สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก

นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2494 เป็นต้นมา การสู้รบด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่มีอีก ฝ่ายกองทัพสหประชาชาติ หลังจากที่สกัดศึกใหญ่แล้ว ก็มิได้มีแผนการที่จะเข้าตีซ้ำเติมเพื่อเผด็จศึกแต่ประการใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศภาคีสมาชิกสหประชาชาติว่า จะให้ปฏิบัติการได้เพียงใด การดำเนินการของกองทัพสหประชาชาติอาจจะทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ให้กองทัพสหประชาชาติดำเนินการสงครามต่อไปจนได้ชัยชนะเด็ดขาด วิธีนี้จำเป็นต้องได้รับกำลังรบเพิ่มเติม และกำลังทางอากาศของกองทัพสหประชาชาติ จะต้องได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติการผ่านชายแดนเกาหลีเข้าไปในแมนจูเรีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน

วิธีที่ 2 ให้กองทัพสหประชาชาติวางแนวป้องกันตรึงอยู่ในแนวเขตแดนเท่าที่ยึดครองได้แล้ว ให้สหประชาชาติเจรจายุติการสงครามเอง

พลเอก แมก อาเธอร์ เตรียมที่จะปฏิบัติการตามวิธีที่ 1 แต่บรรดาภาคีสหประชาชาติส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ประธานาธิบดี ทรูแมน และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสหรัฐฯ ก็ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าภารกิจของกองทัพสหประชาชาติได้สำเร็จลงแล้ว คือขับกองทัพเกาหลีเหนือผู้รุกรานให้ถอยกลับข้ามเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปทางเหนือ ตามมติคณะมนตรีความมั่นคง เมื่อ 27 มิถุนายน 2494

เนื่องจากมีอุปสรรค และความขัดแย้งต่าง ๆ ในการที่จะให้กองทัพสหประชาชาติรุกขึ้นไปยังแม่น้ำยาลู ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดน ระหว่างเกาหลีเหนือกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน พลเอก แมทธิว อาร์ ริจเวย์ (Malthew R. Ridgway) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพสหประชาชาติ จึงสั่งให้ พลโท แวนฟลีต แม่ทัพกองทัพที่ 8 สหรัฐฯ เป็นผู้บังคับบัญชาทหารบกทั้งหมดของกองทัพสหประชาชาติในเกาหลี วางกำลังป้องกันบริเวณเส้นขนานที่ 38 และเตรียมการจะส่งกำลังข้ามเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเมื่อเห็นว่าเหตุการณ์จำเป็น และได้เปรียบข้าศึก

นายทริกเว ลี (Trygve Lie) เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในเดือน พฤษภาคม 2494 ว่า บัดนี้ถึงเวลาอันสมควรที่จะได้เจรจา เพื่อให้เกิดสันติภาพในประเทศเกาหลีแล้ว และมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่มีอยู่เดิมก็จะเป็นผลสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อ 23 มิถุนายน 2494 นายมาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหภาพโซเวียต ได้กล่าวทางวิทยุกระจายเสียงของสหประชาชาติ เสนอให้มีการเจรจาสงบศึกในเกาหลี และต่อมาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ได้ประกาศทางวิทยุ สนับสนุนข้อเสนอของสหภาพโซเวียต

อำนาจหน้าที่ในการเจรจา เพื่อสงบศึกนั้น ที่ปรึกษากฎหมายของเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอความเห็นแก่เลขาธิการสหประชาชาติว่า กองบัญชาการกองทัพสหประชาชาติ มีอำนาจเจรจาโดยตรงกับฝ่ายข้าศึกได้ เฉพาะปัญหาในการทหารเท่านั้น และเมื่อตกลงประการใด จะต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบ

พลเอก ริจเวย์ ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพสหประชาชาติแทน พลเอก แมคอาร์เธอร์ ซึ่งถูกประธานาธิบดี ทรูแมนของสหรัฐฯ สั่งปลดออกจากตำแหน่ง เมื่อ 11 เมษายน 2494 เพราะเกรงว่าตามแผนของ พลเอก แมค อาร์เธอร์ อาจเป็นชะนวนให้เกิดสงครามโลก พลเอก ริจเวย์ ได้ตอบรับข้อเสนอของนายมาลิก โดยประกาศทางวิทยุกระจายเสียงของสหประชาชาติ เมื่อ 29 มิถุนายน 2494 และเสนอว่าควรจะมีการเจรจากันในเรือ จัทแลนเดีย (Jutlandia) ซึ่งเป็นเรือพยาบาลของเดนมาร์กในอ่าววอนซาน แต่ฝ่ายแม่ทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานาธิบดีเกาหลีเหนือเสนอว่าควร เจรจากันที่เมืองเคซอง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโซล

การเจรจาเพื่อสงบศึกได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเคซอง เมื่อ 10 กรกฎาคม 2494 ต่อมาได้ย้ายไปเจรจากันที่ ตำบลปันมุมจอม (Punmumjom) โดยมีพลเรือโท จอย ผู้บัญชาการทหารเรือสหรัฐฯ ภาคตะวันออกไกล เป็นหัวหน้าฝ่ายกองทัพสหประชาชาติในการเจรจา ฝ่ายตรงข้ามมีพลเอกนัมมิลเสนาธิการทหารบก และรองนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือเป็นหัวหน้าในการเจรจา การเจรจาดำเนินไปอย่างชิงไหวชิงพริบกัน การปะทะกันทั้งทางบก และการโจมตีทางอากาศคงดำเนินการต่อไป

กองพันทหารไทยผลัดที่ 5 ไปรับหน้าที่ตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2496 ขึ้นบังคับบัญชา ทางยุทธการกับกรมทหารราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ต้องทำการรบกับข้าศึกหลายครั้งก่อนที่จะได้มีการลงนามในข้อตกลงสงบศึก

หัวหน้าแผนกนายทหารติดต่อ กองบัญชาการกองทัพสหประชาชาติ ได้เชิญหัวหน้านายทหารไทยประจำกองทัพสหประชาชาติ (พันเอก ชาญ อังศุโชติ) เมื่อเดือน มิถุนายน 2494 เพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องการเจรจาเพื่อสงบศึก ในการนี้จะมีนายทหารสหรัฐฯ 3 คน นายทหารอังกฤษ 1 คน และนายทหารสาธารณรัฐเกาหลี 1 คน รวม 5 คน เป็นผู้แทนฝ่ายกองทัพสหประชาชาติ แต่เนื่องจากประธานาธิบดี ซิงมันรี ของเกาหลีใต้ต้องการให้เผด็จศึก โดยให้กองทัพสหประชาชาติรุกผ่านเกาหลีเหนือไปจนถึงแม่น้ำยาลู เพื่อจะได้รวมประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวกัน เห็นว่าการเจรจาสงบศึกเท่ากับเป็นการยอมจำนนแก่ข้าศึก ทำให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ และอาจเกิดสงครามโลกครั้งที่สามได้ ประธานาธิบดีซิงมันรี ได้ออกแถลงการณ์ เมื่อ 6 มิถุนายน 2496 และแจ้งให้ พลเอก คล๊าค ซึ่งมารับหน้าที่ต่อจาก พลเอก ริจเวย์ เมื่อ 12 พฤษภาคม 2496 ความโดยสรุปว่า ขอให้ทหารชาติต่าง ๆ ถอนทหารออกจากคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังที่ได้มีการตกลงในสัญญาระหว่าง สหรัฐฯ กับ สาธารณรัฐเกาหลีแล้ว โดยสหรัฐฯ จะต้องรับประกันว่า จะให้ความช่วยเหลือแก่ สาธารณรัฐเกาหลีในทางทหาร ให้การสนับสนุนในกรณีที่ สาธารณรัฐเกาหลีถูกรุกราน และให้สหรัฐฯ มีกำลังทหาร อากาศ และทหารเรือ ส่วนหนึ่งอยู่ในบริเวณตะวันออกไกลด้วย หากไม่ตกลงตามนี้ สาธารณรัฐเกาหลีจะทำการสู้รบต่อไป

ในการนี้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกองบัญชาการกองทัพสหประชาชาติคาดว่า ผู้แทนสาธารณรัฐเกาหลีคงจะไม่ไปร่วมในการลงนามในข้อตกลงสงบศึก จึงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยได้ส่งกำลังเข้าร่วมปฏิบัติการกับกองทัพสหประชาชาติอย่างห้าวหาญ จึงเสนอให้รัฐบาลไทยส่งนายทหารชั้นนายพล 1 ท่าน มาเป็นกรรมการสงบศึกฝ่ายสหประชาชาติ (U.N. Military Commission) แทนสาธารณรัฐเกาหลี ถ้ารัฐบาลไทยไม่รับ ก็จะได้ขอให้รัฐบาลตุรกี ส่งผู้แทนมาเป็นกรรมการฯ แทน ทางราชการไทยได้ส่ง พลตรี ถนอม กิตติขจร มาเป็นกรรมการฯ โดยได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นใน 25 กรกฎาคม 2496 และได้กำหนดวันทำพิธีลงนามในข้อตกลงสงบศึกใน 27 กรกฎาคม 2496 ซึ่งมีเอกสารอยู่ 9 ฉบับ มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษ เกาหลี และจีน

ข้อตกลงสงบศึกที่ปันมุมจอมนี้เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง ใช้เวลา 2 ปี 17 วัน

ต่อมากระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่ง ลง 9 กันยายน 2496 ให้พลตรี หม่อมเจ้าชิดชนก กฤษดากร เจ้ากรมการทหารม้า และรักษาราชการเจ้ากรมข่าวทหารบก เป็นกรรมการในคณะกรรมการสงบศึกฝ่ายทหารแทน พลตรี ถนอม กิตติขจร เมื่อ 9 กันยายน 2496 พลตรีหม่อมเจ้าชิดชนกฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่จนถึง 1 พฤศจิกายน 2497 จึงจบภารกิจ

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย