เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น นอกจากเป็นปัจจัยที่มีผลในทางบวก
อันเป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญเติบโตให้สังคมแล้ว
อีกด้านหนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
ยังมีผลกระทบต่อสังคมในทางลบที่เป็นลูกโซ่ตามมาด้วย ดังตัวอยางต่อไปนี้คือ
ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไป เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง
ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น
ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ
หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยีร่วมกัน และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ
ได้
ผลกระทบด้านจิตวิทยา
ความเจริญทางเทคโนเลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือสื่อสารทำให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
จึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น
ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผล
กระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น
มีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม อาทิ แม่น้ำ พื้นดิน อากาศ
เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบทางด้านการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่
ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เช่นนักเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่า
จะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด
และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดผลสำเร็จมากน้อยอย่างไร
แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ เกิดการตื่นตัว
อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม
คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่
เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือใช้เป็นหรือไม่
ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ
ให้ทันตามความก้าวหน้า
และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง
การหมั่นศึกษา และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ
ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา
สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด
สุดท้าย จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ว่า
มีความเหมาะสม มีข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ทั้งโดยการสังเกต
การใช้แบบทดสอบเพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนอยู่เสมอ
ก็จะทำให้เราเชื่อแน่ได้ว่าการใช้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
2)
การแพร่กระจายเป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแบบหนึ่งการแพร่กระจายนั้นมีลักษณะพิเศษในประเด็นที่ข่าวสาร
(messages)
มีความเกี่ยวข้องกับความคิดใหม่ ๆ
เนื่องจากการสือสารเป็นกระบวนการที่ผู้มีส่วนร่วมเป็นผู้สร้างข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่น
ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันขึ้น
ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นกระบวนการในการทำให้เกิดการบรรจบกัน (convergence)
ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อให้เข้าใจความหมายได้ตรงกัน
การสื่อสารเป็นกระบวนการสองทางของการบรรจบกัน (two-way process of convergence)
ด้วยเหตุนี้กระบวนการทางการสื่อสารของมนุษย์จึงนำมาใช้ในการอธิบาย
เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการแพร่กระจายได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(change agent) หาทางชักจูงใจให้เป้าหมาย (client)
ยอมรับนวัตกรรมเมื่อเรามองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการยอมรับ
และสิ่งที่เกิดตามมาเราจะเห็นได้ว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงบางส่วนของกระบวนการทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลสองคนเช่นผู้ที่เป็นผู้รับ
(client) อาจจะพบผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)
พร้อมด้วยปัญหาและความต้องการของเขา
และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหานี้ได้
ดังนั้นเมื่อเรามองการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้รับในมุมกว้างก็จะเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์จะมีความต่อเนื่องไปหลายๆ
วงจร ซึ่งความจริงก็คือกระบวนการของการแลกเปลี่ยนข่าวสารนั่นเอง
3) ความใหม่ของนวัตกรรมคือระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty)
Rogers อธิบายว่า ในการติดต่อสื่อสารนวัตกรรมที่เป็นความคิดใหม่ ๆ นั้น
ความใหม่ของความคิดในเนื้อหาของข่าวสารจะมีลักษณะเฉพาะคือ ความใหม่
หมายถึงระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty) ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้น (newness
means that some degree of uncertainty is involved)
ความไม่แน่ใจจะมีระดับของตัวเลือกที่สามารถรับรู้ในเหตุการณ์นั้น ๆ
ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สัมพันธ์กับตัวเลือกนั้น ข่าวสาร (information)
เป็นความแตกต่างในพลังงานสาร (matter-energy)
ซึ่งกระทบต่อความไม่แน่ใจในสถานการณ์หนึ่ง ๆ
ที่ซึ่งมีตัวเลือกปรากฎอยู่หลายตัวเลือก
ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่ใจ เช่น
นวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และวิธีการทำงานของเครื่องดังกล่าว
ตลอดจนการเพิ่มราคาของน้ำมันในอนาคต
มีส่วนช่วยลดความไม่แน่ใจของนวัตกรรมลงไประดับหนึ่ง
เนื่องจากผลของการสื่อสารจึงทำให้เกิดการยอมรับเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์
ความคิดรวบยอดนี้ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่กระจายของนวัตกรรมในรูปแบบของกระบวนการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม