สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
ในปี พ.ศ. 2511 กองทัพอากาศได้ปรับปรุงอัตราหน่วยบินจาก 20 คน เป็น 25 คน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานกับเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 123 B จำนวน 2 เครื่อง ที่ได้รับมอบจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ อัตรานี้ใช้กับชุดที่ 18 และ 19 เท่านั้น ต่อมาเมื่อได้รวบรวมหน่วยพยาบาลทางอากาศเข้าไว้ด้วย จึงมีจำนวนเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 27 คน และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้ลดลงเหลือ 25 คน โดยลดและเพิ่มอัตราต่าง ๆ ให้เหมาะสม
หน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 ยังขึ้นสมทบกับฝูงบินปฏิบัติการ 6485 กองบินใหญ่ลำเลียงที่ 374 กองพลบินที่ 315 สหรัฐฯ ตามเดิม แต่ตั้งแต่หน่วยบินที่ 19 เป็นต้นมา กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนแปลงการจัดกำลังในกองทัพอากาศที่ 5 สหรัฐฯ ที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับการปฏิบัติการในเกาหลีใหม่ จึงให้หน่วยบินลำเลียงของไทยไปขึ้นการบังคับบัญชา สายธุรการของกองบัญชาการสหประชาชาติส่วนหลัง และอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของ กองบินใหญ่ขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 347 สหรัฐฯ (347 th Tactical Wing) มีที่ตั้งอยู่ที่ฐานบินโยโกตะ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของฐานบินตาชิกาวาห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ส่วนงานด้านธุรการ และส่งกำลังบำรุงให้ขึ้นกับกองบินใหญ่บริการฐานบินที่ 475 สหรัฐฯ (475 th Air Base Wing)
ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2519 ชาติพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ในกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี คงเหลือเพียง 3 ชาติ คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และไทยเท่านั้น หน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24 ยังคงได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติการบินลำเลียงขนส่งทางอากาศ ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้เป็นครั้งคราว แต่ลดจำนวนเที่ยวบินลงจากเดิมเป็นจำนวนมาก
ในปลายปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้ถอนกำลังหน่วยบินลำเลียงกลับประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองของญี่ปุ่นต้องการเร่งรัดให้กองกำลังทหารต่างชาติ ถอนตัวออกไปจากญี่ปุ่น กองทัพอากาศจึงได้รายงานขออนุมัติ ถอนหน่วยบินลำเลียงกลับ
กระทรวงกลาโหมอนุมัติตามที่กองทัพอากาศเสนอ และให้หน่วยบินลำเลียงชุดที่ 24
เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อ 26 กรกฎาคม 2519 โดยได้นำเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 123
B จำนวน 2 เครื่อง พร้อมเจ้าหน้าที่ 24 คน เดินทางออกจากสนามบินโยโกตะ
แวะพักที่สนามบิน คาดินา ในเกาะโอกินาวา สนามบินมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
สนามบินบรูไน ประเทศบรูไน สนามบินเซเลดาร์ ประเทศสิงคโปร์ ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง
เมื่อ 30 กรกฎาคม 2519
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี