ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔๖ . มหาธัมมสมาทานสูตร สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ สูตรใหญ่

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม .

ตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลายมีความใคร่ ความพอใจ ความประสงค์ ให้สิ่งที่ม่งปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจเสื่อมไป ให้สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจเจริญยิ่ง แต่ทั้งที่ประสงค์อย่างนั้น สิ่งที่ไม่ปรารถนา เป็นต้นก็เจริญยิ่ง สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นต้น ก็เสื่อมไป ทั้งนี้เพราะอะไร .

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลขอให้พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเอง.

๒. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่รู้ธรรมที่ควรเสพไม่ควรเสพ ควรคบไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จึงเสพธรรมที่ไม่ควรเพส ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ.

คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น จึงเจริญยิ่ง สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นต้น จึงเสื่อมไป.

ทั้งนี้เพราะการทำเช่นนั้น เป็นการกระทำของผู้ไม่รู้ ( ผู้ไม่ฉลาด ).

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้และทำในทางที่ตรงกันข้ามจึงได้รับผลดี เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการกระทำของผู้รู้ ( ผู้ฉลาด ).

๓. ตรัสถึงการสมาทานธรรมมะ ๔ อย่าง ดั่งในสูตรก่อน เป็นแต่เรียงลำดับใหม่ดังนี้

๑. มีทุกข์ ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๒. มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๓. มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๔. มีสุกใสในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป.

๔. ตรัสอธิบาย ในตอนแรกโดยชี้ความสำคัญไปที่ความไม่รู้หรือความรู้ ถ้าไม่รู้การสมาทานธรรมะทั้งสี่อย่างตามเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้เสพสิ่งนั้น ไม่เว้นสิ่งนั้น ( ในทางที่ผิด ) ทำให้ธรรมะที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจเจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเสื่อมไป แล้วทรงแสดงว่า ถ้ารู้การสมาทานธรรมะทั้งสี่อย่างตามเป็นจริง ก็จะเป็นเหตุให้ไม่เสพสิ่งนั้น ( อันเป็นทางถูก ) ทำให้ธรรมะที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมะที่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น.

๕. ตรัสอธิบายถึงการสมาทานธรรมะทั้งสี่ข้อ ทีละข้ออีก โดยชี้ว่า

๑. การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิกบากต่อไป คือประพฤติชั่ว ( อกุศลกรรมบถ ๑๐ ) อย่างมีทุกข์ ( ไม่สบายกาย ) มีโทมนัส ( ไม่สายใจ ) เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.

๒. การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป คือประพฤติชั่วอย่างมีสุข ( สบายกาย ) มีโสมนัส ( สบายใจ ) เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบายเป็นต้น.

๓. การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีความสุขเป็นวิบากต่อไป คือเว้นจากความชั่วอย่างมีทุกข์โทมนัส เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์

๔. การสมาทานธรรมะที่มีความสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป คือเว้นจากความชั่วอย่างมีความสุขโสมนัส เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์.

๖. ตรัสเปรียบข้อแรกด้วยกระโหลกน้ำเต้าขมที่ระคนยาพิษ ดื่มแล้วทำให้ตายหรือปางตาย ; ข้อที่ ๒ ด้วยขันน้ำดื่มทำด้วยสำริด มีสีกลิ่นดี แต่ระคนยาพิษ ดื่มแล้วทำให้ตายหรือปางตาย ; ข้อที่ ๓ ด้วยน้ำมูตรเน่าผสมด้วยยาต่าง ๆ คนเป็นโรคผมเหลืองดื่มแล้วทำให้เป็นสุขได้ ; ข้อที่ ๔ ด้วยนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส น้ำอ้อย ระคนเข้าด้วยกัน คนเป็นโรคลงโลหิตดื่มแล้งเป็นสุขได้.

๗. ตรัสสรุปในที่สุดว่า การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป ย่อมรุ่งเรืองรุ่งโรจน์เหนือสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอื่นเป็นอันมาก เหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสารทในเดือนท้ายพรรษา เมื่อหมดฝนรุ่งเรืองรุ่งโรจน์เหนือความมืดทั้งปวงที่มีอยู่ในอากาศฉะนั้น.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย