เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
การศึกษามวลชน (Mass Education) หมายถึงการศึกษาสำหรับคนจำนวนมาก
หรือประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการศึกษาระบบเปิด โดยอาศัยสื่อมวลชน
กระจายความรู้ข่าวสารไปยังประชาชนจำนวนมาก พร้อมๆ กัน
และอาจเป็นวิธีหนึ่งของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ความหมายของสื่อมวลชนศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา หมายถึงการศึกษาหรือการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ การทำงาน และอิทธิพลของสื่อมวลชน
ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินคุณค่าของสื่อ
มีปฏิกิริยาตอบโต้สื่ออย่างมีเหตุผล สื่อมวลชนศึกษายังเป็นการฝึกทักษะการนำเสนอสื่อ
การผลิตสื่อในระดับที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดข้อมูล ความคิดเห็น ความต้องการ
ผ่านสื่อได้อย่างเหมาะสม (เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ 2538 : 22)
หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประชากรที่มีคุณภาพ คือรู้จักคิด
วิเคราะห์ ไตร่ตรอง ไม่เชื่อสิ่งต่างๆ โดยปราศจากเหตุผล และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ
ให้เป็นผู้มีความสามารถ "อ่านสื่อออกเขียนสื่อได้" (Media Literacy)
สื่อการสอนและนวัตกรรมการศึกษาแบบมวลชน เช่น
การสารโดยผ่านระบบอย่างใดอย่างหนึ่งในการโต้ตอบ อาจจะเป็นการโต้ตอบโดยการใช้
โทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือซึ่งเป็นสื่อสองทาง เช่น การประชุมทางไกล
หรือการเรียนผ่านระบบ คอนเฟอร์เร้นท์
คุณค่าด้านการศึกษาของสื่อมวลชน
วิลเบอร์ ชแรมม์
นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน
ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู
ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ
และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144)
ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ
ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด
ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสื่อมวลชนในด้านการศึกษาว่า สื่อมวลชน
นอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว
ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School)
ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
จากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สามารถสรุป คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ (ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ 2534)
1. กระตุ้นความสนใจ
การรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ
ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
ดังนั้นสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะผลิตและนำเสนอความรู้ข่าวสาร
ให้มีความน่าสนใจ สามรถทำให้คนตั้งใจรับได้นานที่สุด
ความสามรถในการกระตุ้นความสนใจของสื่อสารมวลชนแต่ละประเภทมีระดับที่แตกต่างกัน
กล่าวโดยทั่วไป วิทยุ โทรทัศน์เป็นสื่อที่กระตุ้นความสนใจผู้ชมได้ดี
เนื่องจากรูปแบบรายการของวิทยุ โทรทัศน์เอง แต่สำหรับสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์
วารสารนิตยสาร ความสนใจของผู้อ่านมักเกิดขึ้นจากแรงจูงใจภายในของผู้อ่านมากกว่า
2. ความเข้าใจเรื่องราว
สื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้
และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ คือ
- แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ นำเสนอทีละน้อย และใช้เวลาสั้น
- ใช้ภาษาง่ายๆ สำหรับคนทุกระดับ
- ดัดแปลง แต่งเติม ย่อ-ขยาย
- สร้างสิ่งจำลองหรือจินตนาการ
- ใช้ความรู้ความสามารถและทักษะของผู้ดำเนินการ
- ถ่ายทอดเรื่องราวชัดเจนตรงตามความจริง
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
จุดประสงค์ทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ทั้งด้านความรู้ความจำ ด้านทักษะและความรู้สึกภายในจิตใจ
ประสิทธิภาพของสื่อมวลชนนอกจากจะสามารถทำให้เกิดความรู้ความจำและทักษะได้ดีแล้ว
ยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล
ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
สิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติคือ
- การนำเสนอในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ ให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม
- การนำเสนอซ้ำๆ ทั้งในแบบที่ใช้เนื้อหารายการเดิมนำเสนอหลายครั้ง และการนำเสนอเนื้อหาเดิมแต่เปลี่ยนแปลงเทคนิควิธีการ
- การแสดงความคิดเห็นโน้มน้าวจิตใจ
- นำเสนอเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น เกี่ยวกับความยากจน การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ความทันสมัย
4. คุณค่าของเนื้อหา
เนื้อหาที่เสนอทางสื่อสารมวลชน มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3
ประเภทคือ
- ความหลากหลาย สื่อมวลชนมักนำเสนอเนื้อหาทุกประเภท เช่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม และวิชาเฉพาะสาขาต่างๆ เปิดโอกาสให้เลือกใช้สำหรับการศึกษาอย่างกว้างขวาง
- ความทันสมัย เนื้อหาตามหลักสูตร รวมถึงตำรา แบบเรียน ที่ใช้สอนสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียนเมื่อกำหนดเรื่องใช้ครั้งหนึ่งมักจะใช้ติดต่อกันไปเป็นเวลานาน บางอย่างไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่สื่อมวลชนมักนำเสนอเนื้อหาที่ใหม่ เป็นปัจจุบัน
- ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม เนื้อหาที่ทำการสอนในระบบโรงเรียนทั่วไป ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต่างกับเนื้อหาของสื่อมวลชนที่มักนำเสนอเฉพาะเนื้อหาเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
เนื่องจากสื่อมวลชนมุ่งเสนอข่าวสำหรับคนทั่วไป จึงมีความสะดวกต่อการรับ
ตามความพร้อมและโอกาสของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะสื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์
ที่สามารถรับที่ไหน เมื่อใดก็ได้ จึงส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตามปกติวิสัยได้มาก
อีกทั้งในปัจจุบันสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากขึ้น
ผู้คนจึงมีโอกาสได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชนได้ง่าย ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ไม่ว่าผู้รับจะมีความตั้งใจที่รับหรือไม่ก็ตาม
6. การลงทุนทางการศึกษา
ในด้านของผู้รับถือว่าการศึกษาจากสื่อมวลชนเป็นการลงทุนที่ถูกมาก
เมื่อเปรียบเทียบ กับการลงทุนของสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์
ผู้รับสามารถซื้ออ่านได้ในราคาเพียงไม่กี่บาท
ถูกกว่าครึ่งหนึ่งของราคากระดาษที่ใช้พิมพ์เสียอีก ในขณะที่ผู้ผลิตต้องลงทุนสูงมาก
วิทยุโทรทัศน์ ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งต้องลงทุนมหาศาลในแต่ละสถานี
แต่ฝ่ายผู้รับลงทุนเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเครื่องรับ
ก็สามารถรับรายการวิทยุโทรทัศน์ได้ทุกสถานี
ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน ถือว่าการเผยแพร่ความรู้ข่าวสารทางสื่อมวลชน
เป็นการลงทุนที่ต่ำ
เนื่องจากสื่อมวลชนสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ประชาชนได้เป็นจำนวนมาก
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม