ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๒๖ . ปสราสิสูตร สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ แสดงการแสวงหาว่ามี ๒ อย่าง คือการแสดงหาไม่ประเสริฐ กับการแสวงหาอันประเสริฐ.
๑ . การแสวงหาไม่ประเสริฐ คือแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด , ความแก่ , ความตาย , ความโศก , ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ส่วนการแสวงหาอันประเสริฐ คือแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา.
๒. ตรัสเล่าเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ว่า ทรงมีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา แต่ก็หาแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา จึงทรงพระดำริที่จะทรงแสวงหาพระนิพพาน.
๓. ตรัสเล่าเรื่องที่เสด็จออกผนวช เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม เสด็จไปศึกษาในสำนักของอาฬารดาบสกาลามโครต ทรงศึกษาปฏิบัติสมาบัติชื่ออากิญจัญญาตนะ ( นับเป็นสมาบัติที่ ๗ ซึ่งเพ่งอารมณ์เห็นว่าไม่มีอะไร ) เมื่อทรงเห็นว่ามิใช่ทางพระนิพพาน จึงเสด็จออกจากสำนักนั้น ไปศึกษาในสำนักของอุททกดาบสรามบุตร ทรงศึกษาปฏิบัติสมาบัติเนวสัญญายตนะ ( นับเป็นสมาบัติที่ ๘ ที่ละเอียดถึงขนาดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ) ซึ่งก็ทรงเห็นว่ายังมิใช่ทางพระนิพพาน.
๔. จึงเสด็จไปสู่ตำบนอุรุเวลาเสนานิคม ทรงทำความเพียรจนได้ค้นพบพระนิพพาน และเห็นธรรมะนี่ลุ่มลึก จึงคิดจะไม่ทรงแสดงธรรม ต่อท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนา จึงทรงตกลงพระหฤทัยจะแสดงธรรม.
๕. ครั้งแรกทรงคิดถึงดาบสทั้งสองที่เคยทรงศึกษาด้วย แต่ทรงทราบว่าตายเสียแล้ว จึงทรงรำลึกถึงพระปัญจวัคคีย์ ( ภิกษุ ๕ รูป ) ซึ่งเคยรับใช้พระองค์มาในระหว่างทรงทำความเพียร ในระหว่างที่เสด็จไปสู่กรุงพาราณสีได้ทรงพบอุปกาชีวก แต่อุปกาชีวกไม่เลื่อมใสที่ทรงตอบคำถามว่า ทรงตรัสรู้ได้เอง จึงหลีกไป ครั้นแล้วได้แสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์เมื่อเสด็จไปที่พักของเธอ.
๖. ใจความในพระธรรมเทศนา ( เป็นเชิงเตือนใจก่อนแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ) ว่า กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ ทำให้สมณพราหมณ์ผู้ติดอยู่ถึงความพินาศเหมือนเนื้อติดบ่วง.
๗. ทรงแสดงข้อปฏิบัติ ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ รวม ๙ ข้อ เหมือนในนิวาปสูตรว่า ไม่ไปสู่ทางของมาร.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม