ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๒๗ . จูฬหัตถิปโทปมสูตร สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม.
ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ฟังปริพพาชกผู้นุ่งผ้าผ่อนท่อนเก่า สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๔ ข้อ ( จำแนกตามประเภทบุคคล ) คือ กษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี , ผู้เป็นบัณฑิตแต่งปัญหาเตรียมยกวาทะ พอได้พบปะชื่นชมด้วยธรรมกถา ก็เลยไม่ถาม เลยไม่ได้ยกวาทะ กลายมาเป็นสาวกของพระสมณโคดมไป และ สมณะ ผู้เป็นบัณฑิตก็เช่นกัน แต่งปัญหาเตรียยกวาทะ พอได้พบปะชื่นชมด้วยธรรมกถา ก็เลยไม่ถาม เลยไม่ได้ยกวาทะ ขอโอกาสออกบวช ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อยู่ในปัจจุบัน. สมณะเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า เมื่อก่อนไม่ได้เป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญญาตนว่าเป็น แต่บัดนี้เป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์ ( จริง ๆ แล้ว ) .
ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็เลื่อมใส ลงจากรถขาว เทียมด้วยม้าขาว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า เปล่งวาจานมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ( นโม ตสฺส ฯลฯ )
๒. ชาณุสโสณิพราหมณ์ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความที่ได้สดับจากปริพพาชกผู้นุ่งผ้าท่อนเก่านั้นทุกประการ. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ พรรณาถึงการที่พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก ทรงแสดงธรรมแล้ว คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีได้สดับธรรมออกบวช เว้นจากความชั่วต่าง ๆ มีศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะเสพเสนาสนะอันสงัด ชำระจิตจากนีวรณ์. ๕ บำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ , ได้ปุพเพนิวาสานุสสติฌาณ ( ญาณอันทำให้ระลึกชาติได้ ) , ได้จุตูปปาตญาณ ( ญาณเห็นความตาย ความเกิด หรือทิพยจักษุญาณก็เรียก ) , ได้อาสวักขยญาณ ( ญาณอันทำให้อาสวะคือกิเลสที่ดองสันดานให้สิ้น ) แต่ละขั้นที่บำเพ็ญมาตั้งแต่ได้ฌาณที่ ๑ จนถึงได้อาสวักขยญาณ ก็ยังไม่ปลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ , พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว , พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
ต่อเมื่อจิตพ้นจากอาสวะ และเกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ชาติสิ้นสุดแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงความเป็นอย่างนี้อีก ที่เทียบด้วยร่องรอยของตถาคต ธรรมะที่ตถาคตส้องเสพ และหักรานแล้ว.
จึงถึงความปลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ เป็นต้น เปรียบเหมือนคนที่เข้าไปสู่ป่าที่ช้างอยู่ เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ยาว กว้าง เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง ถ้าเป็นผู้ฉลาดก็ยังไม่ปลงใจทีเดียวว่า ช้างตัวนี้ใหญ่ เพราะมีช้างพัง ( ช้างตัวเมีย ) ชื่ออุจจากฬาริกา ที่มีรอยเท้าใหญ่ อาจเป็นรอยเท้าของช้างพังนั้นก็ได้ .
หรือเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ยาว กว้าง เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง เห็นรอยงาระเบื้องสูง ถ้าเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ปลงใจทีเดียวว่าช้างตัวนี้ใหญ่ เพราะมีช้างพังชื่ออุจจากเรณุกา ที่มีรอยเท้าใหญ่ อาจเป็นรอยเท้าของช้างพังนั้นก็ได้. ต่อเมื่อเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ยาว กว้าง เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง เห็นรอยงาระในเบื้องสูง และเห็นพญาช้างนั้นซึ่งกำลังไปสู่โคนไม้หรือกลางแจ้ง หรือยืน หรือเทา ( นั่ง ) หรือนอน เขาจึงปลงใจว่า นี้แหละคือช้างใหญ่ฉะนั้น.
ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม