ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๘ . สัลเลขสูตร สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้า กราบทูลถามปัญหาเรื่องการละ การสละทิฏฐิที่ประกอบด้วยอัตตวาทะ ( วาทะเกี่ยวกับตน ) โลกวาทะ ( วาทะเกี่ยวกับโลก ).

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า ทิฏฐินั้น ๆ ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั้น นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็จะละสละทิฏฐิเหล่านั้นได้.

๒. ตรัสต่อไปว่า ภิกษุเข้ารูปฌาน ( ฌานมีรูปเป็นอารมณ์ ) ทั้งสี่แต่ละอย่าง แล้วนึกว่าเราอยู่ด้วยการขัดเกลาดังนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นการขัดเกลาในอริยวินัย เรียกได้ว่าธรรมะเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.

๓. แล้วตรัสว่า ภิกษุเข้าอรูปฌาน ( ฌานมีสิ่งมิใช่รูปเป็นอารมณ์ ) แล้วนึกว่าเราอยู่ด้วยการขัดเกลาดังนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นการขัดเกลาในอริยวินัย เรียกได้แต่ว่าธรรมะเป็นเครื่องอยู่อันเป็นสงบระงับ.

๔. ตรัสสอนให้ทำการขัดเกลาว่า คนอื่นเขาทำความชั่ว เราจักทำความดี ( ทรงแสดงการเบียดเบียนและอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด , มิจฉัตตะ ๑๐ (ความผิด ( มีความเห็นผิด เป็นต้น มีความหลุดพ้นผิดเป็นที่สุด และทรงแสดงโทษอื่น ๆ อีก เช่น อุปกิเลส เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกันข้ามเป็นฝ่ายดี รวมฝ่ายละ ๔๔ ข้อ ).

๕. ตรัสสอนว่า เพียงแต่คิดในการกุศลธรรม ก็ยังมีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการลงมือทำด้วยกายและวาจา .

ฉะนั้น จึงควรคิดว่า คนอื่นเขาเบียดเบียน เราจักไม่เบียดเบียน เป็นต้น.

๖. ตรัสว่า เปรียบเหมือนพึงมีทางเรียบอีกทางหนึ่ง เพื่อเลี่ยงทางไม่เรียบ พึงมีท่าน้ำที่เรียบอีกท่าหนึ่ง เพื่อเลี่ยงท่าน้ำที่ไม่เรียบ. การทำความดี เช่น การไม่เบียดเบียน ก็เพื่อเลี่ยงความชั่ว เช่น การเบียดเบียน.

๗. อกุศลธรรมทั้งหมดมีการเบียดเบียน เป็นต้น มีความตกต่ำเป็นที่ไป กุศลธรรมทั้งหมด เป็นต้น มีความสูงขึ้นเป็นที่ไป.

๘. ตรัสว่า คนที่จม (ลงไปในหล่ม ) จะอุ้มคนที่จม ( ลงไปในหล่มด้วยกัน ) ขึ้นมาได้นั้น มิใช่ฐานะที่มีได้ คนที่ไม่จมจึงอุ้มคนที่จมขึ้นมาได้. คนที่ไม่ฝึก ไม่หัด ไม่ดับเย็นด้วยตนเอง จะฝึก จะหัด จะทำใหคนอื่นดับเย็น มิใช่ฐานะที่มีได้ คนที่ฝึกหัดดับเย็นด้วยตนเอง จึงฝึกหัดให้คนอื่นดับเย็นได้. และทรงแจกรายละเอียดว่า ความไม่เบียดเบียนจึงเป็นไปเพื่อดับเย็น ( ปรินิพพาน ) ของผู้เบียดเบียน เป็นต้น.

(หมายเหตุ? คำสรุปท้ายพระสูตรนี้ คือบท ๔๔ สนธิ ๕ เรียกว่าสัลเลขสูตร ลึกซึ่งเหมือนสาคร. คำว่า บท ๔๔ คือความชั่ว ๔๔ อย่าง ตรงกันข้ามกับความดี ๔๔ อย่าง สนธิ ๕ คือที่ต่อ ๕ แห่ง ได้แก่เงื่อนไข ๕ ประการ พึงนับจากที่ย่อไว้ในข้อ ๔ มาถึงข้อ ๘ ก็จะเห็นเงื่อนไขหรือสนธิ ๕ ).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย