เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
สามารถทำความเข้าใจกับความหมายได้โดยแยกออกเป็น 2 คำ คือ การพัฒนา ซึ่งหมายถึง
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้น และคำว่า บุคลากรทางการศึกษา
อันได้แก่
บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์การหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การศึกษาอบรมแก่ผู้ที่ต้องการการเรียนรู้
บุคคลกลุ่มนี้ย่อมหมายรวมถึงตั้งแต่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ช่วยครู เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายธุรการ ฝ่ายเลขานุการ
ฝ่ายอาคารสถานที่ ฝ่ายพัสดุ-ครุภัณฑ์ ไปจนถึงนักการภารโรง พนักงานขับรถ
พนักงานทำความสะอาดและอื่น ๆ
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา
เพิ่มพูนความรู้ทักษะความชำนาญ ประสบการณ์ ความสามารถ รวมถึงเจตคติ บุคลิกภาพ
ค่านิยม ซึ่งจะทำให้บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ที่คุณภาพดีขึ้น มีกำลังใจในการทำงาน
ดูแลรักษารับผิดชอบงานที่ทำ แสวงหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงานของตนให้ดีขึ้น
และส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงานในที่สุด
บุคลากรทางการศึกษามีบทบาทและความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ด้านต่าง ๆ
ของงานด้านการพัฒนาการศึกษาอย่างยิ่ง ปัจจุบันภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และกระบวนการปฏิรูปการศึกษา มีการร่าง
พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ขึ้นเป็นการเฉพาะ
(อยู่ในระหว่างดำเนินการ) ซึ่งผู้ศึกษาจะได้ทราบในระยะต่อไป
งานพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาถือว่าเป็นงานสำคัญ ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ
เช่น
- การเปลี่ยนแปลงสู่กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีและวิทยาการต่าง ๆ
ทำให้ประสบการณ์เดิมและการใช้สามัญสำนึกดดยทั่วไปของบุคลากร
ไม่เพียงพอและเท่าทันต่อสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
และไม่สามารถปรับตัวได้หากไม่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกัน
- การได้มาซึ่งบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ
แม้จะมีกระบวนการคัดเลือก สรรหา ภายใต้กฎเกณฑ์
มีการระบุคุณสมบัติหรือคุณวุฒิอยู่แล้วแต่ก็มิได้เป็นหลักประกันว่า
บุคลากรเหล่านั้นจะเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่ทำ
หรือก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานแต่อย่างใด
การพัฒนาจึงเป็นการสร้างหลักประกันแก่บุคคลและหน่วยงานนั้น ๆ
- การเปลี่ยนแปลงระบบงานในองค์กรทางการศึกษา การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เข้ามาใช้ย่อมทำให้ บุคลากรเดิม
ซึ่งไม่คุ้นเคยกับสิ่งใหม่เหล่านี้มีปัญหาในการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องศึกษา
ฝึกฝนอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ดี มีประสิทธิภาพ
- บุคลากรผู้ที่ได้รับการบรรจุ เข้าทำงานใหม่ ต้องการการแนะนำเบื้องต้น เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำงาน การปฐมนิเทศ (Orientation) และการฝึกอบรมวิธีการทำงาน (in-service training) จึงมีความจำเป็น
เทคนิควิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อาจทำได้หลายวิธี เช่น การศึกษาต่อ การฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงาน เป็นต้น การจะเลือกวิธีการใดจำเป็นต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการพัฒนานั้น ๆ ประกอบว่าต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใดในตัวบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ปฏิบัติในด้านใดเป็นหลัก
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม