สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
ในต้นเดือนกรกฎาคม 2495 กองพันทหารไทยได้รับทราบจากหน่วยเหนือว่า กองพลที่ 2 สหรัฐฯ จะขึ้นไปสับเปลี่ยนกองพลทหารราบที่ 3 สหรัฐฯ ในแนวเจมส์ทาวน์ และกรมจะตั้งขึ้นไปสับเปลี่ยนกับกรมทหารราบที่ 25 สหรัฐฯ ทางด้านขวาแนวรบ
พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องกันเป็นรูปครึ่งวงกลม หันส่วนโค้งไปทางด้านข้าศึก จึงได้ชื่อว่าบูเมอแรง ผู้บังคับกองพันทหารไทยพิจารณาภูมิประเทศ และเงื่อนไขจากหน่วยเหนือแล้ว จึงตกลงใจอาสาขึ้นประจำแนวต้านทานหลัก โดยเลือกเข้าประจำที่มั่นด้านซ้ายของกรม
13 กรกฎาคม 2496 เริ่มทำการตรวจภูมิประเทศร่วมกับหน่วยเหนือ และหน่วยข้างเคียง
และนำกำลังเข้าที่ตั้งในตอนค่ำของวันรุ่งขึ้น และทำได้สำเร็จเรียบร้อยก่อนสว่าง
การวางกำลังได้วางกำลัง 3 กองร้อยในแนวต้านทานหลัก
กองร้อยอาวุธหนักอยู่หลังกองร้อยที่ 2 หน่วยกำลังยิงสหรัฐฯ
ที่สนับสนุนการปฏิบัติของกองพันทหารไทยคือ 1 หมวดรถถัง และ1 หมวดเครื่องยิงหนัก
(ค.4.2 นิ้ว)
หน่วยปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานยิงกระสุนวิถีราบต่อที่หมายทางพื้นดิน
หลังจากสับเปลี่ยนกำลังในแนวที่มั่นแล้ว ก็ได้จัดหมู่คอบเหตุจากกองร้อยต่าง ๆ
ในแนวออกไปประจำ ทำหน้าที่แนวต้านทานหลักรวม 8 แห่ง และได้ส่งออกไปประจำที่ในตอนค่ำ
นอกจากนั้นก็ได้จัดหมู่ลาดตระเวณออกไปตามช่องทางปลอดภัย (Saftl Lane)
ระหว่าง 15 - 16 กรกฎาคม 2496 ได้มีการปะทะกันประปรายจากการปฎิบัติการของทั้งสองฝ่าย และมีสิ่งบอกเหตุว่าฝ่ายข้าศึกจะเข้าตีทางด้านกองร้อยที่ 2 และกองร้อยที่ 3 ตกกลางคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 2496 ข้าศึกได้ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 82 มิลลิเมตร ไปยังที่ตั้งกองร้อยที่ 3 อย่างหนัก พอใกล้รุ่งข้าศึกประมาณ 1 กองพัน เคลื่อที่ตั้งมุ่งเข้าตีกองพันที่ 2 สหรัฐฯ และระดมยิงด้วยอาวุธทุกชนิดไปยังกองร้อยที่ 3 ของไทย ซึ่งอยู่ทางปีกขวาติดกับกองพันที่ 2 สหรัฐฯ กองร้อยที่ 3 ได้ยิงตัดหลังข้าศึกด้วยอาวุธทุกชนิด จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับ การปฎิบัติการครั้งนี้ ได้รับคำขอบคุณและคำชมเชยจากหน่วยเหนือ
วันที่ 17 กรกฎาคม เวลา 21.35 น. ข้าศึกประมาณ 2 กองพันเคลื่อนที่เข้ามา 2 ทาง ได้มีการปฏิบัติการทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่องไปจนถึง 27 กรกฎาคม 2496 เวลา 21.45 น. ทหารไทยทุกหน่วยหยุดยิงตามคำสั่ง ก่อนเวลาที่กำหนดตามความตกลงสงบศึก
การปฏิบัติการภายหลังการหยุดยิง
เช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2496 หน่วยเหนือได้สั่งให้ทุกกองพัน ถอนกำลังลงไปยึดที่มั่นในแนว ซึ่งเดิมเป็นแนวหนุนของกรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ
ะหว่าง 31 กรกฎาคม - 18 สิงหาคม 2496 กองพันทหารไทยได้รับมอบหน้าที่ให้ยึดรักษา พื้นที่ด้านซ้ายของแนวที่มั่นหลักภายหลังการสงบศึก
วันที่ 9 สิงหาคม 2496 แม่ทัพน้อยที่ 9 สหรัฐฯ ได้มีหนังสือชมเชยประสิทธิภาพอันดีเด่น ในการรบและการให้ความร่วมมือแก่กองบัญชาการสหประชาชาติ ของกองพันทหารไทย
วันที่ 15 สิงหาคม 2496 จอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือขอบคุณ และชมเชยผลการปฏิบัติของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพล
ในวันที่ 18 สิงหาคม 2496 กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ
ได้รับคำสั่งให้เป็นกองหนุนของกองพล ในพื้นที่หุบเขาบริเวณหมู่บ้าน สะกุมหัก
อยู่ห่างจากเขตปลอดทหาร ประมาณ 7 กิโลเมตร
วันที่ 29 สิงหาคม 2496 กำลังส่วนที่ 3 ของกองพันทหารไทยผลัดที่ 5
ได้เดินทางมาถึงและผลัดเปลี่ยนกับกำลังพลของผลัดที่ 4
วันที่ 27 กันยายน 2496 กระทรวงกิจการสังคมเกาหลีใต้ได้มีหนังสือชมเชย
และขอบคุณกองพันทหารไทย
ที่ได้บริจาคอาหารให้แก่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของเกาหลีในกรุงโซล
วันที่ 25 กันยายน 2496 กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ ได้ขึ้นประจำแนวที่มั่นตั้งรับอีกครั้งหนึ่ง กองพันทหารไทยได้เคลื่อนย้ายไปที่บ้านชุม ทำหน้าที่เป็นกองหนุนของกรม
วันที่ 4 ตุลาคม 2496 กำลังพลส่วนที่ 4 ของผลัดที่ 5 ได้เดินทางมาถึงและผลัดเปลี่ยนกำลังกับผลัดที่ 4
การเข้ายึดที่มั่นในแนวที่มั่นหลักภายหลังการสงบศึก
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2496 กองพันทหารไทยได้เคลื่อนย้ายไปสับเปลี่ยนกับกองพันที่ 3
สหรัฐฯ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2496 กำลังส่วนที่เหลือของผลัดที่ 5 ได้เดินทางมาผลัดเปลี่ยน กำลังพลส่วนที่เหลือของผลัดที่ 4 เสร็จเรียบร้อย กองพันทหารไทยจึงมีกำลังพลผลัดที่ 5 นับจากนั้นมา
วันที่ 9 เมษายน 2497 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ได้มอบเกียรติบัตรของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ชมเชยกองพันทหารไทย โดยมีผู้บังคับบัญชาของหน่วยเหนือถึงระดับกองพลเข้าร่วมพิธีด้วย
วันที่ 20 พฤษภาคม 2497 ประธานาธิบดีซิงมันรี แห่งเกาหลีใต้ได้มอบแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณ แก่หน่วยกองพันทหารไทย ผลัดที่ 5 ในผลการปฏิบัติการรบของกองพันในพื้นที่ด้านเมืองกุมหว่า บริเวณเขาบูเมอแรง ในห้วงระยะเวลา ตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2496 ถึง 2 พฤษภาคม 2497
การถอนกำลังไปประจำที่อุนชอนและการผลัดเปลี่ยนกำลังพล
กองทัพบกได้จัดตั้ง และทำการฝึกกำลังพล ผลัดที่ 6 พร้อมที่จะจัดส่งไปผลัดเปลี่ยนคราวเดียวกันทั้งกองพัน ในเดือนมิถุนายน 2497
กองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้จัดพิธีสวนสนามขึ้นในปลายพฤษภาคม 2497 เพื่อเทิดเกียรติ และส่งกองพันทหารไทย ผลัดที่ 5 โดยมีผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของหน่วยทหารสหรัฐฯ และผู้บังคับบัญชา หรือผู้แทนหน่วยทหารสหประชาชาติ ที่ส่งกำลังไปร่วมในเกาหลีมาร่วมพิธีด้วย
ในต้นเดือน มิถุนายน 2497 กองพันทหารไทย ผลัดที่ 5
ได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังจากที่มั่นตั้งรับในแนวหน้าลงไปพักในค่ายทหารที่หมู่บ้านพูลกันด๊อก
ตำบลอุนชอน หลังแนวรบ และอยู่ห่างจากกรุงโซลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 56
กิโลเมตร เพื่อทำการผลัดเปลี่ยนกำลังพล
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี