เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การศึกษาต่อ เป็นวิธีการที่บุคลากรในสถานศึกษานิยมวิธีหนึ่งในบ้านเรา
เพราะเป็นวิธีการที่เมื่อสำเร็จจะมีวุฒิบัตรหรือปริญญาบัตรเป็นหลักประกันความรู้ความสามารถอย่างไรก็ตาม
การพัฒนาบุคลากรลักษณะนี้จะไม่เป็นหลักประกันว่าจะส่งผลให้งานขององค์กรมีประสิทธิภาพหรือคุณภาพดีขึ้นเสมอไปด้วยเหตุผลหลายประการ
เช่น กว่าจะสำเร็จการศึกษา งานที่ต้องการใช้ควงามรู้ความสามารถก็ล่าช้าเกินไป
หรือความรู้ประสบการณ์ที่ได้อาจล้าสมัยไม่ทันกาล
บางครั้งศึกษามาไม่ตรงกับงานที่ทำหรือวัตถุประสงค์ อนึ่ง
การศึกษาต่อใช้เวลายาวนานกว่าจะสำเร็จตามหลักสูตร
ทำให้ขาดรายได้เพราะต้องลาศึกษาและหยุดการปฏิบัติงานในองค์กรชั่วคราวหากเข้าศึกษาในระบบปกติ
(full-time)
ปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้วยการศึกษาต่อ
มีอุปสรรคน้อยลงมากและเอื้ออำนวยแก่บุคลากรผู้ต้องการพัฒนาตนเองมากขึ้น โดย
- มีการเปิดหลักสูตรภาคพิเศษนอกเวลา (part-time) มากขึ้น
ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเวลา
และสถานที่ที่ใช้ในการศึกษาต่อที่ไม่กระทบต่อการทำงานในเวลาปกติ
ซึ่งจะทำให้ประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง
และสามารถนำความรู้ที่ได้จากรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนมาประยุกต์ใช้ได้โดยทันทีไม่ต้องรอให้จบการศึกษา
- มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา/การเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย เช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยโทรสนเทศ (Virtual University) ในห้องเรียน โทรสนเทศ (Virtual Classroom) การเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ การสอนบนเว็บ การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต รวมทั้งเทคโนโลยีสื่อประสมอื่น ๆ โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องเดินทางไปที่สถานศึกษา และเลือกเวลาในการศึกษาที่ตนเองสะดวก สามารถติดต่อกับผู้สอนโดยผ่านสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการฝึกอบรม
การฝึกอบรม
เป็นกรรมวิธีที่จัดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถ
และความชำนาญ ทั้งในด้านความคิด การกระทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
และเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนที่มุ่งเสริมหรือเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับบุคลากรในหน่วยงานต่าง
ๆ ทั้งที่เตรียมตัวเข้าทำงาน
และกำลังปฏิบัติงานประจำอยู่แล้วให้มีสมรรถภาพเพิ่มขึ้น มีความมั่นใจในการทำงาน
ตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น (น้อย ศิริโชติ. 2523 : 6-7)
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการฝึกอบรมก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น
ช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ทำงานใหม่ ที่ยังขาดความชำนาญ
ช่วยแก้ปัญหาอันเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ใหม่และทันสมัย
ช่วยประหยัดรายจ่ายด้วยการใช้เวลาสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาทั่วไป
ช่วยพัฒนาท่าที บุคลิกภาพ สร้างความเชื่อมั่น ความพร้อม ตัดสินใจเองได้
มีความคล่องแคล่วว่องไวขึ้น รวมถึงการสนับสนุนให้มีการศึกษาตลอดชีพอีกด้วย
ทั้งองค์การและตัวผู้รับการฝึกอบรม
ต่างมีความมุ่งหมายของแต่ละฝ่ายอันเกิดจากกิจกรรมการฝึกอบรมเดียวกัน เช่น
ความมุ่งหมายขององค์การอาจจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความสนใจหรือกระตุ้นการปฏิบัติงานของบุคลากร
แนะนำวิธีปฏิบัติ พัฒนาทักษะการปฏิบัติเพื่อผลที่ได้รับสูงสุด
เพื่อลดความสิ้นเปลือง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน
จัดวางมาตรฐานการทำงาน พัฒนาฝีมือ
รวมถึงพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย
ส่วนผู้รับการฝึกอบรมอาจมีความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น
เพื่อการเลื่อนขั้นหรือตำแหน่ง พัฒนาท่าทีบุคลิกภาพ เพื่อทดลองปฏิบัติงาน
ฝึกฝีมือการทำงาน ฝึกการตัดสินใจ เรียนรู้งานเพื่อลดอันตรายจากการทำงาน
เพื่อขวัญและกำลังใจหรือเพื่อเข้าใจนโยบายของหน่วยงาน เป็นต้น
การพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรม
สามารถทำได้ทั้งก่อนที่บุคลากรจะเริ่มทำงานในองค์การหรือสถานศึกษา (pre-service
training) และในระหว่างที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรทางการศึกษานั้น ๆ
(in-service training)
หรือเรียกว่าฝึกอบรมบุคลากรประจำการขึ้นอยู่กับความต้องการและจำเป็นของหน่วยงานและตัวบุคลากรเอง
เทคนิควิธีการที่ใช้ในการฝึกอบรม โดยทั่วไปเป็นวิธีการที่จัดขึ้นเป็นทางการ
ณ สถานที่และเวลาที่กำหนด อาจกระทำภายในองค์กรที่ผู้รับการฝึกอบรม ทำงานอยู่
หรือสถานที่อื่น ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมอาชีพก็เป็นได้
การฝึกอบรมตามรูปแบบนี้ใช้สื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนทั่ว ๆ
ไปในการถ่ายทอด เช่น วัสดุกราฟิกต่าง ๆ สื่อโสตทัศน์ คอมพิวเตอร์
และ/หรือวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ทำการฝึกอบรมโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบัน
ด้วยพัฒนาการและประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่สูงขึ้น
ทำให้กระบวนการฝึกอบรมได้รับการพัฒนาไปในรูปแบบ การฝึกอบรมทางไกล
ซึ่งผู้ให้การอบรมกับผู้รับการอบรมอยู่ห่างกันคนละที่
และอาศัยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลระบบ 2 ทาง เข้าช่วย เช่น
การฝึกอบรมผ่านระบบประชุมทางไกล
การฝึกอบรมด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบมัลติมีเดีย
ฝึกอบรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (computer-based training) ฝึกอบรมจากสื่อออนไลน์
ฝึกอบรมโดยวีดิทัศน์ตามประสงค์ (video on demand) เป็นต้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม