ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๗ . วัตถูปมสูตร สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม .

ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคคติ เป็นหวังได้ เปรียบเหมือนผ้าที่เศร้าหมองมีมลทินจับ ช่างย้อมจะย้อมในน้ำสีใดก็ตาม ก็มีสีไม่ดี ไม่บริสุทธิ์.

เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นหวังได้ เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ช่างย้อมจะย้อมในน้ำสีใด ๆ ก็ตาม ก็มีสีดี บริสุทธิ์ . ทั้งนี้เพราะผ้าไม่บริสุทธิ์หรือบริสุทธิ์นั้นเอง.

๒. ครั้นแล้วทรงแสดงอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองจิต ) ๑๖ ประการ คือ

๑. โลภ
๒. พยาบาท
๓. โกรธ
๔. ผูกโกรธ
๕. ลบหลู่บุญคุณท่าน
๖. ตีเสอม
๗. ริษยา
๘. ตระหนี่
๙. ม ายา
๑๐. โอ้อวด
๑๑. กระด้าง
๑๒. แข่งดี
๑๓. ถือตัว
๑๔. ดูหมิ่น
๑๕. มัวเมา
๑๖. ประมาท.

๓ . ภิกษุผู้รู้ความจริงเกี่ยวกับอุปกิเลสแห่งจิต ๑๖ อย่างเหล่านี้เเล้ว ย่อมละอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านี้ ( แต่ละอย่าง ) เสียได้. เมื่อละได้แล้ว ก็มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะละกิเลสที่พึงละด้วยมรรคเบื้องต่ำได้ ( โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค และอนาคามิมรรค ) จึงได้ความรู้อรรถ รู้ด้วยธรรมว่า ตนคิดความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ .

ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เกิดปีติ มีกายอันสงบระงับ ได้เสวยสุข มีจิตตั้งมั่น.

ภิกษุมีศีล มีธรรม มีปัญญาอย่างนี้ ฉันบิณฑบาตข้าวสาลีมีแกงและกับมากมาย ก็ไม่มีอันตราย เป็นผู้เปรียบเหมือนผ้าอันบริสุทธิ์หรือทองเงินอันบริสุทธิ์.

๔. เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา , กรุณา , มุทิตา, อุเบกขา แผ่ไป ๔ ทิศ รวมทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในที่ทั้งปวง รู้อริยสัจจ์ ๔ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลัดพ้นจากอาสวะ เมื่อหลุดพ้นก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก.

ภิกษุนี้ชื่อว่าอาบน้ำแล้วด้วยการอาบน้ำภายใน.

๕. สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ นั่งอยู่ไม่ไกล จึงชวนพระผู้มีพระภาคไปสู่แม่น้ำพาหุกา เพื่อสนานกาย เมื่อตรัสถามเหตุผล พราหมณ์จึงกราบทูลว่า เพราะแม่น้ำนี้ชนเป็นอันมากถือกันว่าเป็นบุญลอยบาปที่ทำไว้แล้วได้. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอธิบายว่า แม่น้ำต่าง ๆ ที่มีชื่อนั้นไม่ทำให้คนพาลบริสุทธิ์ได้ .

แต่ถ้าไม่ทำชั่วก็ไปสู่แม่น้ำคยาทำไม แม้น้ำดื่มก็เป็นแม่น้ำคยา อยู่แล้ว .

สุนทริกทวาบวชพราหมณ์เลื่อมใสทูลขอบวช เมื่อบวชแล้วไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย