เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา

หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา ตามแนวทางการจัดหลักสูตรที่ประเทศต่างๆ ได้ดำเนินการมาในช่วงปี 1960-1985 จำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ (Halloran and Jones,1987 อ้างจาก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ 2538 : 25-26 )

  1. หลักสูตรเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน (Inoculation Approach)
  2. หลักสูตรสร้างความสามารถเชิงวิพากษ์ในตัวผู้รับสื่อ (Critical reader/view approach)
  3. หลักสูตรสร้างความสามารถในการผลิตสื่อชุมชน(Production of community media)
  4. หลักสูตรการวิเคราะห์สื่อ ทั้งรูปแบบ และเนื้อหาสาระ โดยอาศัยทฤษฎีภาพยนตร์ และสัญวิทยา (textual apporach) หรืออาจเรียกว่าแนววิเคราะห์ภาพลักษณ์และจิตสำนึก (Images and conciousness)

หลักสูตรเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน มุ่งส่งเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ที่มาจากความเชื่อว่า สื่อมวลชนมีอิทธิพลมากและจะส่งผลโดยตรง ต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนการป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ให้สื่อที่เป็นพิษเป็นภัยแพร่ระบาดในสังคม ซึ่งจัดว่าเป็นการควบคุมในระดับศีลธรรม แนวการจัดหลักสูตรแบบป้องกัน เป็นที่นิยมกันมากในระยะแรกๆ ของการพัฒนาหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา มีพัฒนาการแนวความคิดมาจากการจัดหลักสูตรทางภาษาและวรรณคดีโดยการเลือกเฉพาะสื่อที่ผู้สอนเชื่อว่าไม่มีพิษไม่มีภัยต่อความคิดความเชื่อถือทางศีลธรรมของเด็กและเยาวชน นำมาศึกษาในห้องเรียน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอิสระอื่นๆ ที่เข้ามาเสริมแนวการจัดหลักสูตรแบบป้องกันให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น เช่น มีสมาคมครูผู้ปกครอง หรือองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นผู้คอยเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมทางสื่อ โดยออกมาคัดค้านสื่อที่ที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา หรือคัดค้านสื่อลามกที่อาจนำไปสู่การข่มขืน หรือใช้ความรุนแรงทางเพศ

หลักสูตรสร้างความสามารถเชิงวิพากษ์ในตัวผู้รับสื่อ แนวหลักสูตรนี้เชื่อว่าในสังคมที่ต้องพึ่งพาสื่อประเภทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆนั้น การสอนให้เด็กและเยาวชนมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสื่อ และเนื้อหาสาระที่เป็นผลิตผลจากกระบวนการดังกล่าว โดยใช้วิธีสอนแบบมีส่วนร่วม ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนแสดงความคิดเห็นของตนเองผ่านสื่อได้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้พวกเขารู้เท่าทันสื่อมวลชนในยุคโลกาภิวัฒน์ การเรียนการสอนตามแนวหลักสูตรนี้ เน้นให้นักเรียนรู้จักสังเกตและตีความสาระในสื่อต่างๆ แนะแนวทางในการรับสาระของสื่ออย่างเลือกสรร

หลักสูตรสร้างความสามารถในการผลิตสื่อชุมชน ส่งเสริมความสามรถในการผลิตสื่อขึ้นในชุมชน เป็นขั้นถัดมาจากแนวการจัดหลักสูตรแบบวิพากษ์ เช่นหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาใน คานาดา เยอรมัน ฝรั่งเศล นอกจากจะฝึกนักเรียนให้เลือกรับสื่ออย่างวิพากษ์แล้ว ยังเปิดให้นักเรียนสารมารถผลิตสื่อที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระ และยังเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชุมชน อันหมายถึงการเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอีกด้วย นักเรียนอาจร่วมกันผลิตจดหมายข่าว หรือหนังสือพิมพ์ชุมชนขนาดเล็ก รายการวิทยุอย่างง่าย หรือรายการโทรทัศน์ทางเคเบิลชุมชน ปัญหาใหญ่ของการจัดหลักสูตรในแนวนี้ คือ การขาดแคลนครูผู้สอน ดังนั้นในบางประเทศ จึงมีการจัดหลักสูตรฝึกหัดครูระยะสั้นเพื่อให้มีครูรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านสื่อมวลชนศึกษาโดยตรง ซึ่งหลักสูตรประกอบด้วยความรู้เรื่องทฤษฏีการวิเคราะห์สื่อ ทฤษฎีเกี่ยวกับองค์กรและกระบวนการผลิตสื่อ ภาคปฏิบัติในการผลิตสื่อ

หลักสูตรการวิเคราะห์สื่อ เน้นเรื่องการวิเคราะห์สื่อเพื่อให้เข้าใจกระบวนการสร้างภาพลักษณ์และจิตสำนึกของสื่อมวลชน เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีการวิจารณ์ภาพยนตร์ มุ่งให้มีความสามารถในการวิเคราะห์รูปแบบและสาระของสื่อ ให้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อผู้รับสื่อ ทั้งในด้านของกระบวนการสร้างภาพลักษณ์และจิตสำนึกในอุตสาหกรรมสื่อ และในส่วนของตัวผู้รับเอง

จากการสำรวจของนักวิชาการด้านสื่อมวลชนศึกษา ซึ่งได้นำเสนอต่อที่ประชุมปฏิบัติการเรื่องสื่อมวลชนศึกษา เมื่อเดือนมกราคม 2538 ที่สถาบันวิจัยสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แนวคิดในการจัดหลักสูตรทั้ง 4 แนว ยังคงมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้ละเอียดลึกซึ้งและเหมาะสมกับบริบททางสังคมของแต่ละประเทศ

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย