เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ดังกล่าวมาแล้วว่า การศึกษานอกระบบเป็นการจัดการศึกษาหลายๆ ลักษณะ
เพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดดำเนินการในเรื่องต่างๆ จึงมีลักษณะยืดหยุ่นไม่แน่นอนตายตัว เช่น
ในเรื่องของหลักสูตรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
หลักสูตรใดที่มีคนต้องการเรียนมากก็จะใช้อยู่นาน
หลักสูตรที่ไม่มีผู้เรียนแล้วก็ยกเลิกไป แล้วสร้างหลักสูตรใหม่ขึ้นมาใช้แทนเรื่อยไป
เมื่อเวลาผ่านไปหากมีคนต้องการเรียนในหลักสูตรเดิมที่เคยเปิดสอนมาแล้ว
ก็สามารถนำมาใช้ได้อีก
เวลาสำหรับการเรียนอาจใช้เวลาตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึงจบหลักสูตร เพียง 2-3 ชั่วโมง
หรืออาจใช้เวลาเป็นปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นหลักสูตรระยะสั้น
หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกโรงเรียน รับผิดชอบงานด้านนี้ก็เป็นเพียงการประสานงาน
หรือจัดการศึกษาได้เพียงส่วนน้อยเท่านั้น
การจัดการศึกษาที่ไม่มีระบบแน่นอนและกระจัดกระจายเช่นนี้
บางคนอาจเห็นว่าเป็นการศึกษาที่มีประโยชน์น้อยไม่น่าเชื่อถือ
คาดเดาความสำเร็จได้ยาก
ความจริงการจัดการศึกษาอบรมที่อยู่นอกระบบโรงเรียนในปัจจุบัน
เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและดำเนินการมาอย่างได้ผล
เนื่องจากส่วนใหญ่สอนตามหลักสูตรที่คนต้องการเรียนจริงๆ
วิธีการเรียนก็ใช้การปฏิบัติที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง
เนื้อหาด้านหลักทฤษฎีต่างๆ จะสอนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น
การสอนตัดเย็บเสื้อผ้า ซ่อมรถยนต์ เพาะเห็ด การทำขนม อาจใช้เวลาเรียนเพียง 3 วัน
ก็สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ประกอบอาชีพในเบื้องต้นได้
ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ทั่วไป
ลักษณะของหลักสูตรเนื้อหาและสถานการณ์ ของการศึกษานอกระบบ
หากนำไปเปรียบเทียบกับการนำเสนอความรู้ข่าวสารของสื่อมวลชนต่างๆ ในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า มีลักษณะที่สอดคล้องกัน
ซึ่งลักษณะที่สอดคล้องกันระหว่างการศึกษาที่จัดนอกระบบ
กับการศึกษาที่ได้รับจากสื่อมวลชน สรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ คือ
- ความรู้ข่าวสารที่นำเสนอทางสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาสั้นๆ
นำเสนอทีละน้อยใช้เวลาสั้นๆ หลายๆ ครั้ง ให้ผู้รับนำไปเชื่อมโยงกันเอง
เพราะหากนำเสนอเนื้อหามากใช้เวลานาน ผู้รับจะขาดความสนใจ
ซึ่งนักการศึกษาบางท่าน เรียกการนำเสนอลักษณะนี้ว่า เป็นวัฒนธรรมแบบโมเสก (
Mosaic Culture ) ซึ่งหมายถึงความรู้ข่าวสารถูกแบ่งแยกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
- คัดเลือกเนื้อหาของข่าวสารตามความสนใจของผู้รับ
นำเสนอเฉพาะเรื่องที่คนสนใจเป็นหลัก
เรื่องใดที่คนสนใจมากก็ใช้เวลานำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อกันนาน
หรือนำเรื่องเดิมมาเสนอซ้ำอีก
- เสนอความรู้ข่าวสาร ตามเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม
สื่อมวลชนถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาว่า ความรู้ข่าวสารใดมีความสำคัญ
และเหมาะสมที่จะนำเสนอในเวลา และสถานการณ์ใด เช่น วิทยุโทรทัศน์
นำเสนอรายการสำหรับเด็กในช่วงเวลาหลังเลิกเรียน หรือวันหยุด
ในภาวะที่เกิดโรคระบาดของสัตว์เลี้ยง สื่อมวลชนก็นำเสนอวิธีป้องกัน เป็นต้น
- มุ่งกระจายความรู้ข่าวสารให้ทั่วถึงมวลชน หรือ ประชาชนส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับการศึกษานอกระบบ
ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับประชาชน
- เสนอเนื้อหาที่หลากหลาย เพื่อเปิดให้ประชาชนเลือกรับความสนใจ
เช่นเดียวกับหลักสูตรของการศึกษานอกโรงเรียน
ที่มีจำนวนมากให้เลือกเรียนตามความพร้อมของแต่ละคน
- งานของสื่อมวลชนเป็นงานที่ทันสมัย บุกเบิกค้นหาความคิดใหม่มาใช้อยู่เสมอ เช่นเดียวกับการศึกษานอกระบบ ที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการให้การศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ เสมอ ดังเช่นที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำลังดำเนินการ โครงการการศึกษาผ่านดาวเทียมอยู่ในปัจจุบัน
จากลักษณะบางประการของสื่อมวลชน จะเห็นได้ว่า การศึกษานอกระบบและสื่อมวล ชน ทำหน้าที่สอดคล้องกัน ต่างกับการศึกษาในระบบโรงเรียน ที่ยังมีความแตกต่างหรือขัดแย้งกับสื่อมวลชนอยู่หลายด้าน ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน จึงน่าจะได้มีการพิจารณาใช้สื่อมวลชนกับการศึกษานอกโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม