เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม

1) การแพร่กระจายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

Everette M. Rogers ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (social change) ว่า หมายถึง กระบวนการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ๆ ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา มีการแพร่กระจายออกไปและได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ จนกระทั่งมีการนำไปสู่ผลกระทบจริงๆ ต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว ความจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นผลกระทบจากธรรมชาติ ยกตัวอย่างการเกิดความแห้งแล้งหรือแผ่นดินไหว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมตามมาหลายอย่าง แต่การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของนวัตกรรมโดยปกติแล้วกระบวนการของนวัตกรรมของสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ คือ (สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, 2533 หน้า 97-98)

  1. การประดิษฐ์คิดค้น หมายถึง ตัวนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นเองหรือนำเข้ามาจากตางประเทศ สำหรับประเทศกำลังพัฒนามักมีข้อจำกัดทางด้านทุนและเทคโนโลยีภายในประเทศ ทำให้การประดิษฐ์คิดค้นมีลักษณะเป็นวิชาการประยุกต์ (applied) มากกว่าเป็นองค์ความรู้ (body of knowledge) และจะต้องมีการปรับนวัตกรรมนั้นให้สอดล้องกับสภาพสังคมให้มากที่สุด
  2. ผลของการรับนวัตกรรม การแพร่นวัตกรรมนั้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้นหรือไม่ ดังนั้นผลของนวัตกรรมจะควบคู่กับการประเมินเสมอ เช่น การประเมินว่าชาวบ้านยอมรับนวัตกรรมโดยสมัครใจหรือไม่ นวัตกรรมมีคุณค่าในสายตาชาวบ้านอย่างไร และผลกระทบที่เกิดจากนวัตกรรมนั้นมีมากน้อยเพียงใด

หลังจากที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสตวรรษที่ 18 การเศรษฐกิจ การทำมาหากินได้เปลี่ยนไป มีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ ประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมโดยนำเครื่องมือ เครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคนมากยิ่งขึ้น ด้วยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักรต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นได้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาของเครื่องคิดเลข ไปเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานและบ้าน และการพัฒนาในขั้นต่อไปก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถถาม-ตอบได้ เพื่อเอามาใช้ในระบบอุตสาหกรรม (ทอฟฟ์เลอร์ อัลวิน, 2532 หน้า 154)

ในด้านของสังคมการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นก็เป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคม เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตเป็นระบบอุตสาหกรรมได้ทำให้คนในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น เวลาจึงเป็นสิ่งมีค่าสำหรับทุกคน เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นเพี่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องล้างจาน เตาไมโครเวฟ ระบบเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ โทรศัพท์ ฯลฯ อันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับทุกคน

นอกจากนั้น ระบบการสื่อสารของมนุษย์เราจะเริ่มขยายเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร แต่เป็นลักษณะการสื่อสารแบบไม่ต้องพบตัว นับแต่โทรศัพท์จนไปถึงโทรศัพท์แบบเห็นภาพ ซึ่งมีผลดีในเรื่องการประหยัดเวลาการเดินทางในการพบปะกัน แต่มีผลในทางลบ ในการแยกตัวเองเป็นเอกเทศของมนุษย์ เกิดสังคมแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น

ดังจะเห็นได้จากสังคมในยุคปัจจุบันที่เป็นสังคมที่ต้องการข่าวสารข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ นับแต่การเลือกซื้อสินค้า บริการ จนถึงการบริหารกิจการงานต่างๆ เทคโนโลยีการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย