สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการของทหารอากาศ

ในขั้นต้น กองทัพอากาศได้พิจารณาที่จะจัดส่งฝูงบินสื่อสาร ไปร่วมปฏิบัติการกับกองบัญชาการสหประชาชาติ แต่ได้ยกเลิกไปและได้ส่งกำลังไปร่วมปฏิบัติการรวม 2 หน่วย คือ หน่วยพยาบาลทางอากาศ และหน่วยบินลำเลียง

หน่วยพยาบาลทางอากาศ

กองบัญชาการสหประชาชาติ ได้กำหนดนโยบายการส่งกลับทหารบาดเจ็บ และป่วยไข้ในสงครามเกาหลีไว้ว่า จะได้รับการรักษาพยาบาลขั้นต้น ที่โรงพยาบาลสนามในเกาหลีก่อน ต่อจากนั้นจะส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลทหารต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลา 120 วัน ให้นำกลับไปรักษาต่อที่ประเทศของตน

ทางการไทยได้รับคำแนะนำจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคตะวันออกไกล (Fae Eastern Air Force:FEAF) ให้จัดชุดพยาบาลส่งกลับทางอากาศ (Medica Air Evacuation Team) สำหรับดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ในระหว่างการเดินทาง จากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย

ชุดพยาบาลส่งกลับทางอากาศจัดไว้ 3 ชุด ๆ ละ 2 คน โดยส่งไปประจำอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น 2 ชุด อีก 1 ชุดสำรองอยู่ที่ประเทศไทย ในการนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ใช้เครื่องบินของหน่วยบริการขนส่งทางอากาศสหรัฐฯ (MATS) ในสายที่เรียกว่า Embassy Flight ซึ่งบินในเส้นทางระหว่าง โตเกียว - โอกินาวา - มะนิลา -ไซ่ง่อน - กรุงเทพฯ - พม่า - กัลกัตตา - นิวเดลี - ไคโร สำหรับการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บได้เดือนละ 2 เที่ยวบิน ๆ ละไม่เกิน 6 คน พร้อมด้วยชุดพยาบาลทางอากาศ 1 ชุด โดยให้เริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2493 เป็นต้นไป

การปฏิบัติงานมิได้จำกัดต่อทหารไทยเท่านั้น แต่ยังต้องปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์และพยาบาลสหรัฐฯ ในการรักษาพยาบาลทหารกองกำลังสหประชาชาติ ระหว่างเดินทางจากเกาหลีใต้ไปยังโรงพยาบาลทหารสหรัฐฯ ในญี่ปุ่นด้วย ต้องช่วยปฏิบัติงานในหน่วยคัด แยกเพื่อส่งกลับทางอากาศ (Medical Air Evacuation Separation) โดยจัดพยาบาลไปประจำที่สนามบินเพื่อช่วยคัดแยก ผู้ป่วยเจ็บที่มาจากเกาหลีใต้เข้าตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

ชุดพยาบาลทางอากาศ รุ่นที่ 1 ชุดที่ 1 และ 2 ออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อ 26 ธันวาคม 2493 โดยเครื่องบินของหน่วยบริการขนส่งทางอากาศสหรัฐฯ ไปยังกรุงโตเกียว ในระหว่างปี พ.ศ. 2493 - 2494 หน่วยนี้ได้ใช้สำนักงานร่วมกับสำนักงานนายทหารติดต่อ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ในกรุงโตเกียว และตั้งแต่ พ.ศ. 2501 - 2519 สำนักงานกับที่พักแพทย์พยาบาลทั้งหมดได้ย้ายไปอยู่ในฐานบินตาชิกาวา

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย