เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
เนื้อหาของสื่อมวลชน ที่นำเสนอทั่วไป อาจมีคุณค่าสำหรับผู้รับแต่ละคน
มากน้อยต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ตัวเนื้อหาและความต้องการของผู้รับ
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน จึงอาจจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. เนื้อหาทั่วไป
หมายถึงรายการ ข่าวสารตามปกติทั่วไปของสื่อมวลชนต่างๆ
ซึ่งมีอยู่หลากหลาย ทั้งที่มีคุณค่าและไม่มีคุณค่าทางการศึกษา
การเลือกใช้จึงเป็นเรื่องของฝ่ายผู้รับ ครูหรือผู้ปกครอง
ที่จะนำไปใช้สำหรับการศึกษา รายการใดที่เห็นว่ามีคุณค่า ก็สามารถเลือกมาใช้ได้
รายการข่าวสารบางอย่างอาจไม่เหมาะสำหรับการศึกษา เช่น รายการ
ข่าวสารที่มีลักษณะยั่วอารมณ์ของผู้รับไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
หรือรายการข่าวสารที่อาจส่งเสริมให้เกิดความเชื่อ ค่านิยม คุณธรรม
จริยธรรมที่ไม่เหมาะสม รายการข่าวสารที่ไม่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเหล่านี้
เชื่อกันว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นเหตุผลสนับสนุนให้มีการจัดทำรายการข่าวสาร
หรือตั้งองค์กรสื่อมวลชนขึ้นมาใช้สำหรับการศึกษาโดยเฉพาะ
แม้ว่าระหว่างระบบการศึกษากับสื่อมวลชน จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน
แต่บางครั้งระบบงานทั้งสองก็มีความขัดแย้งหรือประสานกันไม่สนิท
ทั้งนี้ก็เพราะแต่ละฝ่ายมีแนวคิด หรือปรัชญาที่แตกต่างกัน
การที่จะเรียกร้องให้สื่อมวลชนนำเสนอรายการข่าวสาร ตามความต้องการของฝ่ายการศึกษา
จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นการใช้รายการข่าวสารต่างทั่วไปจากสื่อมวลชน
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ผู้รับหรือครูผู้สอนจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ
2. เนื้อหาสำหรับการศึกษา
ความพยายามที่จะใช้ศักยภาพของสื่อมวลชน
ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาให้มากที่สุด
ปัจจุบันได้มีการผลิตรายการข่าวสารสำหรับการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ
ในสื่อมวลชนทุกประเภท เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือการเรียนการสอน
หนังสือและหนังสือพิมพ์สำหรับเด็ก วารสาร นิตยสารเพื่อการศึกษา
เปิดโอกาสให้นำรายการข่าวสารจากสื่อมวลชน มาใช้ทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง
มีทั้งรายการข่าวสารสำหรับการเรียนการสอนโดยตรง และรายการสำหรับการศึกษาทั่วไป
การเลือกใช้รายการข่าวสารประเภทนี้ จึงสามารถทำได้ง่ายขึ้น
การนำเสนอรายการ ข่าวสารที่ผลิตขึ้นสำหรับการศึกษา
ส่วนหนึ่งอาศัยองค์กรสื่อมวลชนปกติ นำเสนอรายการ
ข่าวสารทางการศึกษาแทรกอยู่กับรายการข่าวสารปกติ วิธีนี้อาจนำเสนอเนื้อหาได้น้อย
เพราะต้องเช่าเวลาหรือเนื้อที่ของสื่อมวลชน แต่มีข้อดี คือ จะมีคนรับมากกว่า
เหมาะสำหรับรายการข่าวสารทางการศึกษาทั่วไป เช่น หนังสือ รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
บทความทางการศึกษาในหนังสือพิมพ์ และวารสารนิตยสาร
ปัจจุบัน ความต้องการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีปริมาณสูงขึ้น
เนื่องจากการขยายตัวทางการศึกษา การใช้องค์กรสื่อมวลชนทั่วไป
นำเสนอรายการข่าวสารทางการศึกษา ทำได้ไม่เพียงพอ ผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษา
จึงได้จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานสื่อสารมวลชนสำหรับการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น
สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วารสารนิตยสารทางการศึกษาต่างๆ
หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดรายการ ข่าวสารทางการศึกษาที่สำคัญได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม