เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

เหตุผลหรือความจำเป็นด้านต่างๆ ในการใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ

1. การเพิ่มของประชากร

  1. ประชากรในระบบโรงเรียน ในปัจจุบันจำนวนนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก จำนวนผู้เรียนต่อห้องเรียน ในสถาบันหลายแห่งมีจำนวนสูงถึง 50 คน สถาบันต่างๆ จึงไม่สามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้อย่างสมบรูณ์ ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา สื่อมวลชนนั้นสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้ฟังได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน หากสามารถคิดค้นหาวิธีการ ที่จะนำสื่อมวลชนต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน
  2. ประชากรวัยเรียนนอกระบบโรงเรียน ที่สำคัญในประเด็นนี้ คือ กลุ่มประชากรที่มีอายุในวัยที่ควรจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน คือมีอายุประมาณไม่เกิน 25 ปี ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ ขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียน ด้วยเหตุผลความจำเป็นในด้านต่างๆ ประชากรในวัยนี้จะต้องเรียนรู้ซึมซับเอาสิ่งต่างๆ ในสังคมรอบตัว หากไม่ช่วยให้ได้รับการศึกษา ย่อมจะส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมในอนาคต ซึ่หลายฝ่ายได้พยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้ การสื่อสารมวลชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระจายข่าวสาร สร้างค่านิยม ตลอดจนให้ความรู้ในช่องทางการประกอบอาชีพให้แก่ประชากรกลุ่มนี้ได้

2. แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต

แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ถือว่า การศึกษาของคน มิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่คนมีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ก่อนการเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งเด็กมีวุฒิภาวะเพียงพอสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสังคมรอบตัว แต่เนื่องจากความจำเป็นทางครอบครัว และระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กเหล่านี้ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในชนบทห่างไกลซึ่งยังมีเด็กขาดการดูแลเตรียมความพร้อมอีกเป็นจำนวนมาก

เด็กก่อนวัยเรียนโดยทั่วไป ได้รับการเลี้ยงดูอยู่กับบ้านซึ่งดูเหมือนว่าเด็กเล็กๆ เหล่านั้น ไม่ได้รับการศึกษาเรียนรู้อะไรมาก แต่ในความเป็นจริง ปัจจุบันสื่อวิทยุ โทรทัศน์ได้กระจายไปถึงประชาชนทุกระดับ เด็กจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ที่มีอยู่ สำหรับการชมโทรทัศน์ จึงเห็นได้ชัดเจนว่า โทรทัศน์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านที่ดี และในด้านที่ไม่ดี ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงควรจัดทำรายการ และเลือกทำรายการที่เหมาะสมให้กับเด็ก

ในวัยผู้ใหญ่ ที่ต้องประกอบอาชีพและรับผิดชอบตนเอง ความรู้ที่เคยได้รับมา อาจไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป จำเป็นต้องรับทราบข่าวสารและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม

3. การขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญ

ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จ การเรียนการสอนสาขาวิชาการต่างๆ ในปัจจุบัน มีหลายสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญการสอน แม้ว่าหลายฝ่ายจะได้พยายามแก้ปัญหานี้ โดยการจัดอบรมบุคลากรในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถช่วยได้เพียงส่วนหนึ่ง ปัญหาการสอนในบางวิชา เช่น ภาษาต่างประเทศ ที่ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง จำเป็นต้องใช้เสียงคนที่เจ้าของภาษามาช่วยออกเสียง หรือแม้แต่ภาษาไทยเองก็ยังพบว่ามีปัญหาในการสอนอยู่ทั่วไป

โรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง การจัดหาครูจะต้องเสียค่าจ้างในอัตราที่สูง จึงเป็นไปได้ยากที่จะจัดหาผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถให้เพียงพอ แต่สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้นำรายการสอนจากผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไปสู้ห้องเรียนตลอดจนถึงชุมชนบ้านเรือนได้อย่างกว้างขวาง

4. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์การสอน

วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทสื่อโสตทัศนศึกษา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติการต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งในสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อยู่มาก

สื่อมวลชนในปัจจุบันมีศักยภาพอย่างเพียงพอ ในการนำเสนอสาระความรู้ต่างๆ โดย เฉพาะโทรทัศน์ ที่นำเสนอภาพยนตร์ หรือการสาธิตที่มีวัสดุอุปกรณ์ประกอบอย่างสมบรูณ์ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างการศึกษาวิชาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ผู้สอนโดยทั่วไปมักจะใช้เอกสาร หรือรูปภาพเป็นสื่อช่วยในการสอน เนื่องจากขาดแคลนสื่ออย่างอื่นที่ดีกว่า ซึ่งช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้เพียงเล็กน้อย หากจะให้ดีขึ้นครูสามารถนำรายการสารคดีทางภูมิศาสตร์ หรือการท่องเที่ยวต่างๆ ที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ มาใช้สอนได้เป็นอย่างดี การทดลองหรือปฏิบัติการในวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหาวิชาด้านนี้ทางโทรทัศน์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถแสดงให้กระบวนการและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน

5. การกระจายของประชากร

การตั้งชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชน ปัจจุบันยังมีจำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งชุมชนที่ห่างไกลจากโรงเรียน เช่น ชาวเขา เกษตรกรที่ย้ายถิ่นฐานเข้าไปหาที่ทำกินในเขตป่า หรือแม้แต่กลุ่มประชากรจากในเมือง ที่จำเป็นต้องออกไปปฏิบัติงานในสถานที่ห่างไกล ซึ่งไม่ว่าประชากรกลุ่มใดก็ตาม ความจำเป็นในการรับทราบข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ย่อมจะต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การจัดการศึกษาให้ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยาก แต่หากจัดการศึกษาให้ได้รับทางสื่อสารมวลชนย่อมสามารถทำได้เสมอ

6. การเปลี่ยนแปลงของสังคมและข่าวสาร

สถานการณ์ของสังคมและข่าวสารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากกว่าในอดีต เกี่ยวกับวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ หากพิจารณาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ของช่วงเวลาหนึ่งในอดีต กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของช่วงเวลาที่เท่ากันในระยะหลังๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ช่วงเวลาหลังๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ผู้ติดตามความรู้ข่าวสารต่างๆ ทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสารนิตยสาร จะทราบได้อย่างดีว่า แต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งความรู้ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ ในระบบหลักสูตรและการเรียนการสอนทั่วไป ไม่สามารถปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ แบบเรียนที่จัดทำขึ้นในการปรับปรุงหลักสูตรแต่ละครั้ง ก็ใช้ไปอีกหลายปี ซึ่งเนื้อหาความรู้บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่ โดยใช้สื่อมวลชนสำหรับการศึกษาในส่วนนี้

ด้านสังคม มีเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเลือกตั้ง เศรษฐกิจการค้า โรคระบาด ฯลฯ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะถูกรายงานให้ประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาโดยสื่อมวลชนต่างๆ การศึกษาทางด้านสังคมจึงสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนได้โดยตรง

7. ความก้าวหน้าของสื่อมวลชน

ความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารมวลชน ทำให้สถานภาพการสื่อสารมวลชนปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นหลายด้าน เช่น

  • ด้านปริมาณ มีสื่อมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก นำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
  • เนื้อหาสาระ หรือรายการที่เป็นประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและด้านการศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • คุณภาพของสื่อ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีคุณภาพดีขึ้น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สี มีความสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน วิทยุโทรทัศน์ ได้รับการปรับให้เสียงและภาพชัดเจนขึ้น
  • เทคนิคการนำเสนอ ได้แก่ การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของรายการโทรทัศน์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีรายการแปลกๆ ใหม่ๆ ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพหรือเสียง และเทคนิคพิเศษน่าสนใจ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย