักหมม จับกายอยู่จนเป็นสะเก็ด เหมือนสะเก็ดไม้โดยไม่คิดจะลูบทิ้ง ? ในการรังเกียจ เช่น มีสติก้าวเดิน ตั้งความเอ็นดู แม้ในหยดน้ำ เพื่อมิให้สัตว์มีชีวิตขนาดเล็กถึงความพินาศ ? ในการเป็นผู้สงัด เช่น ทรงเข้าอยู่ป่า หลีกเลี่ยงมิให้พบคนเลี้ยงโค เลี้ยงปศุสัตว์คนหาหญ้าหาฟืน คนทำงานในป่า .

( นี้เป็นการแสดงว่าทรงทดลองหมดทุกอย่างที่นักบวชที่นักบวชสมัยนั้นประพฤติปฏิบัติกัน อันเป็นประโยนช์อย่างยิ่งในภายหลังที่ทรงคัดค้านการทรมานตัว จะได้ทรงอ้างได้ว่า ทรงทดลองมาแล้วไม่ได้ผล).

การทรมานพระองค์อย่างอื่นอีก

ทรงแสดงการทดลองของพระองค์เกี่ยวกับอาหาร คือมูลโค รวมทั้งมูตร แลกรีส ( อุจจาระ ) ของพระองค์เอง.

ทรงแสดงถึงการเข้าไปอยู่ในป่าที่น่ากลัว ซึ่งคนผู้ยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่าเช่นนั้น ย่อมขนพองสยองเกล้าโดยมาก.

ทรงแสดงถึงการบรรทมหนุนกระดูกศพในป่าช้า บางครั้งเด็กเลี้ยงโคมาถ่มน้ำลายรด ปัสสวะรด เอาขี้ฝุ่นโรย เอาซี่ไม้ยอนช่องพระกรรณ แต่ก็ไม่ทรงมีจิตคิดร้ายในเด็กเหล่านั้น เป็นตัวอย่างแห่งการอยู่ด้วยอุเบกขา .

ทดลองความบริสุทธิ์เพราะเหตุต่าง ๆ

๑. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยอาหาร จึงทรงยังพระชนม์ชีพด้วยผลกะเบา เคี้ยวผลกะเบา ผลกระเบาป่น ดื่มน้ำกะเบา บริโภคกะเบาที่ทำเป็นชนิดต่าง ๆ? ทรงยังพระชนม์ชีพด้วยถั่ว , งา , ข้าวสาร ( ลองเป็นอย่าง ๆ ไป ) ลดลงจนเหลือเพียงกะเบา , ถั่ว , งา หรือข้าวสารเพียงเมล็ดเดียว เพราะขาดอาหารนั้น ทำให้พระกายซูบซีด ซวนล้ม เมื่อลูบพระกาย พระโลมาซึ่งมีรากเน่าก็หลุดจากพระกาย แต่มิได้ทรงบรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ เพราะมิได้ทรงบรรลุปัญญาอันประเสริฐอันจะทำให้ถึงที่สุดทุกข์ได้.

๒. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยสงสาร ( การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด ). ก็ไม่มีการท่องเที่ยวไป ในที่ใดที่ไม่ทรงเคยไป จะพึงหาได้ง่ายโดยกาลอันนานนี้ เว้นไว้แต่เทพชั้นสุทธาวาสเพราะถ้าท่องเที่ยวไปในเทพชั้นสุทธาวาส ( ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระอนาคามี ผู้ไม่กลับมาสู่มนุษย์โลกอีก ) พระองค์ก็จะไม่มาสู่โลกนี้อีก.

๓. และ ๔. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการเกิด ( อุปบัติ ) , การอยู่ ( อาวาส ). ก็ไม่มีการเกิด , การอยู่ ในที่ไหนที่ไม่ทรงเคยเกิด , เคยอยู่ โดยกาลอันนานนี้ เว้นแต่เทพชั้นสุทธาวาส เพราะถ้าทรงเกิด , ทรงอยู่ในเทพชั้นสุทธาวาส ก็จะไม่มาสู่โลกนี้อีก.

๕. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยยัญ ก็ไม่มียัญชนิดไหนที่ไม่ทรงเคยบูชาโดยกาลอันนานนี้.

๖. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการบำเรอไฟ ( คือหาเชื่อใส่ไฟตลอดเวลา ) ก็ไม่มีไฟที่ไม่เคยทรงบำเรอโดยกาลอันนานนี้.

คนหนุ่มจึงมีปัญญาจริงหรือ ?

๗. สมณะพราหมณ์บาวพวกกล่าวว่า คนยังหนุ่มอยู่ในปฐมวัย จึงประกอบด้วยความเป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญา เมื่ออายุถึง ๘๐, ๙๐ , ๑๐๐ ก็เสื่อมจากความเป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญานั้น ซึ่งไม่พึงเห็นเช่นนั้น เพราะพระองค์เองมีพระชนม์มายุ ๘๐ ดำเนิน , พระสาวก ๔ รูปมีอายุถึง ๑๐๐ ก็ยังประกอบด้วย สติ คติ และความทรงจำอันยอดเยี่ยม ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยม.

สาวกเหล่านั้นทูลถามปัญหาเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔, ก็ทรงตอบไป , เธอก็ทรงจำไว้ได้ ไม่ต้องถามเป็นครั้งที่สอง. การแสดงธรรม , การแยกบทแห่งธรรม การตอบปัญหาของตถาคตไม่มีที่สิ้นสุด ( คือดำเนินไปได้ติดต่อกัน ) เว้นไว้แต่กิน ดื่ม หรือถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้น. สาวกทั้งสี่รูปนั้น ผู้มีอายุ ๑๐๐ ก็จะทำกาละเมื่อล่วง ๑๐๐ ปี .

แม้ท่านทั้งหลายจะหามตถาคตไปด้วยเตียง ความแปรเป็นอย่างอื่นแห่งความเป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ย่อมไม่มีเลยเเก่ตถาคต.

พระนาคสมาละถวายอยู่งานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ กราบทูลว่า ท่านสดับธรรมบรรยายนี้แล้วเกิดขนลุก ควรเรียกธรรมปริยายนี้ว่ากระไร ตรัสตอบว่า ควรเรียกได้ว่า ลมหังสนปริยาย ( เรื่องที่ทำให้ขนลุก)

(หมายเหตุ? มหาสหนาทสูตรนี้ สมเป็นการบันลือสีหนาทที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการเปล่งพระวาจาอย่างอาจหาญ เล่าความที่เคยทดทองปฏิบัติมาแล้วทุกอย่าง ตามที่เข้าใจกันว่า จะตรัสรู้ได้ แต่ก็ไม่สำเร็จการค้านข้อปฏิบัติของสมณพราหมณ์ครั้งนั้น จึงเป็นการค้านอย่างมีเหตุผลยิ่ง).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย