ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๓๕ . จูฬสัจจกสูตร สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอดในป่าใหญ่ ใกล้กรุงเวสาลี ( แคว้นวัชชี ) ในสมัยนั้นสัจจกนิครนถ์ก็อาศัยอยู่ในกรุงเวลาลี เป็นผู้ชอบโต้เถียง ยกตนว่าฉลาด ชนหมู่ใหญ่ยกย่องว่าดี .

สัจจนิครนถ์พูดในที่ประชุมชนกรุงเวสาลีว่า ไม่เห็นใครแม้ที่จะปฏิญญาตนว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ที่ตนโต้ตอบด้วยแล้วจะไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้ตนจะโต้ตอบกับต้นเสา ต้นเสาก็ยังหวั่นไหว.

๒ สัจจกนิครนถ์พบพระอัสสชิเถระ เช้าวันหนึ่ง จึงเข้าไปหาปราศรัยแล้วถามว่า พระสมณโคดมและนำสาวกอย่างไร คำสอนส่วนใหญ่คืออะไร พระอัสสชิตอบว่า ทรงสอนว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน. สัจจกนิครนถ์ก็กล่าวว่า ท่านฟังมาไม่ดีแล้ว ที่ได้ฟังพระสมณโคดมผู้มีวาทะอย่างนี้ ตนพบพระสมณโคดมคราวใดคราวหนึ่งก็จะถ่ายถอนเสียจากความเห็นอันชั่วนี้ให้ได้ สัจจกนิครนถ์จึงเข้าไปยังที่ประชุมชนของเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ เล่าความที่โต้ตอบกับพระอัสสชิให้ฟัง และอวดอ้างว่าจะฟัดฟาดพระสมณโคดมเสียด้วยวาทะเหมือนดึงขนแกะเล่น เป็นต้น.

๓. สัจจกนิครนถ์จึงพร้อมด้วยเจ้าลิจฉวี ๕๐๐ ไปยังศาลาเรือนยอดป่ามหาวัน เมื่อพบพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวขอโอกาสเพื่อให้ตอบปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ถามได้ ก็ถามว่า ทรงแนะนำสาวกอย่างไร คำสอนส่วนใหญ่คืออะไร ตรัสตอบอย่างที่พระอัสสชิเถระตอบ. สัจจกนิครนถ์แย้งว่า พืชพันธุ์ไม้และคนสัตว์อาศัยแผ่นดินฉันใด คนเราก็อาศัยรูปเวทนา เป็นต้น ได้ประสบบุญและมิใช่บุญ ( เท่ากับว่า ถ้าปฏิเสธขันธ์ ๕ ว่าเป็นอัตตาเสียแล้ว ก็คล้ายกับไม่มีมูลฐาน เหมือนคน สัตว์ ต้นไม้ เมื่อไม่ดินก็ไม่มีที่ตั้ง ).

๔. ตรัสย้อนถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นตนของท่านใช่ไหม. สัจจกนิครนถ์ตอบว่า ใช่ ประชุมชนใหญ่นี้ก็ว่าอย่างนั้น. ตรัสตอบว่า ประชุมชนใหญ่นี้จะทำอะไร ท่านจงแก้วาทะของตนเองเถิด สัจจกนิครนถ์ จึงยืนยันว่า ข้าพเจ้ากล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นตนของข้าพเจ้า.

๕. ตรัสถามว่า กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก มีอำนาจต่าง ๆ ในแว่นแคว้นของพระองค์ เช่น การฆ่า การริบทรัพย์ การเนรเทศใช่หรือไม่ ทูลรับว่า ใช่ . ตรัสถามว่า ท่านกล่าวว่า รูป ( ส่วนหนึ่งใน ๕ ส่วนของขันธ์ ๕ ) เป็นตัวตนของท่าน ท่านจะมีอานาจในรูปนั้นว่า จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าเป็นอย่างนั้นเลยได้หรือไม่. สัจจกนิครนถ์นิ่ง ตรัสถามย้ำถึง ๓ ครั้งก็นิ่ง ในที่สุดก็ยอมรับว่าไม่มีอำนาจให้รูปเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. จึงตรัสถามไปทีละข้อจนถึงวิญญาณ ซึ่งสัจจกนิครนถ์ก็ยอมรับว่าไม่มีอำนาจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เช่นเดียวกันทุกข้อ.

๖. ตรัสถามว่า ขันธ์ ๕ เที่ยงหรือไม่เที่ยง . ตอบว่า ไม่เที่ยง . ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่นนั้นเป็นทุกข์หรือสุข. ตอบว่า เป็นทุกข์. ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรหรือที่จาตามเห็นว่า นั้นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา ตอบว่า ไม่ควร. ตรัสถามว่า ผู้ใดติดทุกข์ ยึดทุกข์ ตามเห็นว่า ทุกข์นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ หรือทุกข์ให้สิ้นไปหรือไม่. ตอบว่า ไม่ได้. ตรัสถามว่า ท่านติดทุกข์ ยึดทุกข์ ตามเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นของเรา เป็นตนใช่หรือไม่ สัจจกนิครนถ์ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น.

๗. ตรัสเปรียบว่า คนที่ต้องการแก่นไม้ แต่ไปตัดต้นกล้วย จึงไม่ได้แม้แต้กระพี้ไม้ จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแก่น ตัวท่านที่อวดตนในเรื่องการโต้ตอบว่า ผู้ที่พูดกับท่านจะต้องหวั่นไหว เหงื่อแตก แม้แต่เสาก็หวั่นไหว บัดนี้เหงื่อของท่านไหลเอง ตถาคตไม่มีเหงื่อไหลเลย สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเก้อเขิน. บุตรเจ้าลิจฉวีชื่อทุมมุขะ ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงสัจจกนิครนถ์ว่าเหมือนปูถูกหักก้าม สัจจกนิครนถ์ก็ว่าบุตรเจ้าลิจฉวีว่าเป็นเรื่องของการสนทนาระหว่างพระสนณโคดมกับตน ( คนอื่นไม่ควรเกี่ยว).

๘. แล้วสัจจกนิครนถ์จึงทูลถามว่า สาวกของพระองค์จะข้ามความสงสัย ไม่ต้องพึงผู้อื่น ( ในเรื่องความเชื่อ ) ด้วยเหตุเพียงเท่าไร. ตรัสตอบว่า สาวกนั้นเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ทุกชนิด ไม่เป็นของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา. ทูลถามว่า ภิกษุจะเป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยเหตุเพียงเท่าไร ก็ตรัสตอบอย่างเดียวกับตอนแรก คือไม่ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นของเรา เป็นต้น แล้วตรัสสรุปว่า ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยอนุตตริยะ ( สิ่งยอดเยี่ยม ) ๓ ประการ คือ ทัสสนานุตตริยะ ( ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม ) ปฏิปทานุตตริยะ ( ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม ) วิมุตตานุตตริยะ ( ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม ) ย่อมเคารพบูชาตถาคตว่า ตรัสรู้ , ฝึกพระองค์ , ข้ามพ้น, ดับเย็น ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้อื่นเป็นเช่นนั้น.

๙. สัจจกนิครนถ์กราบทูลยอมรับว่าตนผิด และนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหาร ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ทรงรับนิมนต์และเสด็จไปฉัน ณ อารามของนิครนถ์นั้นในวันรุ่งขึ้น.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย