เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การศึกษารายบุคคล โดยทั่วไปหมายถึง การศึกษาด้วยตนเองตามความพร้อมของแต่ละคน
โดยไม่ต้องมีผู้สอน แต่อาศัยบทเรียนที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ
ที่จัดเนื้อหาและลำดับการเรียนไว้อย่างเหมาะสม ที่เรียกว่า บทเรียนโปรแกรม
การศึกษาจากสื่อมวลชนต่างๆ ของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของการศึกษาตามปกติวิสัย
อาจถือว่า เป็นการศึกษารายบุคคลได้เช่นเดียวกัน
สื่อการสอนและนวัตกรรมการศึกษารายบุคคล เช่น บทเรียนโปรแกรม หน่วยการเรียน
สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนบนเว็บและสื่อสิ่งพิมพ์
นวัตกรรมการศึกษาเป็นกลุ่มย่อย
- การศึกษาเป็นกลุ่ม ได้แก่ การศึกษาที่เป็นอยู่ตามโรงเรียน สถานศึกษาทั่วไป ซึ่งวิธีการจัดการศึกษา จะจัดให้เป็นกลุ่มๆ เนื่องจากสามารถดำเนินการได้สะดวก และได้ผลดีพอสมควร
- สื่อการสอนและนวัตกรรมการศึกษารายกลุ่มย่อย เช่น ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน สไลด์ สไลด์ประกอบเสียง สไลด์โปรแกรม สื่อประสม ภาพยนตร์ การสาธิต สถานการณ์จำลอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาองค์การและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
- การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาองค์การทางการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของ องค์การ หรือ องค์กร (Organization) ว่าหมายถึง
ที่รวมของมนุษย์กลุ่มต่าง ๆ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางอย่างร่วมกัน โดยแบ่งงานกันทำ
ผสมผสานข้อมูลร่วมกันในระบบการตัดสินใจและมีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา (อรพันธุ์
ประสิทธิรัตน์. 2528 : 95; อ้างอิงจาก Galbraith. 1997 : 3)
จากความหมายขององค์การข้างต้น สามารถนำมาอธิบายความหมายของ
องค์การทางการศึกษา (Educational Organization) ได้ว่า
เป็นที่รวมของบุคลากรฝ่ายและระดับต่าง ๆ
ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงลงมาตามลำดับสายบังคับบัญชา
จนถึงนักการภารโรงหรือพนักงานระดับต่ำสุด บุคคลเหล่านี้มีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันคือ
การจัดการศึกษาให้สำเร็จลุล่วง
บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถาบัน
หลักสูตรและแต่ละรายวิชาที่กำหนดไว้
โดยที่แต่ละคนแต่ละฝ่ายจะปฏิบีติหน้าที่ในกรอบความรับผิดชอบของตน
ที่ได้รับมอบหมายอย่างประสานสัมพันธ์กับฝ่ายอื่น ๆ ตลอดเวลา
งานพัฒนาองค์การทางการศึกษานี้
ครอบคลุมถึงการปรับปรุงระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทั้งนี้ย่อมหมายรวมถึงการพัฒนาระบบการเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากร
(ที่นำเสนอไว้ในตอนต้น) เข้าไว้ด้วย
อนึ่งงานพัฒนาองค์การทางการศึกษาไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของบุคคลหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
หากแต่เกิดจากผลรวมของการวางแผนและดำเนินการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เสมือนว่าองค์การเป็นของสมาชิกทุกคน
ส่วนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาองค์การทางการศึกษานั้น
แท้จริงแล้วมีการใช้หรือพยายามใช้อยู่ในทุกระดับและแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่
อย่างไรก็ตามในที่นี้จะมุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในสถาบันการศึกษา/การสอนต่าง
ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพของการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา
คุณภาพของการศึกษาและการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของสถาบัน
ให้ไปสู่การมีคุณภาพที่พึงประกันได้และเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องและสังคมส่วนรวมและสามารถก้าวสู่อนาคตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการนี้
จึงครอบคลุมถึงการใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การหรือสถาบัน
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างคุณภาพขององค์การทางการศึกษา
ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ
และเทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาสถาบันเฉพาะด้าน เช่น
เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร เพื่อบริการทางสังคม เพื่อสิ่งแวดล้อมของสถาบัน
เพื่อการอำนวยความสะดวก เพื่อการศึกษาวิจัย เพื่อการผลิตเอกสารตำรา
เพื่อการโภชนาการ และเพื่อการเรียนการสอนเฉพาะสาขา เป็นต้น
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม