สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การยุติสงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนามได้ดำเนินไปถึง 7 ปี แต่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังไม่กระเตื้องขึ้นแม้แต่น้อย มีแต่การสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และความอดอยากยากแค้นไปทั่ว การรบไม่มีผลแพ้ชนะกันโดยเด็ดขาด ฝ่ายเวียดนามเหนือ และเวียดกงได้ดำเนินการรุกทางการเมือง ควบคู่ไปกับการทหาร ด้วยการลวงฝ่ายโลกเสรีว่าต้องการสันติภาพ และร้องขอให้มีการเจรจาสงบศึกขึ้นที่กรุงปารีส ได้มีการเจรจากัน 146 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2511 จนถึงเดือน มกราคม 2515 เริ่มตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี จอห์นสัน จนถึงสมัยประธานาธิบดี นิกสัน ของสหรัฐฯ แต่การเจรจาไม่มีผลคืบหน้า ฝ่ายเวียดนามเหนือ และเวียดกง จะถือโอกาสใช้ที่ประชุมเจรจาเป็นสถานที่โฆษณาชวนเชื่อ และเป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อใดที่ฝ่ายเวียดนามเหนือ และเวียดกงเพลี้ยงพล้ำในด้านการทหาร จะต้องเสนอขอเจรจาสันติภาพทันที เพื่อประวิงเวลาในการปรับกำลังทหารเข้าโจมตีเวียดนามใต้ใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2514 - 2515 ขณะที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาภายในประเทศอย่างหนัก ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาคนว่างงาน และปัญหาการขาดแคลนน้ำมันภายในประเทศ ฝ่ายเวียดนามเหนือ และเวียดกงได้ฉวยโอกาส เพิ่มการปฏิบัติการทางจิตวิทยาในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน โดยชี้ให้เห็นว่าการที่สหรัฐฯ อยู่ในภาวะดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สหรัฐฯ ส่งทหารเข้าไปทำสงครามในเวียดนามถึง 600,000 คน และใช้งบประมาณ ปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึงปี พ.ศ. 2514

ผลการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว ทำให้ประชาชนชาวอเมริกันเรียกร้องให้รัฐบาลถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ และยุติการช่วยเหลือทั้งสิ้น โดยมีการเดินขบวนทั่วประเทศ เป็นผลให้รัฐสภาสหรัฐฯ ลงมติให้ถอนทหารอเมริกันออกจากเวียดนามใต้ พร้อมกับตัดทอนการช่วยเหลือแก่เวียดนามใต้ ประธานาธิบดีนิกสัน จำต้องเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับเวียดนามใต้ และประกาศหลักการนิกสัน (Nixon's Doctrine) สหรัฐฯ ได้ดำเนินการถอนกำลังทหารออกจากเวียดนามใต้ และให้เวียดนามใต้ใช้โครงการช่วยเหลือตนเอง ในการป้องกันทหารทหาร (Vietnamization) โดยมอบอาวุธหลักให้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้กำลังของฝ่ายโลกเสรีที่ส่งไปร่วมรบในเวียดนามใต้ จึงตัดสินใจถอนกำลังของชาติตนกลับเช่นกัน รวมทั้งประเทศไทย

ประธานาธิบดีนิกสันได้แถลงนโยบายของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดสันติภาพขึ้นในเวียดนามใต้รวม 8 ข้อด้วยกัน มีใจความว่า กำลังทหารทั้งหมดที่ไม่ใช่ของเวียดนามใต้ จะเริ่มถอนออกจากเวียดนามใต้เมื่อได้ตกลงเห็นชอบร่วมกันแล้ว การถอนจะถอนเป็นขั้น ๆ ภายใน 12 เดือน กำลังเวียดนามเหนือที่อยู่ในเวียดนามใต้ ก็ต้องกลับไปเช่นเดียวกัน ให้คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ที่ทั้งสองฝ่ายรับรองควบคุมดูแลการถอนทหารของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นตามวิธีการที่เห็นชอบร่วมกัน โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของกรรมาธิการระหว่างประเทศ ให้มีการตกลงเกี่ยวกับการส่งคืนเชลยศึก และทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2497 เรื่องเวียดนาม และกัมพูชา กับข้อตกลงเรื่องลาว พ.ศ. 2505

สหรัฐฯ ได้เริ่มถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2512 เป็นต้นมา และกำลังรบชุดสุดท้ายได้เดินทางออกจากเวียดนาม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2515 เหลือไว้เพียงเจ้าหน้าที่ทางธุรการเท่านั้น และเมื่อได้มีการลงนามในความตกลงสงบศึกสงครามเวียดนามที่กรุงปารีส ในเดือนมกราคม 2516 แล้ว ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้ายได้เดินทางออกจากเวียดนามใต้ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2516

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย