ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔๘ . โกสัมพิยสูตร สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆมิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีร้าวฉานทะเลาะวิวาทกัน ใช้วาจาทิ่มแทงกัน ไม่ ( สามารถ ) ทำความเข้าใจกันได้.

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน ตรัสสอบถาม เธอทั้งหลายรับว่าทะเลาะวิวาทกันจริง . จึงตรัสถามว่า ในสมัยที่ทะเลาะวิวาทกันนั้น เธอได้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับบ้างหรือเปล่า. เมื่อกราบทูลว่า เปล่า พวกเธอรู้อะไรเห็นอะไรจึงทะเลาะวิวาทกัน ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน.

๒. ต่อไปได้ตรัสถึงสาราณิยธรรม ( ธรรมอันทำให้ระลึกถึงกัน ) ๖ ประการ คือ

๑. ตั้วกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับ
๔. แบ่งปันลาภแก่เพื่อนพรหมจารี.
๕. มีศีลอันดีเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี
๖ . มีทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี.

ธรรมทั้งหกอย่างนี้ทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รักเป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ในธรรม ๖ อย่างนี้ ข้อที่เป็นยอด คือทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้.

๓. ครั้นแล้วได้ทรงไขความของทิฏฐิอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้ โดยชี้ไปถึงฌานที่ ๒ ถึงญาณที่ ๗ อันเป็นโลกกุตตระ ( ข้ามโลก ) ไม่ทั่วไปแก่บุถุชนทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่าเป็นองค์ ๗ ที่ทำให้ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ ประกอบด้วยโสดาปัตติผล . ญาณทั้งเจ็ดมีดังนี้?-

ญาณที่ ๑ ภิกษุไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาว่า ปริยฏฐานะ (กิเลสที่ครอบงำจิต ) ในภายใน ที่เป็นเหตุให้รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง ที่ยังละไม่ได้ มีอยู่หรือไม่ คือถ้าภิกษุถูกความกำหนัดในกาม ( กามราคะ ) , ความพยาบาท, ความหดหู่ง่วงงุน , ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ , ความลังเลสงสัย , ความคิดที่เวียนอยู่ในโลกนี้ ( อธิโลกจินฺตา ) การทะเลาะวิวาท , ครอบงำจิต แล้วมารู้ว่าปริยุฏฐานะที่ยังละไม่ได้ไม่มี จิตของเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจธรรม. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๑ อันเป็นอริยะ เป็นโลกตตระ เป็นอสาธารณะแก่บุถุชนทั้งหลาย.

ญาณที่๒ อริยสาวกพิจรณาว่า เราส้องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้หรือเปล่า ซึ่งเราจะได้ความสงบระงับ ได้ความดับเย็น ( นิพพุติ ) เฉพาะตน. เธอรู้ว่า ส้องเสพ เจริญ ทำให้มากทิฏฐินี้. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๒ ฯ ล ฯ .

ญาณที่๓ อริยสาวกพิจารณาว่า มีสมณพราหมณ์อื่นในภายนอกศาสนานี้ที่ประกอบด้วยทิฏฐิอย่างที่เรามีหรือไม่หนอ . เธอรู้ว่า ไม่มี. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๓ ฯ ล ฯ .

ญาณที่๔ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมดาชนิดนั้นหรือไม่ ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือต้องอาบัติ ก็แสดงเปิดเผย ทำให้ปรากฏในศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้โดยพลัน แล้วสำรวมระวังต่อไป. เธอประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๔ ฯ ล ฯ .

ญาณที่๕ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมชนิดนั้นหรือไม่. ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือขวนขวายในกิจน้อยใหญ่ของเพื่อนพรหมจารี การเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า เพื่อการศึกษาอธิษศีล , อธิจิต , อธิปัญญา ( ศีล สมาธิ ปัญญาอันยิ่ง ). เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๕ ฯ ล ฯ.

ญาณที่๖ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังนิดนั้นหรือไม่ . ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือเมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมตั้งใจเงี่ยโสตสดับธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๖ ฯ ล ฯ.

ญาณที่๗ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังชนิดนั้นหรือไม่. ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือเมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมได้ความรู้อรรถ ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๗ ฯ ล ฯ.

ตรัสสรุปว่า ธรรมดาของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ เป็นอันสอบสวนด้วยดี เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลอย่างนี้. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย