เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การเสริมสร้างคุณภาพขององค์การทางการศึกษา
เป็นงานพัฒนาสถาบันที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการจัดการฐานข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตัดสินใจ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารที่กล่าวมาแล้ว
เป็นการเสริมสร้างคุณภาพภายใน (internal quality control) การตรวจสอบคุณภาพ
(quality auditing) และการประเมินคุณภาพ (quality assessment)
รวมทั้งการจัดเตรียมกิจกรรมการปรับปรุงสถาบันอย่างต่อเนื่องสู่อนาคต
ที่สามารถเปรียบเทียบระหว่างสถาบัน
มุ่งสู่ความเป็นเลิศและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นกับสถาบัน
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเสริมสร้างคุณภาพนี้
จึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงาน (performance indicator)
ซึ่งตัวชี้การปฏิบัติงานของสถาบันการศึกษาที่สำคัญ เช่น
จำนวนนิสิตนักศึกษาเต็มเวลาในแต่ละระดับการศึกษา
คุณภาพทางวิชาการของนักศึกษาที่รับเข้าใหม่ อัตราการจบการศึกษา
ผลสำเร็จการศึกษาระดับต่าง ๆ เจตคติของศิษย์เก่า คุณภาพอาจารย์
ภาระงานสอนของอาจารย์ การมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน
ค่าใช้จ่ายในการให้บริการนักศึกษา เงินที่ได้รับจากมูลนิธิต่าง ๆ
เงินสนับสนุนและทุนช่วยเหลือ งบประมาณที่ได้รับจากรัฐ เป็นต้น
จากนี้ในสถาบันอุดมศึกษายังมีตัวบ่งชี้อื่น ๆ เช่น ตัวบ่งชี้ด้านการปกครอง
การวางแผนและการจัดการ ผลกระทบจากภายนอก การรับเข้าศึกษา
การลงทะเบียนและการคงอยู่ของนักศึกษา การโอนย้ายนักศึกษา หลักสูตร การเรียนการสอน
ผู้สำเร็จการศึกษา การให้เงินทุนสนับสนุน การบริการนักศึกษา การศึกษาต่อเนื่อง
อาจารย์ การวิจัย การบริการ ความต้องการชุมชน บริการสนับสนุน การเงิน ห้องสมุด
สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ศิษย์เก่า เป็นต้น
แต่ละตัวบ่งชี้ที่กล่าวข้างต้นมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก
และต้องอาศัยกระบวนการรวบรวม จัดเก็บ การวิเคราะห์ การแปลผล ประเมิน
การเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างละเอียดถูกต้อง
และนำเสนอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่สาธารณชนรับทราบ
การใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพ
จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ การพัฒนาองค์การทางการศึกษา
ไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในบทนี้เท่านั้น
เทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ ที่ใช้อยู่นอกวงการศึกษามาก่อน เช่น เทคโนโลยีอวกาศ
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีการแพทย์ ฯลฯ
ล้วนได้รับการประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาองค์การทางการศึกษาที่เน้นการศึกษาด้านนั้น ๆ
เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในการให้การศึกษาเฉพาะทาง
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม