เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
การศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นรูปแบบหลักของการจัดการศึกษาในทุกประเทศ
ซึ่งมีการกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินการและการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน
มีกฏหมายกำหนดให้ประชาชน ทุกคนต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับจากโรงเรียน
นอกจากจะดำเนินการโดยรัฐบาลแล้ว ยังมีเอกชนจัดดำเนินการแพร่หลายทุกระดับ
เป็นระบบการศึกษาที่มีการลงทุนสูงสำหรับสร้างปัจจัยพื้นฐาน
และการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การสร้างโรงเรียน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ จัดทำหลักสูตร
วางเนื้อหาและกำหนดวิธีการเรียนการสอน
จัดจ้างครูทำการสอนประจำด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาล ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่าย
ให้ความสำคัญกับการศึกษารูปแบบนี้เป็นด้านหลัก หากมองโดยภาพรวม
ก็น่าจะเป็นระบบการศึกษาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก แต่ความเป็นจริงแล้ว
การศึกษาในระบบโรงเรียนยังมีปัญหาต่างๆ อยู่มาก ที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข
ที่สำคัญคือปัญหาด้านความพร้อมของโรงเรียน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน และส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาโดยรวม
คือ
1. ความพร้อมของโรงเรียน
เนื่องจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ มีความพร้อมในด้านต่างๆ
แตกต่างกัน เช่น อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงครูผู้สอน
ส่งผลให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีคุณภาพแตกต่างกันไปด้วย
เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็ก
หรือโรงเรียนเขตเมืองกับโรงเรียนในชนบท จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
โรงเรียนขนาดใหญ่ซึ่งส่วนมากในเขตเมืองมักได้เปรียบโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนในชนบท
ทั้งในเรื่องของ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ครูผู้สอน และงบประมาณดำเนินการ
การดำเนินงานของโรงเรียนโดยทั่วไป มักจะใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยพื้นฐานต่างๆ
ที่มีอยู่ในโรงเรียนเป็นหลัก มีจำนวนน้อยที่ใช้ทรัพยากรจากภายนอก
โรงเรียนที่มีความพร้อมสูง โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่
จึงมีโอกาสจัดการศึกษาได้คุณภาพสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
การแก้ปัญหาเรื่องนี้ นอกจากจะต้องพยายามเพิ่มคุณภาพ และปริมาณทรัพยากร
ให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กแล้ว
การแสวงหาปัจจัยสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น
การใช้สื่อมวลชนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียน จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง
ที่สามารถใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตามปกติ
ซึ่งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในลักษณะนี้
มีผู้กล่าวว่าสื่อมวลชนเป็นโรงเรียนข้างเคียง
2. กระบวนการจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนในโรงเรียนโดยทั่วไป
มักจะยึดถือปฏิบัติตามระเบียบประเพณี และอาศัยปัจจัยภายในโรงเรียนเป็นหลัก คือ
- สอนตามหลักสูตรเนื้อหาที่วางไว้ตายตัว ซึ่งเนื้อหาบางอย่างล้าสมัย ขาดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
- ครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้คัดเลือกเนื้อหา และจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน การวัดผลประเมินผลการเรียนจึงยึดถือเฉพาะความรู้ที่ได้รับจากครู
- ใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ ที่ขาดประสิทธิภาพในการจูงใจ ผู้เรียนจะต้องมีความตั้งใจอย่างสูงจึงจะเรียนได้เข้าใจ จึงทำให้เกิดความเครียดจากการเรียน
- วัสดุอุปกรณ์การสอนมีไม่เพียงพอ
- กิจกรรมการเรียนการสอนเกือบทั้งหมด จัดขึ้นในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด
- เวลาที่ใช้สำหรับการศึกษาในโรงเรียน กำหนดไว้เป็นตารางเวลาที่แน่นอน การเรียนรู้แต่ละเรื่องจะเกิดขึ้นตามเวลาเท่านั้น ไม่ว่าครูหรือนักเรียนจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม
- การเรียนการสอนแต่ละครั้ง มักสอนเนื้อหามากและใช้เวลานานต่อเนื่องกัน ทำให้การสอนไม่ได้ผล นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย
จากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนดังกล่าว บางคนอาจจะมองว่าเป็นลักษณะตามธรรมชาติของระบบโรงเรียน ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีนักการศึกษาจำนวนมากมองเห็นว่า สื่อมวลชนสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ จึงพยายามหาแนวทางนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาในระบบโรงเรียน แม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมดก็ตาม
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม