ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

เล่มที่ ๑๕

ชื่อสังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ท่านผู้อ่านได้ทราบมาแล้วว่า พระสุตตันตปิฎก เท่าที่ย่อมาแล้วมี ๖ เล่ม เป็นหมวดยาว คือ ทีฑนิกาย ๓ เล่ม เป็นหมวดขนาดกลาง คือมัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม .

พระสุตตันตปิฎก เริ่มแต่เล่มที่ ๙ เมื่อจบมัชฌิมนิกายจึงถึงเล่มที่ ๑๔ . บัดนี้มาถึงสังยุตตนิกาย ซึ่งเป็นหมวดประมวลเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่เริ่มแต่เล่มที่ ๑๕ ถึงเล่มที่ ๑๙ รวม ๕ เล่ม.

เมื่อมาถึงหมวดประมวลหรือสังยุตตนิกายนี้ ผู้เขียนมีความเสียใจที่จะต้องย่ออย่างสั้นที่สุด เพื่อให้สามารถย่อเล่มที่ ๒๐ ถึงเล่มที่ ๔๕ รวม ๒๖ เล่ม ให้รวบรัดได้ลงใน ๒ เล่มที่ยังค้างอยู่ แต่การย่อสังยุตตนิกายอย่างสั้นที่สุดนี้ ก็เป็นโอกาสดีอย่างหนึ่ง คือในการพิมพ์ครั้งต่อไป ก็อาจจะย่อเพิ่มเป็นอีกเล่ม ๑ ต่างหาก สำหรับสังยุตตนิกายโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องสุดแต่ความเหมาะสม.

สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม แบ่งออกเป็น

เล่มที่ ๑๕ ชื่อสุงยุตตนิกาย สคาถวรรค หมายความว่าทุกสูตรในเล่มนี้ ( ซึ่งมีถึง ๒๗๑ สูตร ) เป็นสูตรที่มี “ คาถา ” หรือคำสอน อันเป็น “ บทกวี ” คำว่าสคาถวรรค วรรคที่มีคาถา จึงเป็นชื่อของเล่มที่ ๑๕ นี้.

เล่มที่ ๑๖ ชื่อสังยุตตนิกาย นิทานวรรค คำว่า นิทานวรรค แปลว่า วรรคว่าด้วยต้นเหตุ คืออธิบายถึงธรรมะที่เป็นเหตุปัจจัยของความเวียนว่ายตายเกิด ที่เรียกว่าปฏิจจสมุปปบาท.

เล่มที่ ๑๗ ชื่อสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค คำว่า ขันธวารวรรค แปลว่า วรรคว่าด้วยวาระที่กล่าวถึงขันธ์ คือกองรูป กองนาม หมายความว่า ร่างกายจิตใจของคนเราแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เป็นส่วนรูปธรรมกองหนึ่ง เป็นส่วนจิตใจหรือนามธรรมอีกกองหนึ่ง.

เล่มที่ ๑๘ ชื่อสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คำว่า สฬายตนวรรค แปลว่า วรรคว่าด้วยอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอันรวมกล่าวเรื่องตา หู เป็นต้น ในเล่มที่ ๑๘ นี้ทั้งเล่ม.

ส่วนเล่มที่ ๑๙ ชื่อมหาวรรค คำว่า มหาวรรค เปลว่า วรรคว่าด้วยวาระใหญ่ หมายความว่า ธรรมะเรื่องสำคัญ ๆ เช่น มรรค, โพชฌงค์, อินทรีย์ เป็นต้น ได้นำมากล่าวไว้ในเล่ม ๑๙ นี้ทั้งสั้น.

มีข้อที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่าในแต่ละเล่มของ ๕ เล่มนี้ ซึ่งเรียกว่าวรรค ( ใหญ่ ) แต่ละวรรคประจำเล่มแล้ว ยังแบ่งเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าสังยุตต์ แบ่งเป็นส่วนย่อย เรียกว่าวรรค ( โดยมากมีวรรคละ ๑๐ สูตร ) หรือถ้าทำเป็นแผนผังวิธีแบ่งส่วน จะเห็นได้ดังนี้?-

- วรรค ( ใหญ่ ) รวมทั้งเล่มเป็น ๑ วรรคใหญ่
- สังยุตต์ ( รวมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
- วรรค ( เล็ก ) รวมสูตรประมาณ ๑๐ สูตรต่อ ๑ วรรค

เฉพาะเล่มที่ ๑๕ หรือสังยุตตนิกาย สคาวรรค แบ่งออกเป็น ๑๒ สังยุตต์ ดังต่อไปนี้?-

๑. เทวตาสังยุตต์

ประมวลเรื่องเทวดา ที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด ๘๑ สูตร แสดงคำถามของเทวดา คำตอบของพระพุทธเจ้า ที่เป็นคาถาหรือบทกวีทั้งคำถามคำตอบ.

๒. เทวปุตตสังยุตต์

ประมวลเรื่องเทพบุตรที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด ๓๐ สูตร แสดงคำของเทพบุตร คำตอบของพระพุทธเจ้า ที่เป็นคาถาหรือบทกวีทั้งคำถามคำตอบ.

๓. โกสลสังยุตต์

ประกอบเรื่องที่ตรัสโต้ตอบกับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีทั้งหมด ๒๕ สูตร.

๔. มารสังยุตต์

ประมวลเรื่องมารซึ่งไปปรากฏภายในลักษณะต่าง ๆ กัน บางครั้งได้มีการโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า บางครั้งมิได้พูด แต่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตในเมื่อทรงทราบว่าเป็นมาร ในสังยุตต์นี้มี ๒๕ สูตร.

๕. ภิกขุณีสังยุตต์

ประมวลเรื่องนางภิกษุณีแสดงถึงการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่นางภิกษุณีต่างรูป มี ๑๐ สูตร.

๖. พรหมสังยุตต์

ประมวลเรื่องพรหม แสดงการที่พระพรหมมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคตรัสภาษิตโต้ตอบ มี ๑๕ สูตร.

๗. พราหมณสังยุตต์

ประมวลเรื่องพราหมณ์ มีพราหมณ์ต่าง ๆ ตั้งปัญหาถามบ้าง กล่าววาจาก้าวร้าวบ้าง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสโต้ตอบเป็นภาษิตให้ได้เห็นธรรม มี ๒๒ สูตร ส่วนใหญ่ มีผลเป็น ๒ คือพรหามณ์ออกบวชเป็นพระอรหันต์ กับพราหมณ์เลื่อมใสปฏิญญาตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

๘. วังคีสสังยุต์

ประมวลเรื่องเกี่ยวกับพระสังคีสเถระมี ๑๒ สูตร.

๙. วนสังยุตต์

ประมวลเรื่องเกี่ยวกับป่า คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่พระเถระต่าง ๆ ที่อยู่ในป่า มี ๑๔ สูตร.

๑๐. ยักขสังยุตต์

ประมวลเรื่องยักษ์ ที่มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค และพระองค์ได้ตรัสโต้ตอบ มี ๑๒ สูตร.

๑๑. สักกสังยุตต์

ประมวลเรื่องท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์ ที่มาเฝ้า และพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม มี ๒๕ สูตร.

สาระสำคัญของคำสอนในเล่ม ๑๕ นี้ อยู่ที่ภาษิตสั้น ๆ จับใจ มากกว่าเรื่องที่จะให้ติดในเรื่องเทวดาหรือมาร พรหม. อนึ่ง จำนวนพระสูตรนี้ รวมแล้วได้ ๒๗๑ สูตร.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย