เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การสัมมนา (Seminar) มีความหมายเป็นหลายนัย เช่น
เป็นการประชุมที่มีการให้ข้อมูล การอภิปราย การสรุป
รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือเป็นเทคนิควิธีการเรียนการสอน
ซึ่งมีการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย และอภิปรายแลกเปลี่ยนผลงาน
วิเคราะห์วิจารณ์และสรุปผลร่วมกันภายใต้การดูแลของผู้สอน
ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา
เป็นสาขาวิชาที่ว่าด้วยเทคนิควิธีการสัมมนาและฝึกฝนประสบการณ์
การจัดสัมมนาหรือแสดงบทบาท หน้าที่ในการสัมมนา
เป็นกระบวนการเพิ่มพูนความรู้โดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันกำหนดเรื่องที่จะนำมาเรียนรู้ร่วมกัน
และผู้เรียนหรือผู้เข้าร่วมสัมมนานำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า หรือแนวคิด ประสบการณ์
กระบวนการสัมมนา ทำให้ผู้ร่วมสัมมนาเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ถกเถียงอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีโอกาสฝึกฝนทักษะ การคิด การเขียน การพูด การถกเถียง
การสำรวจและรวบรวมข้อมูล เป็นต้น
อาจมีข้อสงสัยหรือโต้แย้งว่า
การสัมมนาเป็นการพัฒนาบุคลากรหรือช่วยพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาได้หรือไม่และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาอย่างไรจึงใคร่นำประเด็นต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นผลอันเกิดจากกระบวนการสัมมนามาเสนอให้ทราบ ดังนี้
- การสัมมนามีบทบาทต่อการทำงานทั้งในระบบราชการและเอกชนอย่างมาก
จนแทบจะสรุปได้ว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและต้องการแนวทางแก้ไข
ก็จะมีการจัดสัมมนาแทบทุกครั้งไปและมักจะเกิดหลักการ
ข้อตกลงหรือผลสรุปจากการสัมมนา
ซึ่งนำมาเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
สิ่งที่ได้รับการพัฒนาจึงได้แก่แนวทางหรือวิธีที่พึงประสงค์และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการขององค์การ
หรือสถาบันการศึกษาในที่สุด
- การจัดสัมมนา
มีรูปแบบที่ยืดหยุ่นตามความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของการสัมมนา
มีกิจกรรมปลีกย่อยหลายรูปแบบ
กิจกรรมเหล่านี้จะสร้างความกระตือรือร้นและฝึกทักษะของบุคลากรผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนได้
การเข้าร่วมสัมมนายังเป็นการสร้างวุฒิภาวะ ความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึง
การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
อันเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่บุคลากรพึงมีและพึงกระทำ
- การสัมมนาไม่เพียงแต่ช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเท่านั้น
หากแต่ได้พัฒนาทักษะการพูด การฟัง การคิด การนำเสนอ การเขียนรายงาน การสรุป
และอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการทำงานในหน้าที่ของแต่ละคนได้
- การนำเสนอข้อมูลความรู้
แนวคิดของวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมากด้วยประสบการณ์ย่อมช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองตามไปด้วย
- กระบวนการสัมมนา สามารถกระตุ้นให้สมาชิกได้รู้จักตนเองมากขึ้น โดยเปรียบเทียบกับผู้อื่น การได้ฟัง ได้พูดแลกเปลี่ยนทัศนะ การรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ย่อมนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองในที่สุด
เทคนิควิธีการในการสัมมนาโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของการประชุมร่วมกัน
ในที่ที่และเวลาที่นัดหมาย
เทคโนโลยีที่นำมาใช้จึงประกอบด้วยสื่อการนำเสนอในรูปแบบสื่อโสตทัศนะเป็นส่วนใหญ่
และในการสัมมนาที่สำคัญ ๆ อาจมีการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอที่ทันสมัย เช่น
เครื่องฉายภาพมัลติมีเดีย วิดีโอโปรเจคเตอร์ เพื่อให้การนำเสนอน่าสนใจ
หากผู้เข้าร่วมสัมมนาใช้ภาษาที่แตกต่างกัน ระบบแปลภาษาก็มีความจำเป็น
การนำเสนอสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องกับการสัมมนาอย่างกว้างขวางและหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากการสัมมนาในรูปแบบที่ผู้ร่วมสัมมนาอยู่ ณ
ที่เดียวกันดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ
ทำให้สามารถจัดสัมมนาทางไกล ผ่านเครือข่ายสารสนเทศ อาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงหรือแม้แต่สื่อสารผ่านดาวเทียมทำให้ผู้ที่อยู่คนละทวีป
หรือส่วนต่าง ๆ ของโลกสามารถสัมมนากันได้โดยไม่ต้องอยู่ในที่เดียวกัน
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม