เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา (Diffusion of Innovation)
การแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ ข่าวสาร
หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นโดยกว้างขวาง
จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด
ได้ให้ความหมายคำว่าการแพร่กระจาย หรือ "Diffusion" ดังต่อไปนี้
การแพร่กระจาย คือ กระบวนการ
ซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ
ที่อยู่ในระบบสังคม (Diffusion is the process by which an innovation is
communicated through certain channels overtime among the members of a social
systems)
ตามความหมายข้างต้น Rogers ได้อธิบายส่วนประกอบของการแพร่กระจาย
นวัตกรรมไว้ 4 ประการคือ
1 มีนวัตกรรมเกิดขึ้น
2
ใช้สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น
3 ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย
4 ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง
มีผู้วิจารณ์เกี่ยวกับการนำนวัตกรรมมาทดลองใช้ในเรื่องต่าง ๆ
โดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานด้านการศึกษาชูทซ์ (Sehutz; 1982)
ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยให้แง่คิดเกี่ยวกับขั้นตอนของการเกิด
นวัตกรรม ดังนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2533)
- มีการเรียกหานวัตกรรมอยูเสมอ เหมือนกับว่า
นวัตกรรมเป็นยาครอบจักรวาลที่สามารถเยียวยาอาการป่วย (ปัญหา)
ของการศึกษาทั้งมวลได้
- หลังจากเรียกหาได้ไม่นานนัก
ปัญหาเพียงเล็กน้อยก็ถูกนำมากล่าวถึงและในช่วงนี้ก็มีใครสักคนหนึ่งเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาสู่การศึกษา
และให้ความมั่นใจแก่เราว่า
ความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้วยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีนั้นอยู่แค่เอื้อม
- เมื่อเกิดความบกพร่องผิดพลาดปรากฎออกมาอย่างชัดเจน ก็พบว่า
นวัตกรรมนั้นไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้อย่างแท้จริง
นวัตกรรมเป็นเพียงการเล่นตลกของสื่ออย่างไม่มีวันจบสิ้น
ใครคนนั้นก็กระโดดหายไปจาก วงการ พร้อมกับตำหนิความบกพร่องของโรงเรียน
ในการใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อจัดซื้อสิ่งต่างๆ
ซึ่งขณะนี้อยู่บนชั้นหรือในตู้ของโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว
- วงจรของปัญหาทำนองนี้มักจะเกิดขึ้นอีก พร้อมกันนั้นก็มีการเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแบบแปลกใหม่ต่อไป
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม