สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
พื้นที่บริเวณบ้านฟุกโถ ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง เมื่อน้ำลดจะกลายเป็นโคลนสภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา ป่า สวน แม่น้ำ ลำคลอง มีหญ้าคาขึ้นสูงท่วมศีรษะ ป่าส่วนมากเป็นป่าละเมาะป่าไผ่ ป่าชายเลน สวนยาง และสวนมะม่วงหิมพานต์ ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนชราสตรีมีครรภ์ และเด็ก ซึ่งเป็นฝ่ายเวียดนามใต้ แต่ชายฉกรรจ์ทุกคน ถูกเวียดกงบีบบังคับให้เป็นผู้ส่งเสบียงให้เวียดกงซึ่งจำใจต้องทำเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าตามเขาไม่ปรากฏตัวออกมาให้เห็น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวกองร้อยอาวุธเบาของไทยที่อยู่ในพื้นที่ต้องส่งกำลัง1 หมู่ออกไปช่วยเก็บเกี่ยว และให้ความคุ้มครองชาวบ้านเหล่านี้
ฐานที่ตั้งกองร้อยอาวุธเบาที่ 1 คร่อมทับอยู่บนถนนสาย 319 ทางทิศใต้ของหมู่บ้านฟุกโถวางแนวที่มั่นตั้งรับเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 เมตร มีคูติดต่อถึงกันรั้วใช้ลวดหนามหีบเพลงเป็นเครื่องกีดขวางตลอดแนวที่มั่น ฝ่ายเราได้ดำรงการเกาะเวียดกงตลอดเวลาทั้งการตรวจการณ์และการลาดตระเวน ด้วยการออกไปลาดตระเวนและซุ่มโจมตี หมุนเวียนกันทั้งกลางวันและกลางคืน ผลัดกลางวันเรียกว่า ชุดซุ่มโจมตี(Ambush) ผลัดกลางคืนเรียกว่า ชุดเฝ้าตรวจ(Watching)
ในคืนวันที่ 18 ธันวาคม 2510 เวลา 22 .10 น. เวียดกงได้เริ่มระดมยิงฐานกองร้อยด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 82 มิลลิเมตร อย่างรุนแรง เวียดกงได้ใช้กำลังขนาดใหญ่บุกเข้าโจมตีกองร้อยอาวุธเบาที่1 ถึงสามด้านพร้อมกัน เวียดกงได้ระดมกันเข้าทำลายรั้วลวดหนามหีบเพลง และสามารถตีเจาะเข้าไปในหมวดปืนเล็กที่1 ได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ถูกยิงตายเป็นจำนวนมากเวียดกงไม่สามารถเจาะเข้าไปถึงที่บังคับการกองร้อยได้ ด้านหมวดปืนเล็กที่2 เวียดกงได้ส่งกำลังบุกเข้าโจมตีเต็มกว้างด้านหน้าเป็นหลายระลอกระลอกแรกใช้ระเบิดขว้างทำลายลวดหนาม แต่เจาะแนวเข้ามาไม่ได้ มีกำลังบางส่วนบุกเข้าตรงรอยต่อระหว่างหมวดแล้วใช้ทุ่นระเบิดวงเดือนทำลายรั้วลวดหนาม สามารถเจาะผ่านแนวรั้วลวดหนาม และผ่านคูติดต่อเข้าไปจึงเกิดการรบขั้นตะลุมบอน แนวรั้วลวดหนามบางแห่งเวียดกงใช้ไม้กระดานพาดแล้วปีนข้ามไปแต่เนื่องจากพวกเวียดกงไม่คุ้นกับสภาพของฐานที่มั่นของไทย จึงเหยียบถูกลูกระเบิดและสะดุดกับพลุส่องแสงที่วางไว้รอบฐาน ระหว่างนั้นเครื่องบินสปุ๊คกี้(Spooky)ก็ได้ไปทิ้งพลุส่องสว่าง ปืนใหญ่ของกรมทหารอาสาสมัครได้ช่วยยิงกระสุนส่องแสงทำให้บริเวณฐานที่ตั้งสว่างไสวไปทั่ว ฝ่ายเราจึงมองเห็นฝ่ายเวียดกงได้ชัดเจนจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบสามารถสังหารเวียดกงได้เป็นจำนวนมาก ข้าศึกส่วนใหญ่ติดอยู่ที่คูติดต่อไม่สามารถเจาะผ่านเข้าไปได้ด้านหมวดปืนเล็กที่ 3 การต่อสู้เป็นไปอย่างรุนแรงจนเที่ยงคืน ข้าศึกจึงถอยกลับไปแล้วก็กลับรวมกำลังเข้าโจมตีอีก แต่ไม่สามารถผ่านแนวต้านทานเข้าไปได้
การต่อสู้ดำเนินไปเป็นเวลาเกือบ 5 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลา 03.00 น. ข้าศึกจึงเริ่มถอนตัวออกจากแนวต้านทานของหมวดปืนเล็กต่างๆ ของไทย ต่อมาเมื่อเวลา 04.00 น. เมื่อการยิงของพวกเวียดกงเบาบางลงผู้บังคับกองร้อยจึงส่งกองหนุนบรรทุกรถสายพานลำเลียงพล2 คัน ออกปฏิบัติทางด้านเข้าตีหลักของเวียดกง และขอให้ปืนใหญ่เลื่อนฉากการยิงออกไปเพื่อทำลายกำลังและสกัดกั้นการถอนตัวของเวียดกง การรบยุติลงเมื่อเวลา 0530น.
ผลการรบฝ่ายเราเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บสาหัส 9 คน ฝ่ายเวียดกงเสียชีวิตนับศพได้95 ศพ เสียชีวิตแต่นำศพกลับไปได้ 90 ศพ (ตามคำให้การของเชลยศึก) บาดเจ็บ 80คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน ยึดอาวุธฝ่ายเวียดกงได้เป็นจำนวนมาก
การรบที่ฟุกโถ นับเป็นการรบที่กรมทหารอาสาสมัครของไทยประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดถือได้ว่าเป็นวันแห่งชัยชนะของไทย ในสมรภูมิต่างแดน และยังผลในการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารเวียดนามใต้เป็นอันมาก
กรมทหารอาสาสมัครของไทยได้รับคำชมเชยจากพลเอกเวสท์มอร์แลนด์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการช่วยเหลือทางทหารสหรัฐฯประจำเวียดนามใต้ และพลเอกเถาวันเวียน ประธานคณะเสนาธิการผสม กองทัพเวียดนามใต้
คำชมเชยที่ได้รับของกรมทหารอาสาสมัคร
การปฏิบัติการของกรมทหารอาสาสมัคร ที่รู้จักกันดีในฉายาจงอางศึก ตลอดระยะเวลา1 ปี ในสมรภูมิเวียดนาม เป็นที่ชื่นชมและได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากหน่วยเหนือและบรรดากองกำลังชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีเป็นอันมาก นอกจากนี้กองทัพบกสหรัฐฯยังได้มอบเกียรติบัตรชมเชยการปฏิบัติการเป็นหน่วย (Award of the MeritoriousUnit Commendation) แก่กรมทหารอาสาสมัครเมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2511
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี