ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
(ทางแห่งความแตกฉาน)
พระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นภาษิตของพระสาริบุตร อธิบายศัพท์ธรรมะต่าง ๆ อย่างวิจิตรพิสดาร วิธีการอธิบาย คือถ้ามีพระพุทธภาษิตว่าด้วยเรื่องนั้น ก็นำมาตั้งไว้แล้วอธิบายขยายความอีกต่อหนึ่ง ถ้าไม่มีพระพุทธภาษิต อธิบายไว้โดยตรง ท่านผู้กล่าว ( คือพระสาริบุตร ) ก็ตั้งบทตั้งขึ้นเอง และอธิบายขยายความไปตามบทตั้งละเอียดต่อไป มีบาง ครั้งก็ตั้งภาษิตของพระอานนท์เป็นหัวข้อแล้วแจกอธิบายในภายหลัง.
เนื่องจากศัพท์ธรรมะที่เป็นบทตั้งในการอธิบายมีอยู่ ๓๐ ศัพท์ หรือ ๓๐ ข้อ จึงแบ่งเป็นวรรค ได้ ๓ วรรค ๆ ละ ๑๐ ข้อ คือ :-
วรรคที่ ๑ ชื่อมหาวรรค แปลว่า หมวดใหญ่ มี ๑๐ เรื่อง คือ :-
๑. ญาณะ ( ความรู้ )
๒. ทิฏฐิ ( ความเห็น )
๓. อานาปานะ ( ลมหายใจเข้าออก )
๔. อินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ ของตน )
๕. วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น )
๖. คติ ( ที่ไปหรือทางไป )
๗. กัมมะ ( การกระทำ )
๘. วิปัลลาสะ ( ความคลาด เคลื่อนวิปริต )
๙. มัคคะ ( หนทาง )
๑๐. มัณฑเปยยะ ( ของใส่ที่ควรดื่ม เทียบด้วยคุณธรรม ).
วรรคที่ ๒ ชื่อยุคนัทธวรรค แปลว่า หมวดที่ขึ้นต้นด้วยธรรมที่เทียม คู่ คือธรรมที่แฝดกัน ได้แก่สมถะและวิปัสสนา มี ๑๐ เรื่อง คือ :-
๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ )
๑๒. สัจจะ ( ความจริง )
๑๓. โพชฌงค์ ( องค์แห่งการตรัสรู้ )
๑๔. เมตตา ( ไมตรีจิตคิดให้เป็นสุข )
๑๕. วิราคะ ( ความคลายกำหนัด )
๑๖. ปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน )
๑๗. ธัมมจักกะ ( ล้อรถคือพระธรรม )
๑๘. โลกุตตระ ( ธรรมที่ข้ามพ้นจากโลก )
๑๙. พละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง )
๒๐. สุญญะ ( ความว่างเปล่า ).
วรรคที่ ๓ ชื่อปัญญาวรรค แปลว่า หมวดที่ขึ้นต้นด้วยปัญญา มี ๑๐ เรื่อง คือ :-
๒๑. มหาปัญญา ( ปัญญาใหญ่ )
๒๒. อิทธิ ( ฤทธิ์หรือความสำเร็จ )
๒๓. อภิสมัย ( การตรัสรู้ )
๒๔. วิเวก ( ความสงัด )
๒๕. จริยา ( ความประพฤติ )
๒๖. ปาฏิหาริยะ ( ปาฏิหาริย์ = นำกิเลสไปเสีย )
๒๗. สมสีสะ ( สิ่งที่สงบและสิ่ง ที่มีศีรษะ )
๒๘. สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ )
๒๙. วัปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง )
๓๐. มาติกา ( แม่บท).
- คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๑
- คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๒
- คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๓