สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 - 6 (11 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2495)
ปฏิบัติการคุ้มกันขบวนเรือลำเลียงที่เดินทางไปยังอ่าววอนชาน และซองจิน

การผลัดเปลี่ยนกำลังพล
ทหารประจำเรือรุ่นที่ 4 ชุดที่ 1 จำนวน 163 คน เดินทางมาถึงฐานทัพเรือซาเซโบ เมื่อ 30 พฤษภาคม 2495 หลังจากที่ได้ดำเนินกรรมวิธีต่าง ๆ แล้วได้ลงประจำเรือ เมื่อ 15 มิถุนายน 2495

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 7 - 8 (5 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2495)
ปฏิบัติการคุ้มกันขบวนเรือลำเลียงที่บริเวณเกาะอูลลัง อ่าววอนชาน และซองจิน

การผลัดเปลี่ยนกำลังพล
กำลังพลรุ่นที่ 2 ชุดที่ 2 จำนวน 70 คน โดยสารรถไฟจากเมืองโยโกฮามา

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 9 - 12 (14 พฤษภาคม - 8 พฤศจิกายน 2495)
ปฏิบัติการคุ้มกันเรือลำเลียงเดินทางไปอ่าววอนชาน และซองจิน ระดมยิงฝั่งที่หมายรถไฟ ลาดตระเวณ รักษาการณ์ในอ่าววอนชานเหนือเกาะชิน ด้านใต้บริเวณตะวันออกของแหลมกัลมากัก ลาดตระเวณเหนือเกาะอัง เกาะโย เมืองฮุงนำ คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์

การเข้าอู่ซ่อมที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะ
ใช้เวลาซ่อม 10 สัปดาห์ ค่าซ่อม 40,000 เหรียญสหรัฐฯ

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 13 - 14 (27 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2496)
การปฏิบัติการคุ้มกันขบวนเรือลำเลียงไปยังอ่าววอนชาน และคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมัน

การผลัดเปลี่ยนกำลังพล
ผู้บังคับการเรือหลวงประแสคนใหม่ พร้อมด้วยกำลังพล รุ่นที่ 5 ชุดที่ 1 จำนวน 205 คน เดินทางมาผลัดเปลี่ยน แล้วลงประจำเรือ เมื่อ 14 มีนาคม 2496 และรุ่นที่ 5 ชุดที่ 2 จำนวน 214 คน เดินทางมาถึง เมื่อ 20 เมษายน 2496

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 15 - 22 (27 มีนาคม - 9 พฤศจิกายน 2496)
ปฏิบัติการคุ้มกันเรือลำเลียงไปส่งยุทธสัมภาระให้กับเรือรบในพื้นที่ปฏิบัติการ ทางฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเกาหลีเหนือ คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันเดินทางไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้ หมู่เรือพิฆาต และเรือลาดตระเวณที่กำลังปฏิบัติการอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาหลีเหนือ คุ้มกันขบวนเรือลำเลียงไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สรรพาวุธ และพัสดุให้กับกองเรือเฉพาะกิจที่ 77 คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ

การเดินทางกลับมาผลัดเปลี่ยนกำลังพลในไทยครั้งแรก
30 พฤศจิกายน 2496 เรือหลวงประแสออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ถึงกรุงเทพฯ เมื่อ 9 ธันวาคม 2496 หลังจากผลัดเปลี่ยนกำลังพลประจำเรือส่วนหนึ่งแล้วก็เดินทางกลับไปเกาหลี ถึงฐานทัพเรือซาเซโบเมื่อ 3 มกราคม 2497

การปฏบัติการ ครั้งที่ 23 - 29 (9 มกราคม - 20 เมษายน 2497)
การปฏิบัติการคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมัน และเรือลำเลียงไปปฏิบัติการในน่านน้ำเกาหลีเหนือ คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้กองเรือเฉพาะกิจที่ 77 คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เรือรบในพื้นที่ปฏิบัติการ

การเดินทางกลับมาผลัดเปลี่ยนกำลังพลในประเทศไทยครั้งที่ 2
เรือหลวงประแสออกเดินทาง เมื่อ 23 มิถุนายน 2497 ถึงกรุงเทพฯ เมื่อ 5 กรกฎาคม 2497 ผู้บังคับการเรือคนใหม่เข้ารับหน้าที่ ทหารประจำเรือรุ่นที่ 6 ชุดที่ 2 ผลัดเปลี่ยนรับ - ส่งหน้าที่ 20 กรกฎาคม 2497 ออกเดินทางจากประเทศไทย ถึงฐานทัพเรือซาเซโบ เมื่อ 28 กรกฎาคม 2497

การปฏิบัติการ ครั้งที่ 30 - 32 (7 สิงหาคม - 30 กันยายน 2497)
ปฏิบัติการคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ให้แก่เรือในพื้นที่ปฏิบัติการ คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เรือพิฆาตสหรัฐฯ ในน่านน้ำเกาหลีเหนือ

การเดินทางกลับประเทศไทย
เนื่องจากการเจรจาสงบศึกเป็นที่ตกลงกันได้แล้ว และได้มีการลงนามร่วมกันในความตกลงสงบศึก เมื่อ 27 กรกฎาคม 2497 สถานการณ์รบในเกาหลีสงบลงมากแล้ว ชาติพันธมิตรหลายชาติที่ไปร่วมรบในสงครามเกาหลี เริ่มถอนกำลังกลับ ประกอบกับในปลายปี พ.ศ. 2497 สถานการณ์ในอินโดจีนฝรั่งเศสตึงเครียดหนัก มีการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ และมีทีท่าว่าภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ อาจลุกลามถึงประเทศไทยได้ รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายถอนกำลังทหารกลับ โดยได้ปรึกษาหารือกับกองบัญชาการสหประชาชาติ เมื่อได้รับคำยืนยันว่าไม่ขัดข้องแล้ว กระทรวงกลาโหมจึงได้มีคำสั่ง เมื่อ 6 มกราคม 2498 ให้

ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย

สำหรับกำลังทางเรือกำหนดให้ ถอนกำลัง มส.พร้อมด้วยเรือหลวงท่าจีน เรือหลวงประแส และให้เรือหลวงทั้งสองลำ ทำหน้าที่คุ้มกันเรือลำเลียงทหารบกในระหว่างเดินทางกลับด้วย

วันที่ 21 มกราคม 2498 เรือหลวงทั้งสองลำได้อำลากองเรือสหประชาชาติ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ไปยังเมืองท่าปูซานเพื่อรับเรือสินค้าอิโกะ ซึ่งลำเลียงกำลังพลทหารไทยผลัดที่ 6 (หย่อน 1 กองร้อย) แล้วทำการคุ้มกันระหว่างเดินทางกลับประเทศไทย ถึงท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อ 31 มกราคม 2498 จากนั้นกำลังพลได้เดินทางไปร่วมพิธีสวนสนาม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธี

หมู่เรือปฏิบัติการร่วมกับสหประชาชาติ (มส.) สิ้นสุดภารกิจ รวมระยะเวลาที่ไปปฏิบัติการ 4 ปี 3 เดือน 18 วัน


กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย