สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

หน่วยบินวิคตอรี

คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการ ให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลเวียดนามใต้ เมื่อ 21 กรกฎาคม 2507 และอนุมัติให้กองทัพอากาศจัดส่งนักบิน และช่างอากาศจำนวน 16 คน ไปปฏิบัติการบินลำเลียงด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 47 ร่วมกับฝูงบินลำเลียงที่ 413 กองบินน้อยที่ 33 เวียดนามใต้ และต่อมาได้ย้ายไปร่วมปฏิบัติการร่วมกับฝูงบินลำเลียงที่ 415 เวียดนามใต้

กองทัพอากาศจึงได้จัดตั้งหน่วยบินลำเลียง โดยใช้นามรหัสหน่วยว่า หน่วยบินวิคตอรี (Victory Wing Unit) มีนาวาอากาศตรี ไพโรจน์ สุกุมลจันทร์ เป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก หน่วยบินวิคตอรี ออกเดินทางโดยเครื่องบินกองทัพอากาศ ออกจากประเทศไทย เมื่อ 14 กันยายน 2507 นับเป็นหน่วยทหารไทยหน่วยแรก ที่ไปปฏิบัติการในเวียดนามใต้

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 4 พฤษภาคม 2509 อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่เวียดนามใต้ และมีมติให้กองทัพอากาศจัดส่ง เครื่องบินลำเลียงแบบ C - 123 จำนวน 2 เครื่องที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ มอบให้ไปกับหน่วยบินวิคตอรี กับให้จัดนักบิน และช่างอากาศสำหรับปฏิบัติการบินกับเครื่องบิน กับเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 47 ต่อไป สำหรับเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 123 ได้เริ่มปฏิบัติการ เมื่อ 24กรกฎาคม 2509 โดยขึ้นในความควบคุมทางยุทธการของกองบินใหญ่ลำเลียงทางอากาศยุทธวิธีที่ 315 สหรัฐฯ (315th Air tactical Airlift Wing)

หน่วยบินวิคตอรี มีกำลังพลตามอัตรา 54 คน ในรอบปีจะมีการผลัดเปลี่ยน 3 ครั้ง ในเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม นับตั้งแต่เดือน กันยายน 2507 ถึงเดือนธันวาคม 2514 มีการผลัดเปลี่ยน 7 ชุด ๆ ละ 3 ผลัด

หน่วยบินวิคตอรีตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศตันซอนนุทในกรุงไซ่ง่อน และแบ่งออกเป็น 2 ชุด เจ้าหน้าที่ และเครื่องบินแบบ C - 47 ขึ้นในความควบคุมทางยุทธการของฝูงบินลำเลียงที่ 415 ของเวียดนามใต้ ส่วนเจ้าหน้าที่และเครื่องบินแบบ C - 123 ขึ้นในความควบคุมทางยุทธการของฝูงบินสนับสนุนทางยุทธวิธีที่ 19 ของสหรัฐฯ
ภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติการ

หน่วยบินวิคตอรีได้รับมอบภารกิจในการบินลำเลียงทหาร การส่งทางอากาศ (Airborne) การเคลื่อนย้ายทางอากาศ (Air Movement) ตลอดจนการส่งกำลังบำรุงทั้งปวง ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำขอเพื่อบินไปยังสนามบินที่กำหนด การส่งกลับ (Evacuation) ตลอดจนลำเลียงเสบียงอาหารไปส่งให้หน่วยทหาร ปฏิบัติการบินลาดตระเวนหาข่าว หรือภาพถ่ายทางอากาศ

พื้นที่ปฏิบัติการกระจายไปทั่วเวียดนามใต้ ตั้งแต่เส้นขนานที่ 17 ลงมาจนถึงแหลมคาเมาหรือแหลมญวน รวมไปถึงเกาะต่าง ๆ ในทะเลซึ่งอยู่ในเขตน่านน้ำเวียดนามใต้

การปฏิบัติการ

หน่วยบินวิคตอรีแบ่งชุดบินออกเป็น 2 ชุดคือ ชุดบินกลางวัน และชุดบินกลางคืน

ชุดบินกลางวัน ส่วนมากจะปฏิบัติการก่อนรุ่งเช้า บินไปยังสนามบินหรือตำบลต่าง ๆ ที่กำหนด เช่น ฐานทัพอากาศฟานรัง ญาตรัง หรือเบียนหว่า เป็นการบินลำเลียงทหาร การเคลื่อนย้ายทางอากาศ การส่งกำลังทางอากาศ ตลอดจนการส่งกำลังบำรุงทั้งปวง การส่งกลับ การปฏิบัติการด้านอิเลคทรอนิคส์ บางครั้งเป็นการลาดตระเวนหาข่าว หรือถ่ายภาพทางอากาศ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการยิงคุ้มกัน ให้แก่กำลังภาคพื้นดิน หรือยิงทำลายที่หมายทางพื้นดิน ปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน เช่น การลำเลียงพลเรือนอพยพ และผู้ลี้ภัย โดยใช้เครื่องบินลำเลียงแบบ C - 47 เป็นหลัก ชุดบินกลางวันจะปฏิบัติงานตลอดทั้งวัน จนกระทั่งค่ำหรือทัศนวิสัยไม่ดี จึงกลับที่ตั้งประจำที่สนามบินตันซอนนุท

ชุดบินกลางคืน รับหน้าที่ต่อจากชุดบินกลางวันต่อไปตลอดคืน โดยบินไปเหนือเมืองหรือตำบลต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในคำสั่งหรือคำขอ เพื่อทิ้งพลุส่องสว่างแก่หน่วยตามภาคพื้นดินขณะปฏิบัติการรบ นอกจากนี้ยังต้องบินลาดตระเวนติดอาวุธอีกด้วย สำหรับเจ้าหน้าที่ชุดนี้จัดบินสำหรับเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 47 เท่านั้น

การปฏิบัติของหน่วยบินวิคตอรี เป็นการปฏิบัติที่เสี่ยงอันตรายมาก ในชุดกลางวันไม่ได้ติดอาวุธใด ๆ คงติดอาวุธเฉพาะชุดบินกลางคืนเท่านั้น เมื่อต้องปฏิบัติการส่งกำลังทางอากาศ หรือทิ้งสิ่งของทางอากาศ ในพื้นที่บางแห่งที่จะต้องทิ้งลงขณะที่บินในระดับต่ำ เนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี หรือภูมิประเทศทางเบื้องล่างจำกัด เพื่อทิ้งของให้ตรงเป้าหมาย หรือตามตำบลที่กำหนด เพราะถ้าผิดพลาดแล้วของที่ทิ้งลงไปอาจตกไปอยู่ในมือฝ่ายข้าศึกได้ และการบินต่ำทำให้พวกเวียดกง ซึ่งซ่อนตัวอยู่ตามต้นไม้บนเขายิงได้โดยง่าย นอกจากนั้นสนามบินบางแห่งก่อนหน้าที่จะออกเดินทาง ทราบแน่ชัดว่าเป็นของฝ่ายเรา แต่เมื่อไปถึงแล้วจึงพบว่าถูกข้าศึกยึดครอง นักบินต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณ และการสังเกตจากสิ่งบอกเหตุ หากพบว่าผิดสังเกตต้องรีบนำเครื่องขึ้นทันที แต่ถึงกระนั้นก็ยังถูกเวียดกงระดมยิงตามหลังอย่างหนาแน่น แต่พ้นระยะยิงหวังผล นักบินจึงนำเครื่องบินขึ้น และนักบินกลับอย่างปลอดภัยทุกครั้ง และแม้จะแน่ใจว่าเป็นฝ่ายเดียวกันก็ตาม นักบินจะไม่ดับเครื่องยนต์ขณะจอดส่งของ และเมื่อลำเลียงของขึ้นลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเครื่องขึ้นทันทีเพื่อความปลอดภัย

เหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2509 เจ้าหน้าที่หน่วยบินวิคตอรี ได้ปฏิบัติการร่วมกับทหารอากาศสหรัฐฯ ที่เมืองเต๋าเตียว ขณะที่นักบินนำเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 123 ขึ้นพ้นทางวิ่งไปได้เล็กน้อย ก็ถูกซุ่มยิงด้วยปืนกล จากฝ่ายเวียดกงอย่างหนาแน่น กระสุนเจาะทะลุลำตัวเครื่องบินหลายแห่ง ทำให้ถังเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ฉีกขาด ระบบไฮดรอลิกเสียหาย เกิดไฟไหม้เข้าไปในห้องผู้โดยสาร นักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินไม่ยอมสละเครื่องบิน แต่ร่วมมือกันพยายามแก้ไขสถานการณ์ บังคับเครื่องบินซึ่งอยู่ในสภาพบอบช้ำ ออกไปให้พ้นวิถีกระสุน และการติดตามของเวียดกง และได้นำเครื่องบินลงฉุกเฉินได้โดยสวัสดิภาพทุกคนปลอดภัย

ตลอดเวลาที่หน่วยบินวิคตอรี ปฏิบัติงานในเวียดนามใต้นั้น มีกำลังพลที่ประสบอันตรายถึงชีวิตเพียง 2 คน อันเกิดจากเครื่องบินชนภูเขาที่จังหวัดลัมดง 1 นาย และเครื่องบินประสบอุบัติเหตุขณะวิ่งขึ้นจากสนามบินรักยา จังหวัดเบียนหว่าอีก 1 ราย

การปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศในแต่ละวันต้องปฏิบัติภารกิจตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบแล้ว ยังได้รับมอบภารกิจพิเศษอื่น ๆ เช่น การรับ - ส่ง บุคคลสำคัญไปตรวจสถานการณ์ต่างจังหวัด หรือการปฏิบัติการที่จะต้องใช้เครื่องบินโดยรีบด่วน ซึ่งหน่วยบินวิคตอรี สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง

การปฏิบัติการของหน่วยบินวิคตอรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 จนกระทั่งถอนกำลังกลับประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2514 นับว่าได้บรรลุผลสำเร็จด้วยดี การสูญเสียมีเพียงเครื่องบินถูกเวียดกงโจมตีได้รับความเสียหายเพียงเครื่องเดียว และกำลังพลเสียชีวิต 2 คน ผลการปฏิบัติสรุปได้ดังนี้

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย