สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม

ในปี พ.ศ.2507 ประธานาธิบดี ตรันวันมินห์ แห่งเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย โดยขอให้ฝึกหัดนักบินของกองทัพอากาศเวียดนามใต้ ที่ส่งเข้ามาฝึกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2509 รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติม โดยขอให้จัดส่งเรือไปช่วยปฏิบัติการลำเลียง และเฝ้าตรวจบริเวณชายฝั่ง ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลให้แก่ เวียดนามใต้ และในปีเดียวกัน ก็ได้ขอกำลังจากกองทัพบกไทย เพื่อช่วยยับยั้งการคุกคามของเวียดนามเหนือ นอกจากรัฐบาลไทยแล้วเวียดนามใต้ก็ได้ขอร้องทำนองเดียวกันไปยังประเทศฝ่ายโลกเสรีอื่น ๆ

รัฐบาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า รัฐบาลเวียดนามใต้ ได้รับการยอมรับจากสมัชชา แห่งสหประชาชาติแล้วว่า เป็นรัฐบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้อง ประเทศไทยจึงควรให้ความร่วมมือเพื่อป้องกัน และยับยั้งการรุกรานครั้งนี้ เพื่อผดุงและรักษาไว้ซึ่งสันติสุขของประชาชาติผู้รักสงบในภูมิภาคนี้ จึงรับหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ เวียดนามใต้ โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบดำเนินการ กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาสนับสนุนตามลำดับดังนี้

ขั้นต้น ให้กองทัพอากาศทำการฝึกนักบินไอพ่นให้กับทหารอากาศเวียดนามใต้ ซึ่งเข้ามารับการฝึกในประเทศไทย ตั้งแต่กันยายน 2507 - กุมภาพันธ์ 2508 รวม 7 รุ่น ๆ ละ 4 คน รวม 28 คน

ขั้นที่สอง ให้กองทัพอากาศส่งหน่วยบิน ประกอบด้วยนักบินเครื่องบินลำเลียง 10 คน ช่างอากาศ 6 คน ไปสนับสนุนกองทัพอากาศ เวียดนามใต้ ทำการบินลำเลียงด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C - 47 เมื่อกันยายน 2507 เรียกนามรหัสหน่วยนี้ว่า หน่วยบินวิคตอรี (Victory Wing Unit)

ขั้นที่สาม จัดตั้งกองบังคับการหน่วยช่วยเหลือทางทหารในสาธารณรัฐเวียดนามขึ้นในกรุงไซ่ง่อน เมื่อพฤศจิกายน 2508 เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยบินวิคตอรี ร่วมกับฝูงบินลำเลียงที่ 415 เวียดนามใต้

ในปี พ.ศ.2509 รัฐบาลเวียดนามใต้ขอร้องรัฐบาลไทย ให้ช่วยเหลือทางกำลังทหารเรือ ฝ่ายไทยจึงได้ส่งเรือจากกองทัพเรือไปช่วย โดยได้ส่งเรือหลวงพงัน ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ และเรือ ต.12 ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไปร่วมปฏิบัติการใน เวียดนามใต้ โดยขึ้นสมทบกับหน่วยบริการทางทะเล ทางทหารสหรัฐฯ ประจำกรุงไซ่ง่อน และกองเรือเฉพาะกิจที่ 115 ตามลำดับ เรียกนามรหัสว่า ซีฮอร์ส (Sea Horse Task Element)

รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติมอีก ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2510 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงกลาโหม จัดกำลังรบภาคพื้นดินในอัตรากรมทหารอาสาสมัคร ไปปฏิบัติการใน เวียดนามใต้ ภายหลังได้รับนามรหัสว่า จงอางศึก (Queen's Cobra Unit) นับเป็นกองกำลังหน่วยแรกของกองทัพบกที่ปฏิบัติการรบในสงครามเวียดนาม ต่อมาเมื่อพฤษภาคม 2510 ก็ได้เพิ่มกำลังจากขนาดกรมเป็นกองพลในชื่อเดิม คือ กองพลทหารอาสาสมัคร จากนั้นก็ได้ปรับปรุงกองบังคับการหน่วยช่วยเหลือทางทหาร ในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นกองบัญชาการกองกำลังทหารไทย ในสาธารณรัฐ เวียดนาม คำย่อว่า บก.กกล. ไทย/วน. เป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย