เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
กิจกรรมด้านการสื่อสารมวลชน ได้เกิดขึ้นและแพร่หลายมาเป็นเวลานาน นับร้อยปี
แต่แนวคิดที่จะนำสื่อมวลชนไปใช้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาในระบบโรงเรียน
และนอกระบบโรงเรียนพึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง จากการพิจารณาเห็นว่า
สื่อมวลชนมีคุณสมบัติบางประการที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาได้
จึงได้คิดและนำสื่อมวลชนไปใช้กับการศึกษาในภายหลัง
จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสื่อมวลชน คือ
การถ่ายทอดความรู้ข่าวสารสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่เจาะจงสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ข่าวสารที่ถูกนำเสนอจากสื่อมวลชน
จึงเป็นข่าวสารสำหรับผู้รับแต่ละคนที่จะเลือกรับตามโอกาสและความพอใจ
ใครพร้อมที่จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือรับสื่อมวลชนอื่นใด ที่ไหน
เมื่อใดก็ได้ เป็นการรับข่าวสารตามอัธยาศัย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว
หรือมีความตั้งใจ การรับข่าวสารในลักษณะดังกล่าว
จึงสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบปกติวิสัย
ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ไม่ต้องอาศัยระบบการจัดการใดๆ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน
ย่อมมีอยู่มากมาย และแตกต่างกันไป ทั้งประสบการณ์ในทางที่ดีและไม่ดี
ประสบการณ์ใดที่มีคุณค่าก่อให้เกิดผลต่อบุคคลในทางสร้างสรรค์
ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาทั้งสิ้น
ดังนั้นการที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาจากรูปแบบการศึกษาตามปกติวิสัย
มากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับการจัดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม
และนำเสนอความรู้ข่าวสารที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชน
สภาพที่เอื้อต่อการศึกษาตามปกติวิสัย
หมายถึงสภาพที่ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตามปกติวิสัย ซึ่งอาจจัดให้มีขึ้นได้ดังนี้
1. การจัดกิจกรรม หรือร่วมกิจกรรมที่มีคุณค่า
หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนบุคคล
กิจกรรมในครอบครัวหรือในชุมชนก็ตาม
หากมีโอกาสที่จะเลือกจัดกิจกรรมหรือร่วมกิจกรรมได้หลายอย่าง
ก็ควรเลือกกิจกรรมที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น การจัดเลี้ยงสังสรรค์การทำบุญตักบาตร
การเดินทางท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ฯลฯ
ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องย่อมพิจารณาได้ว่ากิจกรรมใดมีคุณค่ามากกว่า
2. การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี
เนื่องการศึกษาตามปกติวิสัยเป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมใกล้ตัว
หากคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีไปด้วย
จึงควรจัดสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณค่า ทั้งในครอบครัวและชุมชน ให้ได้รับแต่สิ่งที่ดี
โดยเฉพาะการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการแยกแยะว่า
สิ่งใดดีหรือสิ่งใดไม่ดี ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพบ้านเรือนที่น่าอยู่
ห้องสมุด ของเล่นเสริมทักษะ สภานที่พักผ่อนออกกำลังกาย
การอยู่ในชุมชนหรือสังคมของคนดี ฯลฯ
3. เพิ่มโอกาสการรับข่าวสาร จากสื่อสารมวลชน
เนื่องจากสื่อมวลชนเป็นแหล่งให้ความรู้ข่าวสารที่สำคัญสำหรับการศึกษาตามปกติวิสัย
แม้ว่าในปัจจุบัน สื่อมวลชนจะกระจายไปสู่ประชาชนอย่างแพร่หลายมากแล้ว
แต่โอกาสในการรับ ของประชาชนส่วนหนึ่งยังมีน้อย เช่น ประชาชนในชนบท
หรือผู้ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่สำหรับการเดินทางและประกอบอาชีพ
การทำให้คนมีโอกาสได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลเพิ่มขึ้น
จะช่วยส่งเสริมการศึกษาได้ทางหนึ่ง เช่น การจัดรายการวิทยุสำหรับผู้ทำงานกลางคืน
จัดที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เผยแพร่รายการวิทยุ โทรทัศน์ตามสื่อสารธารณะ
เป็นต้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม