สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3

จากการเฝ้าตรวจการณ์ทางอากาศของหน่วยเหนือมีสิ่งบอกเหตุแสดงว่า ฝ่ายข้าศึกจะต้องเข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอปอีกครั้งอย่างแน่นอน ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าตีของข้าศึกสองครั้งที่ผ่านมา ได้มาปรับปรุงการตั้งรับของหน่วยให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะที่กำบังปิด ให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานอาวุธหนักของข้าศึกได้ดีขึ้นกว่าเดิม และได้ปรับฉากการยิงวงแหวนเหล็กเสียใหม่ ให้สามารถทำลายข้าศึกที่เข้ามาหน้าที่มั่นระยะใกล้อย่างมีประสิทธผล

ในการเข้าตีครั้งนี้ฝ่ายข้าศึกได้ยิงรบกวนด้วยอาวุธหนักชนิดต่าง ๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืนเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ในคืนที่สามคือ คืนวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 ตอนค่ำ ข้าศึกได้ระดมยิงอย่างหนักด้วยเครื่องยิงหนักและปืนใหญ่ไปยังเขา อาร์เซนัล (Arsenal) และเขาเอียร์ (Eerie) ตรงปลายด้านใต้ของเขาทีโบน ซึ่งกองพันที่ 1 สหรัฐฯ ยึดอยู่ แสดงที่ท่าว่าจะเข้าตีทางด้านนั้น แต่ไม่เข้าตี จนถึงเวลา 20.00 น. ได้ส่งกำลังส่วนหนึ่งเข้าตีทางด้านเขาโอลด์บอลดี ซึ่งกองพันทหารราบที่ 3 ของสหรัฐฯยึดอยู่ และต่อมาได้ใช้กำลัง 1 กองพัน พร้อมด้วยกองร้อยลาดตระเวณของกรม เคลื่อนที่เข้าสู่เขาพอร์คชอป ในการเข้าตีครั้งนี้ ข้าศึกได้ส่งกำลังเข้าตีถึง 3 ระลอก ตลอดคืนคือ

ระลอกแรก เข้าตีเวลา 23.25 น. ใช้กำลัง 2 กองร้อยเข้าตีทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านที่ทำการสาย 8 อย่างจู่โจม โดยไม่มีการยิงเตรียมด้วยปืนใหญ่ เมื่อกำลังจากที่ฟังการณ์ทั้งสามสายถอนตัวกลับที่มั่นแล้ว ได้มีการยิงอาวุธหนักทุกชนิดของฝ่ายเราเพื่อป้องกันที่มั่น พร้อมทั้งยิงพลุส่องสว่างทั้งจากกองร้อยอาวุธหนักของไทย และการทิ้งพลุส่องสว่างจากเครื่องบินฝ่ายเรา เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางรุกต่าง ๆ ของข้าศึก จนถึงเวลา 24.00 น. ข้าศึกส่วนหน้าได้แทรกซึมถึงคูสนามเพลาะ ในเขตที่มั่นเขาพอร์คชอป เนื่องจากเครื่องกีดขวางที่กองพันทหารไทยทำไว้ถึง 8 ชั้น ทำให้ข้าศึกไปติดอยู่แนวลวดหนาม และถูกยิงตาย ณ ที่นั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีบางส่วนเข้าเล็ดลอดผ่านเข้าไปได้ จึงมีการต่อสู้กับทหารไทยถึงขั้นตะลุมบอนเป็นจุด ๆ ข้าศึกใช้ลูกระเบิดขว้างตามช่องที่กำบังปิด เช่นปล่องเตายิง ช่องยิง ช่องระบายอากาศ และประตูที่กำบังปิด รวมทั้งคูติดต่อที่ทหารไทยยึดอยู่ การต่อสู้ขั้นตะลุมบอนเป็นไปประมาณ 20 นาที กองพันได้ส่งหมวดรบพิเศษเข้าไปเสริมกำลัง โดยเคลื่อนที่ฝ่าฉากการยิงของเครื่องยิงลูกระเบิด และปืนใหญ่เข้าไป จนเข้าไปถึงที่มั่นบนเขาพอร์คชอปได้เมื่อ เวลา 00.15 น. ขณะที่การสู้รบในระยะประชิดยังดำเนินต่อไป หลังจากการยิงกระสุนแตกอากาศของปืนใหญ่ฝ่ายเราเหนือที่มั่นสงบลงแล้ว หมวดรบพิเศษก็นำกำลังเข้าผลักดันข้าศึก ร่วมกับฝ่ายเราที่บนที่มั่นจนสามารถผลักดันให้ข้าศึก ถอยกลับไปด้วยความสูญเสียอย่างหนัก

ระลอกที่สอง เมื่อเวลา 00.20 น. ฝ่ายข้าศึกประมาณ 1 กองพัน เข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอปอีกระลอก โดยเข้ามาถึงสามทิศทาง คือทางทิศเหนือตรงที่ฟังการณ์สาย 4 ทางทิศตะวันออกตรงที่ฟังการณ์สาย 2 และทางทิศตะวันตก ตรงที่ทำการสาย 8 ฝ่ายเราได้ยิงพลุส่องสว่างจากกองร้อยอาวุธหนัก เพื่อช่วยในการตรวจการณ์อยู่ตลอดเวลา ฝ่ายเราได้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนใหญ่ระดมยิงช่วยอย่างรุนแรง จนเวลา 01.05 น.ข้าศึกจึงถอยกลับไป

ระลอกที่สาม เมื่อเวลา 03.22 น. ฝ่ายข้าศึกได้ส่งกำลังเข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอป 2 ทิศทาง ด้วยกำลัง 1 กองร้อยเพิ่มเติมกำลัง โดยเข้าตีทางทิศตะวันออก ด้านที่ฟังการณ์สาย 2 กับอีก 1 กองร้อยเพิ่มเติมกำลังทางทิศตะวันตก ด้านที่ทำการสาย 8 หน่วยเหนือได้ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดสะกัดเส้นทางส่งกำลังหนุนของข้าศึก และทิ้งพลุส่องสว่างหน้าแนว ตามคำขอของกองพันทหารไทย เมื่อข้าศึกส่วนใหญ่เคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่การยิงฉากที่เตรียมไว้ ก็เริ่มยิงฉากวงแหวนทันที กองร้อยอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้ถูกระดมยิงจากข้าศึก หรือถูกยิงเพียงประปราย ต่างก็ระดมยิงช่วยหน่วยบนที่มั่นเขาพอร์คชอปอย่างเต็มที่ แต่ข้าศึกส่วนหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ถึงหน้าแนวที่มั่นเขาพอร์คชอปได้ เครื่องกีดขวางของฝ่ายเราถูกทำลายด้วยปืนใหญ่ และบังกาลอร์ตอร์ปิโด ที่ใช้ยิงเจาะช่องเข้าไป เกิดการต่อสู้กันในระยะประชิด ฝ่ายเรามีการปรับปรุงการตั้งรับให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยกำหนดให้ปืนกลตั้งยิงในที่กำบังปิดทั้งหมด ส่วนพลปืนเล็กให้ต่อสู้อยู่ในคูยิงนอกที่กำบัง ทำให้ข้าศึกถูกยิงตายเป็นอันมาก ส่วนที่เล็ดลอดเข้ามาได้ก็ตกเป็นเป้ากระสุนของฝ่ายเราอย่างเต็มที่ เมื่อจวนใกล้สว่างข้าศึกจึงเริ่มหยุดการเข้าตี และถอนตัว คงเหลือกำลังประมาณ 1 หมวด ยึดภูมิประเทศคุมเชิงอยู่ที่ลาดเขาพอร์คชอปทางด้านเหนือ และถอนตัวกลับไปเมื่อ 07.00 น. ฝ่ายเราได้ส่งหมู่ลาดตระเวณติดตามข้าศึก และสามารถจับเชลยศึกได้ 4 คน

ผลการเข้าตีครั้งนี้ ข้าศึกระดมยิงปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักต่อที่มั่นเขาพอร์คชอปเป็นจำนวนประมาณ 2,700 นัด ฝ่ายไทยเสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บสาหัส 3 คน บาดเจ็บเล็กน้อย 54 คน ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิตนับศพได้ 204 ศพ วันรุ่งขึ้นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยี่ยม เมื่อเห็นสภาพการสู้รบแล้วก็ได้กล่าวกับผู้บังคับกองพันทหารไทยว่า "ข้าพเจ้าไม่มีอะไรสงสัยในจิตใจแห่งการต่อสู้ของทหารไทยอีกแล้ว"

เนื่องจากกองพันทหารไทยได้รับความบอบช้ำอย่างหนัก จากการถูกข้าศึกเข้าตีถึง 3 ครั้ง ในห้วยระยะเวลาเพียง 10 วัน แต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาการผลัดเปลี่ยน จึงได้พิจารณาให้กองร้อยที่ 1 ถอนตัวกลับไปพักผ่อน และให้กองพันที่ 2 สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ทางปีกซ้ายขยายพื้นที่ความรับผิดชอบเข้ามาแทน

ในการรบดังกล่าวกองพันทหารไทย และทหารไทย จึงได้รับ อิสริยาภรณ์ เหรียญตรา และเกียรติบัตรชมเชยในการประกอบวีรกรรมครั้งนี้ รวมทั้งสมญานาม Little Tiger (พยัคฆ์น้อย) จากพลเอก แวนฟลิค แม่ทัพที่ 8 สหรัฐฯ สมญานามดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมรภูมิเกาหลี

ต่อมาเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือชมเชยการปฏิบัติการรบของกองพันทหารไทยที่เขาพอร์คชอป และต่อมากองพันที่ 8 สหรัฐฯ ได้มอบเกียรติบัตรของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อเชิดชูวีรกรรมอันดีเด่น และเป็นเกียรติประวัติแก่กำลังพล ในกองพันทหารไทยผลัดที่ 3 จำนวน 29 คน เป็นลิเยียนออฟเมอริต ดีกรีเลยอนแนร์ 1 คน คือ พันโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เหรียญซิลเวอร์สตาร์ 9 คน เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับอักษรวี 15 คน เหรียญบรอนซ์สตาร์ 4 คน

การปฏิบัติหน้าที่เป็นกองหนุน

กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ลงไปเป็นกองหนุน เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2495 โดยไปตั้งอยู่ที่ตำบลมักโกลเมืองชอร์วอน ซึ่งอยู่บริเวณหลังแนวเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ ด้านเอกซ์เรย์ - (X-1)

กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ขึ้นประจำที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเอกซ์เรย์ - 1 เมื่อ 3 ธันวาคม 2495 ในพื้นที่ตรงกลางของกรม ต่อมาเมื่อ 12 ธันวาคม 2495 ได้มีพิธีรับ - ส่งหน้าที่ ผู้บังคับกองพันทหารไทย ระหว่างพันโทเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผู้บังคับกองพันผลัดที่ 3 กับ พันตรี บุญ รังคะรัตน์ ผู้บังคับกองพันผลัดที่ 4

พิธีฌาปนกิจศพทหารผลัดที่ 3

ได้มีพิธีฌาปนกิจศพทหารไทย จำนวน 28 ศพ ตามประเพณีทางพุทธศาสนา ณ วัดชานเมืองปูซาน เมื่อ 18 ธันวาคม 2495 แล้วนำอัฐิไปประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลที่วัดนิธิฮงวันจี ที่กรุงโตเกียว โดยเชิญเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว พลเอก คลาร์ก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองบัญชาการสหประชาชาติ และผู้อำนวยการทหารประเทศต่าง ๆ ร่วมพิธีครั้งนี้ด้วย จากนั้นจึงนำอัฐิกลับประเทศไทย

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย