สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย

(5 มิถุนายน 2497 - 19 มกราคม 2498)

10 มิถุนายน 2497 กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ ขึ้นเป็นกองรบในแนวหนุน (แนวแคนซัส) กองพันทหารไทยเป็นกองรบทางปีกขวาของกรม ในระหว่างห้วงเวลาดังกล่าว ได้มีกิจกรรมให้ปฏิบัติเป็นอันมาก เช่นการฝึกซ้อมการปฏิบัติตามแผนยุทธการ ฝึกซ้อมการเคลื่อนย้าย ฝึกซ้อมการหลบภัยทางอากาศ การอบรมวิชาเคมี ชีวะ รังสี การอบรมเรื่องการรบร่วม การอบรมการข่าวกรอง ฯลฯ

เนื่องจากกองพลที่ 2 สหรัฐฯ จะต้องถอนกำลังกลับสหรัฐฯ กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นสมทบ กองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐฯ ใน 23 สิงหาคม 2497

6 กันยายน 2497 ได้รับแจ้งจากหน่วยเหนือว่า กองพันทหารไทย จะต้องไปขึ้นสมทบกองพลนาวิกโยธินที่ 1 สหรัฐฯ เพื่อประจำแนวคิมโปด้านเมืองฮินชอนต่อไป ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากหน่วยในกองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐฯ จะต้องถอนกลับสหรัฐฯ เช่นกัน กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้ไปสมทบกองทัพน้อยที่ 1 สหรัฐฯ ตั้งแต่ 21 ตุลาคม 2497 และให้สนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง จากกองพลทหารราบที่ 7 สหรัฐฯ ต่อมาเมื่อ 26 ตุลาคม 2497 กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปสมทบกรมทหารราบที่ 17 กองพลทหารราบที่ 7 สหรัฐฯ พร้อมกันนี้ก็ได้เตรียมการถอนกำลังกองพัน (หย่อน 1 กองร้อยปืนเล็ก) กลับประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลไทย

22 ธันวาคม 2497 กองพันทหารไทยกับ กองพันทหารเบลเยี่ยมได้ร่วมกันสวนสนามอำลา หน่วยทหารในกองบัญชาการสหประชาชาติ และเกาหลีใต้ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เป็นประธาน มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองบัญชาการสหประชาชาติเข้าร่วมพิธีด้วยเป็นจำนวนมาก

การเตรียมถอนกำลังกลับประเทศไทย

ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่ได้มีการลงนาม ในความตกลงสงบศึกแล้ว สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีค่อนข้างสงบลงมาก ชาติพันธมิตรที่ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี หลายประเทศเริ่มถอนกำลังทหารกลับ รวมทั้งสหรัฐฯ เอง รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายถอนกำลังทหารไทยกลับเช่นกัน

ทุกเหล่าทัพยกเว้น กองทัพอากาศเห็นควรให้ถอนกำลังกลับ จึงมีมติให้คงเหลือเฉพาะหน่วยบินลำเลียง กระทรวงกลาโหมได้ติดต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเจรจากระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ ขอถอนกำลังทหารกลับ แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แจ้งตอบให้เจรจากับกองบัญชาการ สหประชาชาติที่กรุงโตเกียวโดยตรง ผลการเจรจาทางกองบัญชาการสหประชาชาติไม่ให้ถอนกำลังทหารบกกลับทั้งหมด ให้คงเหลือไว้ 1 หมวด แต่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองบัญชาการสหประชาชาติ ได้ขอร้องให้คงเหลือกำลังไว้ 1 กองร้อย

6 มกราคม 2498 กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย กองพันทหารไทยผลัดที่ 6 ได้เตรียมถอนกำลังกลับประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือน ธันวาคม 2497 และเมื่อ 19 มกราคม 2498 กองพันทหารไทย (หย่อน 1 กองร้อย) ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ จากท่าเรือปูซาน โดยเรือ เมอิโกะ ถึงประเทศไทย เมื่อ 31 มกราคม 2498

กองร้อยอิสระ (19 มกราคม - 10 กรกฎาคม 2498)

กองร้อยอิสระของไทยยังคงอยู่ในที่ตั้งเดิมของกองพันทหารไทย และยังคงขึ้นสมทบ กรมทหารราบที่ 17 กองพลทหารราบที่ 7 สหรัฐฯ สถานการณ์ทั่วไปยังคงสภาพเดิม กำลังของทั้งสองฝ่ายยังคงประจำอยู่ในแนวที่มั่น

หลังจากที่กองร้อยอิสระปฏิบัติการอยู่ในสมรภูมิเกาหลีเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ในวันที่ 10 มกราคม 2498 ก็ได้ผลัดเปลี่ยนกับผลัดที่ 8 แล้วเดินทางกลับโดยทางเรือของกองบัญชาการสหประชาชาติที่เมืองปูซาน

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย