เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
ดังกล่าวมาแล้วว่า สื่อมวลชน มีบทบาทหน้าที่ 5 ประการคือ การเสนอข่าว
ให้ความบันเทิง แสดงความคิดเห็น ให้การศึกษา และโฆษณาประชาสัมพันธ์
ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ตามหลักการทั่วไป
สื่อมวลชนแต่ละประเภทอาจทำตามบทบาทหน้าที่ของตน ในแต่ละด้านได้มากน้อยแตกต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในด้านต่างๆของสื่อมวลชนแต่ละประเภท
บทบาทในการให้การศึกษาของสื่อมวลชนแต่ละประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
เช่น
- ปรัชญาหรืออุดมการณ์ขององค์กรสื่อมวลชนแต่ละแห่ง เช่น หนังสือพิมพ์ก่อตั้งขึ้นจากความต้องการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน จึงมุ่งเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก
- ธุรกิจการค้า เนื่องจากการดำเนินกิจการของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ อาศัยรายได้จากการโฆษาสินค้าเป็นหลัก เนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนจึงเปรียบเสมือนเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นไปตามความต้องการของตลาด คุณค่าทางการศึกษาจึงมักมีน้อยกว่าด้านบันเทิงเสมอ
- ลักษณะหรือคุณสมบัติของสื่อมวลชนเอง กล่าวคือสื่อมวลชนแต่ละประเภทมีลักษณะหรือคุณสมบัติด้านต่างๆ ไม่เหมือนกัน เช่น วิทยุ ส่งได้เฉพาะเสียง โทรทัศน์สามารถส่งกระจ่ายข่าวสารไปได้ไกลทั้งภาพและเสียงเป็นต้น
- การนำสื่อมวลชนไปใช้เฉพาะทาง ตามปกติสื่อมวลชนต่างๆ จะนำเสนอข่าวสารตามความคิดและความต้องการของสื่อมวลชนเอง ซึ่งมักจะมีข่าวสารด้านต่างๆ หลากหลาย ต่อมาหน่วยงานองค์การหรือสถาบันต่างๆ เห็นว่าสามารถนำสื่อมวลชนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับกิจการของตนได้ จึงเกิดการใช้สื่อมวลชน เพื่องานเฉพาะด้าน มีการลงทุนดำเนินงานสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อกิจการแต่ละด้านโดยเฉพาะ เช่น ด้านการศึกษา การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา การใช้โทรทัศน์เพื่อการสอนทางไกล เป็นต้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม