ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๑๓ . มหาทุกขักขันธสูตร สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องที่นักบวชศาสนาอื่นกล่าวว่า พระสมณโคดมและพวกเขาบัญญัติข้อที่ควรกำหนดรู้เกี่ยวกับกาม ( ความใคร่และสิ่งที่น่าใคร่ ) รูป ( ธาตุทั้งสี่ ประชุมกันเป็นกาย ) และเวทนา ( ความรู้สึกเป็นสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ) เหมือน ๆ กัน ไม่มีอะไรต่างกัน.

ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายลองนย้อนถามดูว่า อะไรคือความพอใจ ( อัสสาทะ ) , โทษ ( อาทีนวะ ), การพ้นไป ( นิสสรณะ? แล่นออก ) ของกาม , รูป และเวทนา ซึ่งนักบวชลัทธิอื่นจะตอบไม่ได้ และมีความอึดอัดยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะมิใช่ปัญหาในวิสัย . ทรงยืนยันว่า ไม่มีใครตอบปัญหานี้ได้เป็นที่พอใจ เว้นไว้แต่ตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ฟังจากศาสนานี้.

๓. ทรงแสดงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ ว่าเป็น ความพอใจ ( อัสสาทะ ) ของกาม ? ทรงแสดงการต้องประกอบอาชีพต่าง ๆ ลำบากตรากตรำ หนาวร้อน หิวกระหาย เป็นต้น , การที่เพียรพยายาม แต่ไม่ได้ผล ต้องเศร้าโศกเสียใจ, เมื่อได้ผลแล้วก็ต้องทุกข์กายทุกข์ใจ เนื่องด้วยการอารักขา ( สินทรัพย์ที่เกิดขึ้น ) เพื่อมิให้เป็นอันตราย , เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นก็เศร้าโศกเสียใจ , ทะเลาะวิวาทกับคนทั้งหลาย แล้วทำร่างกายกัน , ใช้อาวุธทำสงครามฆ่าฟันกัน , ก่อสร้างป้อม , ถูกลงโทษทรมานต่าง ๆ เพราะทำความผิด เช่น ตัดช่อง, ปล้นสะดม เป็นต้น , ที่มีกามเป็นเหตุว่า แต่ละอย่างเหล่านี้ เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ที่เห็นทันตา . เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย , ทุคคติ , วินิบาต , นรก เพราะประพฤติทุจจริตทางกายวาจาใจที่มีกามเป็นเหตุ เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ในอนาคต . ทรงแสดงการนำความพอใจความกำหนัดยินดีในกามออกเสียว่า เป็นการพ้นไปจากกาม . สมณะพราหมณ์ที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงที่กำหนดรู้กามด้วยตนเอง หรือชักชวนผู้อื่นเพื่อกำหนดรู้ ซึ่งผู้อื่นปฏิบัติตามแล้ว จักกำหนดรู้กาม ย่อมเป็นไปไม่ได้. ต่อเมื่อรู้ตามความจริง จึงกำหนดรู้กามด้วยตนเองหรือชักชวนผู้อื่นให้กำหนดรู้ได้.

๔. ทรงแสดงความสุขกายสุขใจ เพราะมีผิวพรรณงดงามว่าเป็นความความยินดีแห่งรูป? ทรงแสดงความแก่เฒ่า หลังโกง ฟันหัก ผมหงอก เป็นต้น จนถึงตายถูกทอดทิ้งในป่าช้า มีกระดูกสีขาว ว่าเป็นโทษของรูป ? ทรงแสดงการนำความพอใจ ความกำหนัดยินดีในรูปออกเสียว่าเป็นการพ้นไปจากรูป . แล้วตรัสเรื่องสมณพราหมณ์ที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริง และที่รู้เรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงเหมือนเรื่องกาม ในข้อ ๓ ).

๕. ทรงแสดงการเข้าฌานที่สี่ ทีละข้อในสมัยที่เข้าฌานนั้น ๆ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตน เบียดเบียนคนอื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีการเบียดเบียนว่าเป็นความยินดีแห่งเวทนา ? ทรงแสดงเวทนาที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ว่าเป็นโทษของเวทนา ? แล้วทรงแสดงการนำความพอใจ ความกำหนัดยินดีในเวทนาออกเสียว่า เป็นการพ้นไปจากเวทนาและสมณพราหมณ์ผู้ไม่รู้ตามเป็นจริงและรู้ตามเป็นจริงเกี่ยวกับเวทนา เช่นเดียวกับเรื่องกาม ( ในข้อ ๓ ).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย