เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
ผู้บริหารองค์การทางการศึกษามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานสาขาต่าง ๆ หลายด้าน เช่น
งานด้านงบประมาณและการเงิน งานบุคลากร งานอาคารสถานที่
งานโปรแกรมการศึกษาและงานนิสิตนักศึกษา เป็นต้น งานเหล่านี้ยังแบ่งเป็นระบบงานย่อย
ๆ อีกมากมาย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศหรือข่าวสารข้อมูลที่ดี กล่าวคือ
เป็นข้อมูลที่ทันต่อเวลาและการใช้ประโยชน์ตรงตามความต้องการในขณะนั้น
มีความถูกต้องแม่นยำ ความสมบูรณ์ ครอบคลุมทุกเรื่องที่ผู้บริหารต้องการ
มีความเหมาะสม กระทัดรัด ยุติธรรม สะดวก ชัดเจน ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข รูปภาพ
และ/หรือข้อความ สารสนเทศเหล่านี้มีไว้เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกข้อมูล
วิเคราะห์ เก็บ หรือนำเสนอ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของรายงาน แฟ้ม หรือภาพกราฟิก
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การทางการศึกษา
ยังอาจแบ่งออกเป็นระบบย่อยได้หลายระบบ เช่น ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศสำนักงาน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
และระบบประมวลผลรายการ เป็นต้น
ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
และนำไปสู่การนำไปใช้ของผู้บริหารในที่สุด และแต่ละระบบมีหน้าที่เฉพาะของตนเอง เช่น
- ระบบการประมวลผลรายการ ทำหน้าที่บันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันในลักษณะซ้ำ ๆ กัน เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการเชื่อมโยงไปสู่ระบบอื่น
- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ทำหน้าที่จัดเตรียมรายงานตามความต้องการของผู้บริหารหรือผู้ใช้โดยอาศัยข้อมูลจากระบบประมวลผลรายการ
- ระบบสนับสนุนผู้บริหารและสนับสนุนการตัดสินใจ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล นำข้อมูลมาใช้รายงานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
- ระบบสารสนเทศสำนักงาน ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบจัดการเอกสารและระบบสนับสนุนสำนักงาน
ในการออกแบบ และการใช้ระบบสารสนเทศเหล่านี้ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ รวมถึงบทบาทของตนเองในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ รวมถึงความสามารถ โอกาส และความเป็นไปได้ในการมีและการใช้สารสนเทศเหล่านั้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม